ชี้จุดที่ต้องดู พระรูปหล่อพิมพ์นิยม

Описание к видео ชี้จุดที่ต้องดู พระรูปหล่อพิมพ์นิยม

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม
วิธีดูแบบละเอียดสุดๆ
#พระเครื่อง #วัตถุมงคล

ธรรมชาติของพระรูปหล่อพิมพ์นิยมที่ ๔ มีนาได้เห็นมา ก็น่าจะมีการสร้างในหลายวาระและหลายวัด ด้วยพุทธศิลป์เดียวกัน แต่มีหลายแม่พิมพ์ และหลายขนาดต่างกันได้ตามแต่ละวัดหรือแต่ละกรุต่างๆ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือเป็นรูปหล่อ เนื้อสำริดทองผสม ที่สร้างด้วยวิธีการหล่อโบราณแบบหล่อช่อ ส่วนพิมพ์ขี้ตาจะเป็นการหล่อแบบพิมพ์เบ้าประกบ ซึ่งถ้าจะให้ ๔​มีนา วิเคราะห์ น่าจะเกิดจากเพราะว่าการสร้างแบบหล่อช่อจะสร้างพระได้จำนวนมากและสะดวกกว่าการสร้างแบบพิมพ์เบ้าประกบ

เราจะเริ่มต้นเช็คพระองค์นี้กันที่พุทธศิลป์
พุทธศิลป์ของพระองค์นี้เป็นพระรูปหล่อ ใบหน้าอิ่มเอิบเหมือนแป๊ะยิ้ม จมูกใหญ่ ใบหูยาวใหญ่ ซึ่งแสดงถึงความสุขและความอุดมสมบูรณ์ จึงทำใครหลายๆ คนถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ ช่วยเสริมเรื่องการค้าขายและมีอายุยืน นักสะสมบางคนจะดูรายละเอียดบางจุดบนใบหน้า แต่ด้วยความที่เป็นพระหล่อโบราณ เราจะดูตำหนิในพิมพ์ไม่ได้เลย​ ๔ มีนาจะดูลักษณะการยิ้มที่มีความสุขและดูมีเมตตา พุทธลักษณะจะประทับอยู่ในท่าสมาธิ อยู่บนฐาน ที่เรียกกันว่าฐานเขียง ซึ่งสำหรับองค์นี้ฐานจะเป็นฐานเตี้ย และด้านใต้ฐานเรามักจะเห็นรอยช่อชนวน พระสร้างหลายวัด หลายวาระ เราจะดูธรรมชาติความเป็นเนื้อสำริด หล่อโบราณ ตำหนิในพิมพ์ใช้ดูพระเก่าไม่ได้นะครับ
ประวัติหลวงพ่อเงิน คร่าวๆ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.​๒๓๔๘​ มรณภาพในปี พ.ศ.​๒๔๖๒ ดังนั้นพระเครื่องทั้งหมดที่ทันยุคหลวงพ่อเงิน จะต้องผ่านอายุมาอย่างน้อยที่สุด ๑๐๐ปี ขึ้นไป อย่าลืมเอื้อมมือไปกดไลค์คลิปนี้ให้ด้วยนะครับ ถ้าได้ประโยชน์ ก็ช่วยแชร์กันไปให้คนที่อยากเรียนรู้เรื่องพระเครื่องได้ความรู้ดีๆ เป็นธรรมทานกันนะครับ

เนื้อพระ
เนื้อพระเป็นจุดสำคัญในการพิจารณาพระรูปหล่อยุคเก่าๆ ซึ่งอย่างแรก ๔ มีนาไม่เก็บเนื้อทองเหลืองล้วนๆ ครับ สมัยก่อน ย้อนกลับไปช่วงปี พ.ศ.​๒๔๐๐ กว่า การสร้างพระเนื้อโลหะ จะเป็นการรวบรวมแร่และโลหะต่างๆ มาใช้สร้างพระในสูตรสำริด อย่างเช่น ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี สังฆวานร หรือเหล็กไหล แต่ทองเหลืองเกิดจากการผสมแร่ระหว่างทองแดงและสังกะสี ดังนั้นพระเนื้อสำริด สีหรือวรรณะอาจจะออกคล้ายทองเหลืองได้ และรูปหล่อพิมพ์นิยมเนื้อออกทองเหลืองจัดๆ ก็มีนะครับ แต่ก็ต้องเป็นลักษณะของทองเหลืองที่เกิดจากการผสมทองแดงและสังกะสีลงในเบ้าหลอมพระ ไม่ใช่ทองเหลืองอุตสาหกรรมสำเร็จรูปล้วนๆ ที่ผสมมาแล้ว และต้องมีธรรมชาติความเก่า มีกระแสโลหะให้เราเห็น

