พุทธวิธีบริหารวิตกขณะเจริญอธิจิต | เทวธาวิตักกสูตร

Описание к видео พุทธวิธีบริหารวิตกขณะเจริญอธิจิต | เทวธาวิตักกสูตร

#อกุศลวิตก #กุศลวิตก #วิชชา3

พุทธวิธีบริหารวิตก
ขณะเจริญอธิจิต
เทวธาวิตักกสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๒ ข้อ ๒๕๑-๒๕๕

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว ฟังพุทโธวาท
และน้อมธรรมมาสู่ใจ น้อมใจปฏิบัติ
ตามพุทโธวาทตรง ๆ ให้เข้าใจแจ้ง
และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

ความยาววีดีโอ: 33:34 นาที
เวลาปฏิบัติ: 45 นาที

--------

เมื่อพระผู้มีพระภาคยังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงแยกวิตกเป็น ๒ ส่วน คือ

กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก เป็นส่วนหนึ่ง
เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก เป็นส่วนหนึ่ง

เมื่อทรงไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก บังเกิดขึ้น ก็ทราบชัดว่ากามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก บังเกิดขึ้น แต่ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน เมื่อทรงพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตกที่บังเกิดขึ้นก็ดับหายไป

และเมื่อยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใด ๆ มาก ใจจะน้อมไปข้างวิตกนั้น ๆ คือ

ถ้ายิ่งตรึกตรองถึงกามวิตกมาก ก็จะละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย มาอยู่แต่กามวิตกมาก จิตก็น้อมไปเพื่อกามวิตก

ถ้ายิ่งตรึกตรองถึงพยาบาทวิตกมาก ก็จะละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มาอยู่แต่พยาบาทวิตกมาก จิตก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก

ถ้ายิ่งตรึกตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก ก็จะละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มาอยู่แต่วิหิงสาวิตกมาก จิตก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก

ทรงเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นความผ่องแผ้วของกุศลธรรมทั้งหลาย

ทรงไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก ก็บังเกิดขึ้น แต่ว่าเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ก็หากจะทรงตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน ก็ทรงยังไม่มองเห็นภัยที่จะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตกได้เลย แต่ว่าเมื่อทรงตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

จึงทรงดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี เพราะปรารถนาว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย

ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้น ๆ มาก คือ

ถ้ายิ่งตรึกยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก ก็จะละกามวิตกเสียได้ ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก

ถ้ายิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก ก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้ ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก

ถ้ายิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก ก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตก็จะน้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

เมื่อทรงปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว มีสติมั่นคง มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน
บรรลุทุติยฌาน
บรรลุตติยฌาน
บรรลุจตุตถฌาน

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ทรงโน้มน้อมจิตไปเพื่อ

ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก บรรลุวิชชาที่หนึ่งในปฐมยามแห่งราตรี

รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) ด้วยจักษุอันบริสุทธิ์ บรรลุวิชชาที่สองในมัชฌิมยามแห่งราตรี

อาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี วิชชาที่สามนี้ ทรงบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี

ทรงกำจัดอวิชชาแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะทรงไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลสส่งตนไปอยู่


🙏 กดติดตามมูลนิธิอุทยานธรรม
http://bit.ly/2VRwhuZ

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

มูลนิธิอุทยานธรรมสร้างและเผยแผ่พระไตรปิฎกเสียงสมจริงและวีดิทัศน์ต่าง ๆ เป็นธรรมทานแก่ทุกสรรพจิตในสากลโลก เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ถวายแด่พระศาสนา

ท่านที่ประสงค์จะเผยแผ่สื่อธรรมต่อเป็นธรรมทาน สามารถเผยแผ่ได้ตามประสงค์โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด เพียงกรุณาอ้างถึงที่มา (มูลนิธิอุทยานธรรม) ตามหลักสากล เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของผู้เผยแผ่เอง

หากท่านผู้ใดประสงค์จะเผยแผ่เพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ทางการค้า มูลนิธิฯ ขอสงวนสิทธิ์โดยชอบตามกฎแห่งกรรมและกฎแห่งธรรม

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸
มูลนิธิอุทยานธรรม
YouTube :    / tipitakaglory  
SoundCloud :   / uttayarndham  
Facebook :   / uttayarndham  
Instagram :   / uttayarndham  
Line @ : @uttayarndham หรือ http://line.me/ti/p/@uttayarndham
TikTok :   / uttayarndham  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке