คนดังกับโรค : อ๋อม อรรคพันธ์ ป่วยเป็นมะเร็งใกล้หัวใจ ? ( แล้วมันคือ มะเร็งของอะไรกันแน่ !!! )

Описание к видео คนดังกับโรค : อ๋อม อรรคพันธ์ ป่วยเป็นมะเร็งใกล้หัวใจ ? ( แล้วมันคือ มะเร็งของอะไรกันแน่ !!! )

คนดังกับโรค : อ๋อม อรรคพันธ์ ป่วยเป็นมะเร็งใกล้หัวใจ ? ( แล้วมันคือ มะเร็งของอะไรกันแน่ !!! )
เนื้องอกไทโมมา หรือ เนื้องอกต่อมไทมัส เป็นเนื้องอกของเซลล์ เยื่อบุผิวของต่อมไทมัสที่เกิดขึ้นที่จุดใดของต่อมไทมัสก็ได้
ซึ่งเมื่อเซลล์เนื้องอกไทโมมารุกราน/ลุกลามออกนอกต่อมไทมัส หรือรุกรานเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง กล่าวคือมีธรรมชาติเป็นมะเร็ง จะเรียกว่า ‘ไทโมมาชนิดรุกราน(Invasive thymoma)’ หรือ ‘มะเร็งไทโมมา(Malignant thymoma)’

ไทโมมา (Thymoma) เป็นเนื้องอกชนิดพบบ่อยที่สุดของต่อมไทมัส แต่อย่างไรก็ตามเป็นโรคพบน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้องอกของอวัยวะอื่นๆคือพบได้ประมาณ 0.15 รายต่อประชากร 1แสนคน แต่พบสูงขึ้นในคนเชื้อชาติเอเชียแปซิฟิก คือ ประมาณ 0.49 รายต่อประชากร 1แสนคน

ไทโมมา พบได้ทุกอายุ ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบบ่อยในช่วงอายุ 40-60 ปี หญิงและชายมีโอกาสพบใกล้เคียงกัน

ข. มะเร็งต่อมไทมัส (Thymic cancer หรือ Thymus cancer):

ส่วนมะเร็งต่อมไทมัส หมายถึง มะเร็งของเซลล์/เนื้อเยื่อชนิดต่างๆของต่อมไทมัสที่มีลักษณะเป็นเซลล์มะเร็งอย่างแท้จริง(Invasive cell) คือเจริญแบ่งตัวรวดเร็ว ร่างกายควบคุมการแบ่งตัวนี้ไม่ได้, เซลล์นี้รุกรานทำลายต่อมไทมัส, เนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง, ลุกลามเข้าระบบน้ำเหลือง, และแพร่กระจายทางกระแสเลือด

มะเร็งต่อมไทมัส พบทั่วโลก แต่พบน้อยมากๆๆ พบน้อยกว่าเนื้องอกไทโมมามาก ในสหรัฐอเมริกามีรายงานพบ1.5รายต่อประชากร 1 ล้านคน พบในทุกวัย แต่มักพบในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ และพบในทุกเพศใกล้เคียงกัน

ไทโมมา มะเร็งต่อมไทมัส เกิดได้อย่างไร?มีปัจจัยเสี่ยงไหม?
ไทโมมา
ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกไทโมมา หรือ มะเร็งต่อมไทมัส

ไทโมมา มะเร็งต่อมไทมัสมีอาการอย่างไร?
โดยทั่วไปอาการของไทโมมาหรือมะเร็งต่อมไทมัสจะคล้ายกันซึ่งจะวินิจฉัยแยกโรคด้วยอาการไม่ได้ ทั้งนี้ประมาณ 1ใน3 ถึง 1ใน 2 ของผู้ป่วย จะไม่มีอาการ แต่เป็นการตรวจพบโรคโดยบังเอิญจากการตรวจเอกซเรย์ปอดจากการตรวจสุขภาพประจำปี

ประมาณ 40% มีอาการจากก้อนเนื้อโตจนกดเบียดทับเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง
ประมาณ 30% เกิดอาการทั่วไปที่เป็นอาการจากผลข้างเคียงของเนื้องอกนี้ที่ส่งผลให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติที่ต้านเซลล์ปกติของร่างกาย(โรคภูมิต้านตนเอง/ โรคออโตอิมมูน) และ
ประมาณ 30% เป็นอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis, ย่อว่า โรคMG)
ทั้งนี้ อาการต่างๆได้แก่

ก. อาการจากก้อนเนื้อโตจนกดเบียดทับเนื้อเยื่อข้างเคียง ซึ่งได้แก่ ปอด หลอดลม หลอดเลือด และหัวใจ โดยอาการอาจเป็น

ไอเรื้อรังโดยไม่มีการอักเสบ/ไม่มีโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก
เสียงแหบโดยไม่มีกล่องเสียงอักเสบ
เหนื่อยง่าย
หายใจลำบาก

แพทย์วินิจฉัยไทโมมา มะเร็งต่อมไทมัสได้อย่างไร?
การซักถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย ที่สำคัญคือ ประวัติอาการ
การตรวจร่างกาย
เอกซเรย์ปอดและภาพปอดและช่องอก(รวมต่อมไทมัส)
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (ซีทีแกน) และ/หรือเอมอาร์ไอ ภาพปอด
การตรวจที่ให้ผลที่แน่นอน คือ ส่องกล้องตรวจในช่องทรวงอกร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อ หรือ ผ่าตัดก้อนเนื้อทั้งเพื่อเป็นการรักษาและเพื่อได้ผลชิ้นเนื้อเพื่อการ

ไทโมมา มะเร็งต่อมไทมัส แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ (แต่ละระยะยังแบ่งย่อยได้อีก) ตามความรุนแรงของโรคจากน้อยไปหามาก ซึ่งแบ่งตามการจัดระยะโรคขององค์กรโรคมะเร็งจากสหรัฐอเมริกา(American Joint Committee on Cancer ย่อว่า AJCC) ได้แก่

ระยะที่1: โรคจำกัดอยู่ที่ต่อมไทมัส ยังไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงต่อมไทมัส ยกเว้นรุกรานเข้าเนื้อเยื่อไขมันที่ล้อมรอบต่อมไทมัส
ระยะที่2: โรคลุกลามเข้าเยื่อหุ้มหัวใจชั้นนอก ซึ่งโรคระยะนี้ เป็นระยะที่ยังมักผ่าตัดก้อนเนื้อ/ก้อนมะเร็งออกได้หมด
ระยะที่3: โรคลุกลามมากแล้ว ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง แบ่งเป็น2ระยะย่อย คือ
ระยะ3A: โรคลุกลามเนื้อเยื่อปอดและหัวใจที่ติดกับก้อนเนื้อ, หลอดเลือดและ/หรือเส้นประสาทกะบังลม
ระยะ3B: โรคลุกลามเข้า กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดอาหาร ท่อลม หลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องอก
อนึ่ง: โรคระยะที่3ทั้ง2กลุ่ม เป็นระยะที่มัก ‘ผ่าตัดก้อนเนื้อ/ก้อนมะเร็งออกได้ ไม่หมด’ หรือ ‘ผ่าตัดไม่ได้’

ระยะที่4: ถือเป็นระยะแพร่กระจาย โรคระยะที่4นี้ มักเป็น ‘ระยะผ่าตัดไม่ได้’
แบ่งเป็น2ระยะย่อย คือ

ระยะ4A: คือ ระยะที่โรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ต่อมไทมัส และ/หรือ ลุกลามเข้าเยื่อหุ้มปอดและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจเห็นเป็นก้อนเนื้อขนาดเล็ก
ระยะ4B: คือ โรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองในลำคอ หรือต่อมน้ำเหลืองในช่องอกที่ไกลจากต่อมไทมัส, และ/หรือ แพร่กระจายทางกระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่น

แนวทางการรักษาโรคไทโมมา มะเร็งต่อมไทมัส คือ
การผ่าตัดก้อนเนื้อ และ
อาจฉายรังสีรักษาต่อเนื่องหลังผ่าตัดในโรคตั้งแต่ระยะที่ 2 ขึ้นไป
ยาเคมีบำบัด: แพทย์มักพิจารณารักษาผู้ป่วยเป็นรายๆไป และโดยเฉพาะในกรณีเนื้องอกนี้มีการรุกรานออกนอกต่อมไทมัสอย่างชัดเจน กล่าวคือ แน่ชัดว่าเป็นมะเร็งต่อมไทมัส หรือ ไทโมมาชนิดเป็นมะเร็ง เพราะเซลล์เนื้องอกไทโมมา ค่อนข้างดื้อต่อยาเคมีบำบัด
ส่วนการใช้ยารักษาตรงเป้า/ ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง: ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา

ไทโมมา มะเร็งต่อมไทมัสรุนแรงไหม? รักษาหายไหม?
ความรุนแรง/การพยากรณ์โรคของ ไทโมมา มะเร็งต่อมไทมัส ขึ้นกับ ชนิดของเซลล์, ระยะของโรค, การตอบสนองต่อรังสีรักษา และยาเคมีบำบัด, อายุ, และสุขภาพประจำตัวของผู้ป่วย, โดยอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วย เช่น

ก. ในผู้ป่วยไทโมมา: อัตรารอดที่ห้าปี ประมาณ
ระยะที่1: ประมาณ 75-80%
ระยะที่2: ประมาณ 70-75%
ระยะที่3: ประมาณ 40-60%
ระยะที่4: ประมาณ 0-20% และมักอยู่ไม่ถึง 10 ปี
ข. ผู้ป่วยกลุ่มมะเร็งต่อมไทมัส: อัตรารอดที่ห้าปี ประมาณ
ระยะที่1,2: ประมาณ 60-75 %
ระยะที่3: ประมาณ 25-30%
ระยะที่4: ประมาณ 0-20%

Комментарии

Информация по комментариям в разработке