จุดสำคัญในเนื้อพระเก่าที่เราต้องเห็น ความแห้ง
เวลาเราดูพระเก่า ให้หาความแห้งให้เจอก่อนเลยครับ มองหาเม็ดผดหรือคราบแห้งๆ ด้านๆ ที่สะสมตัวผ่านเวลามานาน โดยเฉพาะตามซอกหรือในร่อง ถ้าเป็นพระใช้หนัก ก็จะมีความสึกกร่อนมาแทนความแห้งครับ
สำหรับคนที่บอกว่าพระเก็บดี เลี่ยมกันน้ำตลอดเวลา องค์พระก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติอยู่ดีนะครับ เพราะภายในพลาสติกที่เลี่ยมพระไว้ ก็มีอากาศอยู่ข้างใน ผ่านความร้อน ความเย็น ความชื้นที่เปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวันอยู่ดี หรือถ้าคนขายจะบอกว่าเก็บพระไว้ในเซฟ แล้วก่อนหน้านั้นตั้งแต่พระสร้างเสร็จล่ะครับ และเมื่อเราเห็นความแห้งแล้ว ก็อุ่นใจได้ว่าเป็นพระที่ผ่านอายุครับ

กระแสโลหะ
เราจะดูกระแสโลหะ เพื่อเช็คว่าเป็นพระเนื้อสำริดหรือว่าเป็นเนื้อโลหะผสมหรือไม่ ถ้าเป็นพระแท้ยุคหลังๆ หรือว่าแท้แต่ไม่ทันหลวงพ่อเงินที่สร้างในยุคเก่า หรือตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.​๒๕๐๐ แต่สร้างตามสูตารการสร้างพระโบราณ ถ้าเป็นแบบนี้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็ควรจะเห็นกระแสโลหะในเนื้อได้บ้างครับ
กระแสโลหะจะเกิดได้จากการหลอมโลหะต่างชนิดเข้าด้วยกันด้วยวิธีการหล่อโบราณ ไม่ได้มีการควบคุมไฟหรือความร้อนให้คงที่ได้เหมือนการหล่อพระแบบสมัยใหม่ ทำให้เราเห็นเนื้อพระมีโลหะต่างลักษณะต่างสีผสมรวมกันอยู่ในเนื้อพระ

ออกไซด์
เราจะมาเช็คออกไซด์กันครับ ออกไซด์เป็นสิ่งที่เราใช้ประเมินอายุขององค์พระ ด้วยธรรมชาติของพระเนื้อโลหะ และโลหะทุกประเภทที่สัมผัสกับอากาศจะต้องมีออกไซด์เกิดขึ้น เหมือนเหล็กเก่าๆ ก็ต้องมีสนิม ออกไซด์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินี้เป็นส่ิงที่ทำให้ผิวพระเนื้อโลหะเก่าเรียบตึงไม่ได้ พระเก่าเนื้อต้องดูเหี่ยวย่น ดูขรุขระเป็นลอนคลื่น อันนี้เป็นจุดตายของพระเนื้อสำริด หล่อโบราณเลยนะครับ ยิ่งเป็นพระที่ผ่านอายุมาร้อยกว่าปี ยังไงก็เรียบตึงไม่ได้ ถ้าเรียบตึงมาต้องตีเป็นหล่อเหวี่ยง จะโฆษณาไว้แพงแค่ไหน ก็ผิดธรรมชาติพระทันยุคหลวงพ่อเงิน หรือตีเป็นพระใหม่ได้เลยครับ

รอยตามด
รอยตามดเป็นจุดที่ใช้ยืนยันเพิ่มเติมความเป็นพระหล่อโบราณ ซึ่งอาจจะไม่เจอในพระบางองค์ได้ แต่ส่วนมากจะมี และถ้ามีจะดีมากครับ รอยตามดคือฟองอากาศที่เกิดจากการเทโลหะลงไปในเบ้าพิมพ์ เมื่อโลหะหลอมละลายลงไปแทนที่อากาศ ก็จะอากาศบางส่วนจะติดอยู่ตามขอบขององค์พระ เมื่อโลหะเย็นตัวลง ทำให้เราเห็นเป็นหลุมหรือรอยตามดอยู่ตามจุดต่างๆ ขององค์พระได้ และในหลุมต้องมีความเก่า

ทั้งเหรียญหล่อและรูปหล่อที่สร้างด้วยวิธีหล่อโบราณ เราจะใช้รอยตามดรวมถึงเนื้อเกิน และรอยเนื้อย่นเป็นจุดพิจารณาได้หมดครับ ใครที่เคยสร้างพระด้วยวิธีหล่อโบราณแบบทุกขั้นตอน จะเข้าใจจุดนี้ได้เป็นอย่างดี

รอยตะไบ
พระหล่อโบราณส่วนมากจะมีรอยตะไบ หรือรอยแต่งพิมพ์ แต่งเนื้อเกินตามขอบ แต่งใต้ฐานเพื่อให้ตั้งองค์พระได้ตรง หรือย้ำรายละเอียดบางจุดในองค์พระให้คมชัด วิธีการดูรอยแต่งพิมพ์หรือตะไบเก่า คือผิวในร่องตะไบหรือรอยเครื่องมือต้องกลับเป็นสีเดียวกับผิวโดยรอบ ในบางจุดจะมีออกไซด์ขึ้นคลุมผิว ถ้ารอยแทงตะไบบางๆ อาจจะมีออกไซด์ปิดหมด คือมีรอย แต่ไม่มีร่องแล้ว
รอยตะไบลึก ร่องต้องเหี่ยว ไม่เป็นร่องคมๆ สีเงินๆ เงาๆ ถ้าเป็นพระแต่งผิว มักจะเป็นการแต่งคราบปิดร่องตะไบไว้

Комментарии

Информация по комментариям в разработке