พาชมต้นพยุง และนำเสนอความรู้เกี่ยวกับไม้เศรษฐกิจ (สวนผู้พัน สุพรรณบุรี) EP.8

Описание к видео พาชมต้นพยุง และนำเสนอความรู้เกี่ยวกับไม้เศรษฐกิจ (สวนผู้พัน สุพรรณบุรี) EP.8

พาชมต้นพยุง และนำเสนอความรู้เกี่ยวกับไม้เศรษฐกิจ (สวนผู้พัน สุพรรณบุรี) EP.8

สื่อเนื่องจากรอบที่แล้ว วันนี้ต้นมีโอกาสมาให้ความรู้เกี่ยวกับ ไม้เศรษฐกิจ อีกชนิดหนึ่งคือ "พยุง"

**************************************************************

" ป่าพะยูง...แหล่งผืนสุดท้ายของโลก "

จะมีใครรู้บ้างว่า "สยามเมืองยิ้ม" อย่างประเทศไทย เป็นดินแดนผืนป่าที่มีพรรรณไม้หายากหลากหลายชนิด และหนึ่งในนั้นก็คือ "พะยูง" [Dalbergia cochinchinensis Pierre] เป็นไม้ยืนต้นท้องถิ่นที่มีรายงานการพบเฉพาะในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา
คนไทยสมัยก่อนถือว่า "พะยูง" เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นชื่อต้นไม้ที่มีความหมายดี หมายถึง "การพยุงฐานะให้ดีขึ้น" ทำให้คนไทยถือเป็นไม้มงคลที่ไม่ควรนำมาใช้สร้างบ้านหรือทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เช่น เตียงนอน หรือบันไดบ้าน เพราะหากใครนำมาใช้แล้ว จะทำให้ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรือง แต่นิยมปลูก 1-2 ต้นไว้บริเวณบ้าน เพื่อเสริมดวงให้คอยพยุงเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยไม้ให้อับจน เฉกเช่นเดียวกับต้นมะยม และต้นขนุนที่นิยมปลูกไว้หน้าบ้าน ด้วยเชื่อว่าจะทำให้เจ้าของบ้านเป็นที่ชื่นชอบนิยมชมชื่นแก่เพื่อนบ้าน และมีผู้คอยเกื้อหนุนดูแล
นอกจากนั้นเหตุที่คนไทยไม่นิยมนำไม้พะยุงมาใช้ประโยชน์ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ก็เพราะว่าเป็นไม้เนื้อแข็งมาก ยากต่อการแปรรูป ประกอบกับในเมืองไทยมีไม้ ประดู่ ไม้มะค่า และไม้แดง เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีอยู่บ้างที่ผู้คนสมัยนี้ นำแก่นไม้พะยุงมาตกแต่งสวนหย่อมในบริเวณบ้าน และสวนน้ำ เพราะไม้พะยุงเป็นไม้เนื้อแกร่งทนแดด ทนฝนและเพื่อเสริมบารมีตามที่กล่าวข้างต้น
ต่อมาในปี พ.ศ.2551 ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค... กีฬาของมวลมนุษยชาติ จีนต้องการประกาศให้ชาวโลกรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศ ความพร้อมด้วยศักยภาพในทุกๆด้าน และรู้ดีถึงลวดลายที่สวยงามและความคงทนของเนื้อไม้พะยุง อันเป็นที่มาของความต้องการไม้พะยุงเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปซ่อมแซมบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและปราสาทราชวังต่างๆของจีน
ด้วยปริมาณความต้องการไม้พะยุงที่มีมากมายจากความหนาแน่นของจำนวนประชากรที่จีน ครองอันดับสูงสุดของโลกมาตลอดนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนไม้พะยุงที่มีอยู่บนโลกนี้แล้ว มันแทบจะเทียบกันไม่ได้หากจะทำให้ ความต้องการกับปริมาณไม้พะยุงที่มีอยู่มันสมดุลกัน
ต่อมาไม้พะยุงมีราคาสูงขึ้นมากหลายเท่าตัว จึงไม่สามารถนำไปสร้างเฟอร์นิเจอร์ได้ ชาวจีนจึงหันมานิยมนำมาทำเป็นวัตถุมงคลและของแต่งบ้านชิ้นเล็กๆ เช่น "ปี่เซียะ" "เทพเจ้าฮก ลก ซิ่ว" หรือ "เทพเจ้ากวนอู" แจกัน เป็นต้น จึงทำให้ไม้พะยุงเป็นที่นิยมเรื่อยมาและมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันนี้.." ไม้พะยุงเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก "

ชื่อท้องถิ่น : กระยง,กระยุง (สุรินทร์) ขะยุง (อุบล) พะยุงไหม (สระบุรี) แดงจีน (ปราจีน) ประดู่เสน (ตราด) หัวลีเมาะ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre
วงศ์ : FABACEAE or PAPILIONACEAE or PAPILIONOIDEAE
ลักษณะลำต้น : ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกล่มค่อนข้างโปร่ง กิ่งห้อยย้อยลง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง เรียบ หรือแตกสะเก็ด หรือลอกเป็นแผ่นบางๆเปลือกในสีขาวอมชมพู แก่นหอมร้อน มีรสขมฝาดเล็กน้อย
ลักษณะใบ : ใบประกอบแบบขนนนก ปลายคี่ ออกเรียงสลับ ก้านใบประกอบยาว 10-15 ซม.มีใบย่อย 7-9 ใบ ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่เกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม.ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบมน กลม หรือเป็นรูปลิ่มกว้างๆ แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบ 5-7 คู่ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสี่ขาวนวล ก้านใบย่อยยาว 0.3-0.6 ซม.ผลัดใบ
ลักษณะดอก : ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ขนาดดอก 0.5-0.8 ซม.กลิ่นหอมอ่อนๆดอกรูปดอกถั่ว สีขาว หรือ ขาวอมม่วง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ออกดอกกใกนราวเดือน พฤษภาคม - กันยายน
ลักษณะผล : เป็นฝักแบน บาง รูปขอบขนาน กว้าง 1.2 ซม.ยาว 4-6 ซม.สีน้ำตาลแดง เมล็ดรูปไต 1-4 เมล็ด สีน้ำตาล
แหล่งที่พบในไทย : พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลราว 100-200 เมตรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งกำเนิด : ไทย ลาว และกัมพูชา
สรรพคุณ : 1. "ราก" ใช้แก้พิษเซื่องซึม 2. "เปลือก" ใช้ต้มน้ำ เอาน้ำมาอมแก้ปากเปื่อย แก้ปากแตกระแหง 3. "ยางสด" ใช้ทาแก้ปากเปื่อย
4. "ผลแห้ง" ใช้ทำไม้ประด้บแห้ง 5. เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดหนองบัวลำภู

ข้อมูลอ้างอิงจาก
(dnp.go.th https://www.dnp.go.th › division › งานด้านพันธุ์พืช)

#ต้นไม้ #สวนป่า #ปลูกป่า #ป่าเขา #ไม้พยุง #พยุงไทย #พยุง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке