เยี่ยมชม “เตาเผาอิวาเตะ” ของ “วิสาหกิจชุมชนคำหอม”ากพูดถึง “เตาเผาอิวาเตะ” (Iwate Kiln)

Описание к видео เยี่ยมชม “เตาเผาอิวาเตะ” ของ “วิสาหกิจชุมชนคำหอม”ากพูดถึง “เตาเผาอิวาเตะ” (Iwate Kiln)

หากพูดถึง “เตาเผาอิวาเตะ” (Iwate Kiln) ซึ่งเป็นเตาเผาถ่านที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น บรรดาผู้ที่อยู่ในแวดวงเกษตรกรรมปลอดสารพิษคงรู้จักกันเป็นอย่างดี และเริ่มมีการผลิตในประเทศไทยมานานหลายปีแล้ว ข้อดีของเตาเผาชนิดนี้คือ มีการควบคุมอุณหภูมิในเตาเผาถ่านได้เป็นอย่างดี ซึ่งรูปแบบเตาเผาลักษณะนี้นำต้นแบบมาจากประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น เตาเผารูปทรงนี้เป็นรูปแบบที่พัฒนาจากเตาดิน และเตาอิฐ ให้ผลผลิตถ่านที่มีคุณภาพดี ได้ผลผลิตถ่านในปริมาณมาก อีกทั้งยังได้ “น้ำส้มควันไม้” ซึ่งเป็นผลพลอยได้ และคุ้มค่าต่อการลงทุนก่อสร้าง แม้ว่าต้นทุนจะสูงกว่าเตาดินและเตาอิฐก่อธรรมดา เนื่องจากอิฐที่ใช้ก่อสร้างเตาเผามีปริมาณมากกว่า และการก่อสร้างค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งต้องให้ผู้มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างเป็นคนทำ เตาเผาที่สร้างขึ้นมาจึงจะมีคุณภาพดี

ที่ “วิสาหกิจชุมชนคำหอม” เลขที่ 16 หมู่ที่ 2 บ้านเขาหลาง ต.ทุ่งหลวง อ.ละแม จ.ชุมพร เป็นวิสาหกิจชุมชนที่กำลังได้รับความสนใจเกี่ยวกับการทำเตาเผาอิวาเตะขนาดใหญ่คือ 5.5 X 5.5 เมตร อยู่กลางสวนปาล์มน้ำมัน และมีสองพ่อลูกคือ นายชินปกรณ์ อานันท์รัตนกุล หนุ่มใหญ่วัย 55 ปี อาชีพเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันและสวนทุเรียน และ นายชินวิศิษฐ์ อานันท์รัตนกุล บัณฑิตหนุ่มวัย 27 ปี จากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ช่วยกันดูแล ซึ่งก่อสร้างเตาเผาอิวาเตะขนาดใหญ่มาประมาณ 1 ปีเศษ

นายชินวิศิษฐ์ เปิดเผยว่า ไม้ส่วนใหญ่ที่นำมาเผาเพื่อทำถ่านและทำน้ำส้มควันไม้คือไม้ต้นมังคุดและไม้ต้นลองกอง มีไม้ยางบ้าง ซึ่งมีทั้งที่ชาวบ้านนำมาขาย ที่ตัดในสวนตนเอง ราคารับซื้อไม้ก็เป็นไปตามราคารับซื้อตามลานไม้คือกิโลกรัมละ 75 สตางค์ ส่วนการเผาจะนำไม้ใส่ทางประตูด้านหน้าเตาเผา โดยเรียงไม้ภายในเตาเป็นแนวตั้ง ซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วจุดไฟเข้าทางปล่องด้านล่าง จากนั้นเรียงอิฐปิดปากปล่อง อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาจะดูจากเทอร์โมมิเตอร์ที่ติดอยู่ข้างเตา อยู่ที่ประมาณ 1,000 ไม่เกิน 1,200 องศาเซลเซียส ความจุด้านในเตาเผาประมาณ 40 ตัน ซึ่งจะได้ถ่านที่เผาแล้วประมาณ 20-25 ตัน สำหรับการซื้อขายนั้น เนื่องจากยังไม่มีราคากลาง จึงกำหนดขายเองอยู่ที่กิโลกรัมละ 15.50 บาท โดยซื้อขายในลักษณะยกคันรถบรรทุกสิบล้อ

