EP.90 ประมวลเเม่บทหลักปฏิบัติอิสลามเเละหลักศรัทธา | อ.อามีด ดวงตา.

Описание к видео EP.90 ประมวลเเม่บทหลักปฏิบัติอิสลามเเละหลักศรัทธา | อ.อามีด ดวงตา.

หลักฐานที่ 35
عَنْ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ ، قَالَ : بَيْنَمَا نَحْنُ عندَ رَسُولِ اللهِ ذاتَ يومٍ إذ طلع علينا رجلٌ شديدُ بياضِ الثيابِ شديدُ سوادِ الشعرِ ، لا يُرَى عليه أثرُ السّفرِ ولا يعرفُه مِنَّا أحدٌ ، حتَّى جلس إلى النَّبِيِّ فأسند رُكْبَتَيهِ إلى رُكْبَتَيهِ ووضع كفَّيهِ على فَخِذَيهِ وقال : يا محمدُ أخبرْني عن الإسلامِ ، فقال رسولُ الله : « الإسلامُ أنْ تشهدَ أنْ لا إلهَ إلَّا اللهَ وأنَّ محمدًا رسولُ اللهِ وتقيمَ الصلاةِ وتؤتيَ الزكاةَ وتصومَ رمضانَ وتحجَّ البيتَ إنِ استطعتَ إليه سبيلًا » . قال : صَدَقْتَ : قال : فعجِبنا له يسألهُ ويُصَدِّقُهُ . قال : فأخبرني عن الإيمانِ ما الإيمانُ ؟ قال : « أنْ تؤمنَ باللهِ وملائكتِه وكتبِه ورسلِه واليومِ الآخرِ و تؤمنَ بالقدرِ خيرِه وشرِّه » . قال : صدقتَ . قال : فأخبرني عن الإحسانِ قال : « أنْ تعبدَ اللهَ كأنك تراهُ فإن لم تكنْ تراهُ فإنه يراكَ » . قال : فأخبرني عن الساعةِ متى الساعةُ ؟ قال : « ما المسئولُ عنها بأعلمَ من السائلِ » . قال : فأخبرني عن أمارتِها . قال : « أنْ تلِدَ الأمةُ ربَّتَها وأنْ تَرَى الحُفَاةَ العُرَاةَ الْعَالةَ رِعاءَ الشَّاءِ يتطاولونَ في البُنْيَانِ » ، قال : ثمَّ انطلقَ : فلَبِثْتُ مَليًّا ثمَّ قال لي : « يا عمرُ أتدري من السائلُ ؟ » قلتُ : اللهُ ورسولُه أعلمُ . قال : « فَإِنَّهُ جبريلُ أتاكم يعلِّمَكم دينَكم » رواه مسلم.

