โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

Описание к видео โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้พัฒนา ท่าเรือแหลมฉบัง และเปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ต่อมามีการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2540

ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือขนถ่ายตู้สินค้าที่สำคัญของประเทศไทยมีขีดความสามารถรองรับตู้สินค้า 11.10 ล้านทีอียู/ปี
และรองรับการนำเข้า-ส่งออก สินค้ารถยนต์ 1.95 ล้านคัน/ปี อย่างไรก็ตาม การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้พิจารณาถึงขีดความสามารถ
ของท่าเรือแหลมฉบัง เปรียบเทียบกับการพยากรณ์ปริมาณตู้สินค้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
พบว่า ปัจจุบันมีปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง 8 ล้าน ทีอียู/ปี และจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้าน ทีอียู/ปีในปี พ.ศ.2568
ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เพียงพอกับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้น
และรองรับการพัฒนาตามแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคอินโดจีน และเป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่จีนและอินเดีย อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งสินค้า
ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 โดยดำเนินการในรูปแบบของการร่วมลงทุนระหว่าง
ภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้โครงการความร่วมมือในรูปแบบหุ้นส่วนยุทธศาสตร์
โดยโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ได้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สำหรับโครงการกิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม
สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง (EHIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้วเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พศ.2562 ที่ผ่านมา

เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor : EEC) ที่รัฐบาลต้องการเร่งพัฒนาให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้มีการเชื่อมต่อ
และขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ( กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ) และประเทศจีนตอนใต้
ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค
และเตรียมผลักดันให้เป็นท่าเรือชั้นนำของโลก

Комментарии

Информация по комментариям в разработке