“หากมีการเผาในอุณหภูมิเกิน 1,200 องศาเซลเซียส เราจะได้ White Charcoal หรือถ่านที่มีคุณภาพดีกว่าถ่านธรรมดา หรือ Charcoal ที่เผาไม่เกิน 1,200 องศาเซลเซียส แต่ส่วนใหญ่การเผาแต่ละครั้ง จะได้ถ่านธรรมดา หรือ Charcoal มากกว่า สำหรับ White Charcoal ซึ่งมีการผลิตที่ยุ่งยากมากกว่า หากนำกะลามะพร้าวหรือไม้ไผ่ที่มีรูเยอะกว่ามาเผาจนได้ White Charcoal ก็สามารถนำไปผลิตเป็นยาพวก Ultra Carbon กินแก้ท้องเสีย สาเหตุที่ต้องสร้างเตาเผาอิวาตะไว้ในอาคารมีหลังคาคลุม ก็เพราะผนังเตาด้านนอกฉาบด้วยดินเหนียวกับทรายเท่านั้น ไม่เหมือนผนังเตาด้านใน หากทำเตาเผาไว้ในที่แจ้งก็อาจได้รับความเสียหายได้ สำหรับผนังเตานั้นจะก่ออิฐมีความหนาประมาณ 60-80 เซนติเมตร ตรงกลางในผนังจะใส่ทรายลงไปเพื่อป้องกันความร้อนออกไปนอกเตา ปกติเตาเผาถ่านทั่วไปจะมีการปล่อยควันซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เตาเผาอิวาเตะจะมีปล่องควันที่ทำจากอะลูมิเนียมทั้งหมด ต่อจากตัวเตาฝังไว้ใต้ดินแล้วจึงออกมายังปล่องด้านนอกอาคาร สูงประมาณ 35 เมตร ซึ่งภายในปล่องจะมีตัวแผ่นสแตนเลสเอาไว้ดักจับไอน้ำ ทำให้เกิดน้ำส้มควันไม้ สิ่งที่เห็นลอยออกจากปล่องไม่ใช่ควันหรือคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เป็นไอน้ำ” นายชินวิศิษฐ์ กล่าว

สำหรับ “น้ำส้มควันไม้” ที่เป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่านด้วยเตาเผาอิวาเตะ มีคุณสมบัติคือนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น นำมาใช้ไล่หรือกำจัดแมลง นำมาใช้ป้องกันเชื้อราที่ขึ้นต้นทุเรียน หรือฉีดป้องกันเห็บหมัดในสัตว์เลี้ยง นำมาผสมสมุนไพรฉีดไล่ลุง แบ่งบรรจุเป็น ขนาด 5 ลิตร ขนาด 1 ลิตร ขนาด 600 ซีซี ใน 1 เตาเผาอิวาเตะจะได้น้ำส้มควันไม้เตาละประมาณ 2,000 ลิตรต่อการเผา 1 รอบ ใช้เวลาเผาประมาณ 20 วัน (เตาละ 10 วัน) แบ่งเป็นการเอาไม้เข้า-ออกจากเตา 4 วัน เวลาในกาเผา 7 วัน และเวลาในการอบไว้ในเตาอีก 7 วัน ซึ่งน้ำส้มควันไม้จะส่งขายในราคาลิตรละ 120 บาท ส่วนถ่านที่ได้จากการเผาจะถูกนำไปร่อนเพื่อแบ่งเป็น 5 ขนาดคือ เบอร์ 1 ขนาดใหญ่สุด บรรจุกระสอบใหญ่จำหน่าย เบอร์ 2 ขนาดเล็กลงมา นำไปใช้ในการปิ้งย่างอาหาร เบอร์ 3 เล็กลงมาอีก นำไปใช้รองกระถางต้นไม้เพื่อควบคุมความชื้นให้ต้นไม้ เบอร์ 4 ขนาดเกือบเล็กสุด นำไปทำถ่านอัดแท่งซึ่งสามารถเผาได้นานกว่าถ่านธรรมดาหรือนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ และเบอร์ 5 เป็นผงถ่านนำไปผสมดินปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆ ควบคุมความชื้นไม่ให้เกิดเชื้อรา นอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถ่านคือพวกสบู่ Charcoal ที่นำถ่านมาผสมน้ำอัลคาไลน์ ทำสบู่เหลวใช้ในจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง และทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า

นายชินปกรณ์ กล่าวว่า ในอนาคตจะมีการสร้างเตาเผาอิวาเตะเพิ่มอีก 2 เตา ขณะนี้วิสาหกิจชุมชนคำหอมยังไม่มีการเปิดอย่างเต็มตัว ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากถ่านและน้ำส้มควันไม้เริ่มมีวางจำหน่ายบ้างแล้ว มีการซื้อ-ขายกันทางออนไลน์ในเพจ “วิสาหกิจชุมชนคำหอม” และตามร้านค้าที่ยังไม่ทั่วถึง ส่วนต้นทุนที่ใช้ก่อสร้างเตาเผาอิวาตะทั้ง 2 เตา รวมทั้งตัวอาคารและหอติดตั้งปล่องกลั่นน้ำส้มควันไม้ 2 ปล่องซึ่งใช้พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ คือประมาณ 3,500,000 บาท ซึ่งขอกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) 2 ล้านบาท และเงินของครอบครัว 1,500,000 บาท คาดว่าหากทำอย่างจริงจัง ไม่เกิน 1 ปีก็คุ้มทุนแล้ว แต่ต้องหาตลาดและเจาะกลุ่มเป้าหมายเอาไว้ก่อน เตาเผาอิวาตะเหล่านี้มีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี

ผู้สนใจที่ต้องการขอคำแนะนำในการสร้างเตาเผาอิวาเตะสามารถติดต่อทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “วิสาหกิจชุมชนคำหอม” หรือติดต่อทางโทรศัพท์ของนายชินปกรณ์คือ 086-6820524

Комментарии

Информация по комментариям в разработке