รายงานจากท่านอุมัร ได้เล่าว่า : วันหนึ่งในขณะที่พวกเรากำลังนั่งอยู่กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ทันใดนั้นก็มีชายคนหนึ่งสวมเสื้อผ้าที่ขาวโพลน มีผมที่ดำสนิท และไม่เห็นร่องรอยของการเดินทาง และไม่มีผู้ใดเลยในหมู่พวกเราที่รู้จักเขา จนในที่สุดเขาได้เข้า มานั่งหน้าท่านนบี  แล้วเขาก็เอาเข่าทั้งสองข้างของเขายันกับเข่าทั้งสองข้างของท่านนบี  และได้วางฝ่ามือของเขาบนขาของท่านนบี  แล้วเขาก็กล่าวขึ้นว่า “ โอ้มุหัมมัดเอ๋ย จงบอกให้ฉันรู้เกี่ยวกับอิสลามเถิด ? แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ก็กล่าวว่า : » อิสลามคือ การที่ท่านกล่าวปฏิญาณว่า “ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดนั้นเป็นเราะสูลของอัลลอฮฺ ” และการที่ท่านดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และการจ่ายซะกาต และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน และประกอบพิธีหัจญ์ ณ บัยติลละฮฺ หากท่านมีความสามารถเดินทางไปได้ « เขากล่าวว่า : “ จริงอย่างที่ท่านพูด ” , (ท่านอุมัรฺกล่าวว่า) พวกเราพากันแปลกใจที่เขาถามท่านนบี แล้วเขาก็รับรองว่าท่านนบีพูดจริง เขากล่าวอีกว่า : “ จงบอกให้ฉันรู้เกี่ยวกับอิหม่านเถิด ? ” ท่านนบี จึงตอบว่า : » การที่ท่านศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และต่อบรรดามลาอิกะฮฺของพระองค์ และต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ และต่อวันปรโลก และเชื่อต่อการกำหนดสภาวะของพระองค์ทั้งที่ดีและร้าย « แล้วเขากล่าวว่า : จริงอย่างที่ท่านพูด แล้วเขาก็กล่าวอีกว่า : “ ดังนั้นท่านจงบอกให้ฉันรู้เกี่ยวกับอิฮฺสานเถิด ? ” ท่านนบีตอบว่า : » คือการที่ท่านเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺเสมือนกับว่าท่านเห็นพระองค์ หากแม้นว่าท่านไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นท่าน « แล้วเขากล่าวอีกว่า : “ ดังนั้นท่านจงบอกให้ฉันรู้เกี่ยวกับวันกิยามะฮฺเถิด ? ” ท่านนบีตอบว่า : » ผู้ที่ถูกถาม ไม่ได้รู้มากไปกว่าผู้ถามเลย « แล้วเขาก็กล่าวว่า : ถ้าเช่นนั้นท่านจงบอกให้ฉันรู้ถึงสัญญานของมันเถิด ” ท่านนบีตอบว่า : » คือการที่ทาสีจะคลอดลูกเป็นนายของนาง, และท่านจะได้เห็นผู้ที่ไม่สวมรองเท้า ไม่มีเสื้อผ้าจะสวมใส่ เป็นผู้ยากจน และเลี้ยงแพะ แต่กลับแข่งขันกันสร้างอาคารสูงๆ « จากนั้นเขา (ชายผู้นั้น) ก็จากไป และฉัน (อุมัร) ก็หายหน้าไปหลายวัน ต่อมาท่านนบี  ก็ถามฉันว่า » โอ้อุมัร ท่านรู้ไหมว่า ผู้ถามครั้งนั้นเป็นใคร ? « ฉัน (อุมัร)ตอบว่า : อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เท่านั้นที่รู้ดี ท่านนบีตอบว่า : » แท้จริงเขาคือ ญิบรีล ท่านมาหาพวกท่าน เพื่อสอนพวกท่านเรื่องศาสนาของพวกท่าน «.
สรุปประเด็นสาระหลักฐานที่ 35 มีหัวข้อนำเสนอดังต่อไปนี้ :-
.1 ความสัมพันธ์ระหว่างอัลอิสลามกับอัลอีม่าน
1.1 อัลอิสลามในความหมายด้านภาษาและวิชาการ.
1.2 เมื่อพูดถึงอัลอิม่านเพียงอย่างเดียว อัลอิสลามก็หมายถึงด้วย เมื่อพูดถึงอัลอิสลามเพียงอย่างเดียว อัลอิม่านก็หมายถึงด้วย แต่เมื่อพูดถึงพร้อมๆกัน ต่างก็มีความหมายที่แตกต่างกัน.
1.3 การงานที่กระทำด้วยอวัยวะและการเชื่อฟังล้วนแล้วมาจากอัลอิม่าน.
1.4 บรรดานักวิชาการมีมติเอกฉันท์ว่า อัลอิม่านมีเพิ่มด้วยกับการเชื่อฟัง และลดด้วยกับการฝ่าฝืน.
1.5 การศรัทธาที่สมบูรณ์อยู่ภายในหัวใจ ต้องแสดงการกระทำออกมาตามระดับขั้นของมัน และเป็นไปไม่ได้ที่มีศรัทธาที่สมบูรณ์แต่ไร้ซึ่งการกระทำ.
1.6 อนุญาตใช้คำพูดที่ว่า ฉันเป็นผู้ศรัทธา อินชาอัลลอฮ์.
1.7 หลักการศาสนามี 3 ระดับ ขั้นแรกหลักการอัลอิสลาม ขั้นกลางหลักศรัทธา ขั้นสูงสุดหลักคุณธรรม.
1.8 มนุษย์มีความเหลื่อมล้ำกันในด้านของหลักปฏิบัติและการเชื่อมั่น.
1.9 หลักศรัทธามีหลายแขนงและหลายส่วน.
1.10 ความเข้าใจของการเรียกว่าผู้ศรัทธาในมุมมองของนักวิชาการ.
1.11 กลุ่มที่เห็นต่างในมุมมองการเรียกว่า ผู้ศรัทธาในประเด็นนี้.
2. การศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์.
3. การศรัทธาต่อคัมภีร์.
4. การศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต.
5. การศรัทธาต่อวันปรโลก.
6. การศรัทธาต่อการกำหนดสภาวการณ์ทั้งดีและร้าย.
7. สัญญาณวันสิ้นโลก.
ดาวน์โหลดหนังสือลิงค์นี้ฟรี : http://www.saaid.net/book/22/17205.pdf
[เรียบเรียงโดย : เชคอนิซ บิน นาซิรอัลมัซอะบีญ์]

Комментарии

Информация по комментариям в разработке