นามสกุล ณ พระราชทานนามสกุลให้ใครบ้าง ทำไมต้องมีนามสกุลและสำคัญอย่างไร

Описание к видео นามสกุล ณ พระราชทานนามสกุลให้ใครบ้าง ทำไมต้องมีนามสกุลและสำคัญอย่างไร

#นามสกุล ณ พระราชทานนามสกุลให้ใครบ้าง ทำไมต้องมีนามสกุลและสำคัญอย่างไร
นามสกุลพระราชทาน หมายถึง นามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 อย่างไรก็ตาม ได้มีการเลื่อนเวลาการบังคับใช้กฎหมาย 2 ครั้ง เพื่ออำนวยความการสะดวกแก่เจ้าพนักงานซึ่งจะทำทะเบียนและสะดวกแก่ผู้ที่จะเลือกตั้งนามสกุล โดยพระราชบัญญัติได้บังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 พระองค์ทรงมีพระราชดำริถึงประโยชน์ของการมีนามสกุลหรือชื่อตระกูลเมื่อ พ.ศ. 2454 ใน จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล ความว่า
ยังมีอีกเรื่อง 1 ซึ่งได้พูดกันลงความเห็นกัน คือว่าด้วยชื่อแส้ฤๅตระกูล ซึ่งในเมืองอื่น ๆ เฃาก็มีกันแบบทั่วไป แต่ในเมืองเรายังหามีไม่ เห็นว่าดูถึงเวลาอยู่แล้วที่จะต้องจัดให้มีขึ้น การมีชื่อตระกูลเปนความสดวกมาก อย่างต่ำ ๆ ที่ใคร ๆ ก็ย่อมจะมองแลเห็นได้ คือชื่อคนในทะเบียฬสำมโนครัวจะได้ไม่ปนกัน แต่อันที่จริงจะมีผลสำคัญกว่านั้น คือจะทำให้เรารู้จักรำฤกถึงบรรพบุรุษของตนผู้ได้อุสาหก่อร่างสร้างตัวมา และได้ตั้งตระกูลไว้ให้มีชื่อในแผ่นดิน เราผู้เปนเผ่าพันธุ์ของท่านได้รับมรฎกมาแล้ว จำจะต้องประพฤติตนให้สมกับที่ท่านได้ทำดีมาไว้ และการที่จะตั้งใจเช่นนี้ ถ้ามีชื่อที่ต้องรักษามิให้เสื่อมทรามไปแล้ว ย่อมจะทำให้เปนเครื่องยึดเหนี่ยวหน่วงใจคนมิให้ตามใจตนไปฝ่ายเดียว จะถือว่า "ตัวใครก็ตัวใคร" ไม่ได้อีกต่อไป จะต้องรักษาทั้งชื่อของตัวเอง ทั้งชื่อของตระกูลด้วยอีกส่วนหนึ่ง
— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, จดหมายเหตุรายวันเล่ม 2, รัตนโกสินทรศก 120.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลเป็นครั้งแรก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 จำนวน 4 นามสกุล คือ สุขุม มาลากุล พึ่งบุญ และ ณ มหาชัย[7]: 152:เชิงอรรถ 2  โดยมีนามสกุล "สุขุม" ซึ่งพระราชทานแก่เจ้าพระยายมราช (ปั้น) เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับแรก[8] ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลไว้จำนวนทั้งสิ้น 6464 นามสกุล เป็นนามสกุลตามสมุดทะเบียน 6439 นามสกุล (ในสมุดทะเบียนลงลำดับที่นามสกุลที่ได้พระราชทานไปเพียง 6432 นามสกุล) , นามสกุลพิเศษ 1 นามสกุล คือ นามสกุล ณ พิศณุโลก และนามสกุลพระราชทานสำหรับราชสกุลในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 24 นามสกุล #นามสกุลพระราชทาน
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่เจ้านายและข้าราชบริพารเป็นวาระพิเศษอีกหลายครั้ง
#หัวเมืองล้านนา
1. ณ เชียงใหม่ พระราชทานให้ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9
2. ณ ลำปาง พระราชทานให้ เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13
3. ณ ลำพูน พระราชทานให้ เจ้าจักรคำขจร เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10
4. ณ น่าน พระราชทานให้ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64
#หัวเมืองอีสาน
1. ณ จัมปาศักดิ์ พระราชทานให้ เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบง) สืบสาย พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) ปฐมกษัตริย์อาณาจักรจำปาศักดิ์
2. ณ อุบล พระราชทานให้ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ) กรมการเมืองอุบล สืบสาย พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองคนแรก
3. ณ หนองคาย พระราชทานให้ พระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ผู้ว่าการเมืองหนองคาย สืบสาย พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) เจ้าเมืองคนแรก
4. ณ กาฬสินธุ์ พระราชทานให้ พระยาไชยสุนทร (เก) ผู้ว่าการเมืองกาฬสินธุ์ สืบสาย พระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร์) เจ้าเมืองคนแรก
5. ณ ร้อยเอ็จ พระราชทานให้ พระยาขัติยะวงศา (เหลา) ผู้ว่าการเมืองร้อยเอ็ด สืบสาย พระยาขัติยะวงศา (เจ้าสุทน) เจ้าเมืองคนแรก
6. ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม พระราชทานให้ พระเจริญราชเดช (อุ่น) ผู้ว่าการเมืองมหาสารคาม สืบสาย พระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองคนแรก
7. พรหมสาขา ณ สกลนคร พระราชทานให้ พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ผู้ว่าการเมืองสกลนคร สืบสาย พระบรมราชา (พรหมา) เจ้าเมือง
#หัวเมืองปักษ์ใต้
1. ณ นคร พระราชทานให้ เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม) สืบสาย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)
(สกุลย่อย) โกมารกุล ณ นคร พระราชทานให้ พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม) สืบสายมาทาง เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยเมือง)
2. ณ สงขลา พระราชทานให้ พระยาพฤกษาภิรมย์ (ฑิตย์) สืบสาย เจ้าพระยาสงขลา (เยี่ยง แซ่เหงา) เจ้าเมืองสงขลา
3. ณ ระนอง พระราชทานให้ พระยารัตนเศรษฐี (ยู่หงี แซ่คอ) สืบเชื้อสาย พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (ซู้เจียง แซ่คอ) เจ้าเมืองระนอง
4. ณ ตะกั่วทุ่ง พระราชทานให้ หลวงราชภักดี (หร่าย) สืบสาย พระยาโลหะภูมิพิสัย เจ้าเมืองตะกั่วป่า
5. รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พระราชทานให้ หลวงวรเทพภักดี (เดช) สืบสาย พระภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (แก้ว)
6. ณ ถลาง พระราชทานให้ พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี) สืบสาย พระยาถลาง (ฤกษ์)
(สกุลย่อย) ประทีป ณ ถลาง พระราชทานให้ หลวงราชอาณัติ (กล่อม) ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตะกั่วป่า
7. ณ พัทลุง พระราชทานให้ หลวงวิบูลย์บุรขันฑ์ (นพ) สืบสาย พระยาพัทลุง (ขุน)
(สกุลย่อย) สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง พระราชทานให้ มหาดเล็กสำรองสมบุญ
นามสกุลมี "ณ" ประกอบนามสกุล
หลายคนมักเข้าใจว่า เจ้าเมือง หรือ เชื้อสายเจ้าเมือง หรือ เจ้าผู้ครองนคร ในสมัยก่อนจะต้องได้รับนามสกุล ณ ตามด้วยชื่อเมือง ประกอบ หรือต่อท้ายทุกๆเมือง ความจริงไม่ใช่แบบนั้น

#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке