ศิลปินกรมศิลปากร EP.13 พม่าห้าท่อน 4 ชั้น ทางครูมนตรี ตราโมท

Описание к видео ศิลปินกรมศิลปากร EP.13 พม่าห้าท่อน 4 ชั้น ทางครูมนตรี ตราโมท

เพลงพม่าห้าท่อน ๔ ชั้น ทางครูมนตรี ตราโมท

สมัยอยุธยาสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ ๑ การขับเสภาไม่ได้มีเครื่องดนตรีใดเข้าไปประกอบด้วย จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงเห็นว่าการขับเสภาที่ไม่มีดนตรีแทรกนั้น คนขับเสภาจะเหน็ดเหนื่อยเพราะไม่มีเวลาพัก จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีวงปี่พาทย์เข้ามาบรรเลงประกอบ มีการร้องรับปี่พาทย์และบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ตามท้องเรื่อง เสมือนการบรรเลงประกอบการแสดงละคร โดยเกิดบัญญัติขึ้นว่า เพลงที่ใช้ขับร้องรับปี่พาทย์เป็นเพลงแรก คือ เพลงพม่าห้าท่อน

เพลงพม่าห้าท่อน สองชั้น ในท่อนที่ ๑ เป็นทำนองเพลงของพม่าในชุดผีมด ส่วนท่อนที่ ๒ ถึงท่อนที่ ๕ ได้ขยายจากเพลงเร็วของไทยจากอัตราจังหวะชั้นเดียว ขึ้นเป็นอัตราจังหวะสองชั้น โดยนำมาเรียงร้อยต่อกันจนครบเป็น ๕ ท่อน กระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นยุคที่นิยมขยายเพลงอัตราจังหวะสองชั้น เป็นอัตราจังหวะสามชั้น ซึ่งเพลงพม่าห้าท่อน โดยเฉพาะท่อนที่ ๑ มีลักษณะเป็น "โยน" จึงมีครูดนตรีไทยหลายสำนักนำไปตกแต่งทำนองได้อย่างน่าพิสดาร มีการแทรกลูกล้อลูกขัด แทรกภาษาต่างๆ เช่น มอญ พม่า ลาว แขก ฝรั่ง ให้น่าฟังยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่มีการประชันวงปี่พาทย์ที่วังบางขุนพรหม ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงออกแบบเพลงพม่าห้าท่อน โดยขยายทำนองเพลงในท่อนที่ ๑ ออกเป็นอัตราจังหวะสี่ชั้น และตัดลงจนครบเป็นเพลงเถา

การบรรเลงครั้งนี้กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้นำเพลงพม่าห้าท่อน สี่ชั้น แนวทางของคุณครูมนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) อดีตผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร มาบรรเลงและขับร้อง ทั้งยังได้นำวิธีการขับเสภาไหว้ครูสอดสลับกับการรัวประลองเสภา ที่คุณครูบุญยงค์ เกตุคง (ศิลปินแห่งชาติ) ได้รับแนวคิดมาจากการร้องรับรัวประลองเสภา ของคุณครูโชติ ดุริยประณีต อดีตหัวหน้าแผนกดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เมื่อครั้งที่ท่านได้ร่วมงานกัน และเผยแพร่สู่สาธารณะชนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ นอกจากนี้ในช่วงของการขับร้องเพลงพม่าห้าท่อน จะมีการขยับกรับเสภาร่วมด้วย โดยกระบวนการขยับกรับเสภานั้น เป็นมรดกภูมิปัญญาของกรมมหรสพที่สืบทอดมาถึงครูแจ้ง คล้ายสีทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นกระบวนการขยับกรับเสภาอีกตำรับหนึ่งที่หาฟังได้ยากและได้เผยแพร่ไว้อย่างสมบูรณ์ในครั้งนี้

เนื้อร้องเพลงพม่าห้าท่อน

โจนลงกลางชานร้านดอกไม้          
ของขุนช้างปลูกไว้อยู่ดาษดื่น
รวยรสเกสรเมื่อค่อนคืน                      
ชื่นชื่นลมชายสบายใจ
กระถางแถวแก้วเกดพิกุลแกม               
ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว
สมอรัดดัดทรงสมละไม                       
ตะขบข่อยคัดไว้จังหวะกัน
ตะโกนาทิ้งกิ่งประกับยอด                   
แทงทวยทอดอินพรมนมสวรรค์ 
บ้างผลิดอกออกช่อขึ้นชูชัน                  
แสงพระจันทร์จับแจ่มกระจ่างตา

จากบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


นักดนตรีและนักร้องวงปี่พาทย์เสภา
ปี่ใน สุรศักดิ์ กิ่งไทร
ระนาดเอก ทวีศักดิ์ อัครวงษ์
ระนาดทุ้ม สุรสิทธิ์ เขาสถิตย์
ฆ้องวงใหญ่ กิติศักดิ์ เขาสถิตย์
ฆ้องวงเล็ก ถาวร ภาสดา
กลองสองหน้า ปิยะ แสวงทรัพย์
กลองแขกตัวผู้, เปิงมาง ประยงค์ ทองคำ
กลองแขกตัวเมีย นิรันดร์ หรุ่นทะเล
โทนชาตรี สุภร อิ่มวงศ์
Snare Drum ธเนศ ชิตท้วม
Bass Drum พิเชฎ โยธี
ฉิ่ง ภูธิชย์ พึ่งสัตย์
ฉาบใหญ่, Hand Cymbals ศราวุธ พรมจิตต์
ฉาบเล็ก ประดิษฐ์ หนูจ้อย
ขับเสภา ปกรณ์ หนูยี่
กรับ อุดมเกียรติ เพ็งอุบล
ขับร้อง เกียรติศักดิ์ ร่มสันเที้ยะ

ควบคุมการบรรเลง ไชยยะ ทางมีศรี

บันทึกเสียง นพดล ป้อมเพชร

บันทึกวิดิโอและบันทึกภาพ พงค์พันธ์ เพชรทอง

กำกับภาพและเสียง พงค์พันธ์ เพชรทอง

ผลิตรายการ เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี, นะพงค์พันธ์ เพชรทอง, ปกรณ์ หนูยี่

อำนวยการบรรเลงและการแสดง
ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการกลุ่มดุริยางค์ไทย สุริยะ ชิตท้วม

ขอขอบพระคุณ
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร

Комментарии

Информация по комментариям в разработке