รำแห่เทียนพรรษา 2567 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ "รัตนะปฏิมา ศิริวันทนา ณ อุบลราชธานี"

Описание к видео รำแห่เทียนพรรษา 2567 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ "รัตนะปฏิมา ศิริวันทนา ณ อุบลราชธานี"

#ฝากไว้เป็นความทรงจำว่าครั้งหนึ่ง...
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
#สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ #แห่เทียน #แห่เทียนอุบลราชธานี #วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี #สถาบันพระบรมราชชนก #แห่เทียนพรรษา2567
......................................................................................
อำนวยการผลิตและการแสดง
อาจารย์ ดร.นุสรา ประเสริฐศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ออกแบบแนวคิดควบคุมการผลิตและการแสดง
อาจารย์ ทัตภณ พละไชย รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา

ควบคุมการผลิตและการแสดง
อาจารย์ ปภาดา น้อยวงศ์ หัวหน้างานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและกิจการพิเศษ
อาจารย์ กตกร ประสารวรณ์ หัวหน้างานกิจการนักศึกษา
สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ประพันธ์คำร้อง
คุณครูภาณุพงศ์ ธงศรี

เรียบเรียงดนตรีและขับร้อง
คุณครูธีระวัฒน์ มาเหลา
คุณครูว่าที่ ร้อยตรี สุดใจ สอสมิง
คุณครูภัสตราภรณ์ กุลสุทธิ์

ประดิษฐ์ท่ารำและออกแบบการแสดง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ อัตไพบูลย์
คุณครูนสิต ชนรินทร์
คุณครูโสภา สีหาพงษ์
คุณครูศราวุฒิ สาธุวัน

จำนวนผู้เข้าร่วมรำและขบวนแห่
มากกว่า 100 คน ประกอบด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษาพยาบาลและชุมชน

คำบรรยายขบวนรำ
การแสดงในชื่อชุด รัตนะปฏิมา ศิริวันทนา ณ.อุบลราชธานี เป็นการแสดงที่ออกแบบ ซึ่งมีแนวคิดหลักสำคัญในการเล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานี คาดหวังให้เป็นเรื่องราวภาคต่อจากบทเพลงและการร่ายรำจากปีที่ผ่านมา หยิบยกเอาเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองอุบลราชธานี ในการก่อร่างสร้างเมืองและจุดกำเนิด
พระแก้ว 5 พระองค์ สิ่งศักดิ์สิทธิคู่เมืองอุบลราชธานี มาเล่าในรูปแบบและท่วงทำนองใหม่ในประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2567
การแต่งกายได้แนวคิดผสมผสานความเป็นชาติพันธุ์ลาวล้านช้าง ออกแบบลวดลายเครื่องนุ่งห่มอย่างแยบคาบ ตีนผ้าถุงผสมผสานบอกเล่าเรื่องราวนกหัสดีลิงค์และนางสีดา และทิวมุกจกดาว ออกแบบและตัดเย็บโดยช่างชาวอุบล สื่อถึงความเชื่อ ภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของทีมช่างได้เป็นอย่างดี ใช้สีสันที่โดดเด่น กลมกลืน บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นอุบลราชธานีเป็น Soft power ได้ชัดเจน
โดยที่เนื้อร้องและการบรรเลงดนตรี ได้กล่าวถึงการกำเนิดพระแก้วทั้ง 5 พระองค์ ได้แก่ พระแก้วบุษราคัม พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง พระแก้วไพฑูรย์ พระแก้วโกเมน และพระแก้วนิลกาฬ การประดิษฐาน ณ. จังหวัดอุบลราชธานี และการกราบไหว้บูชา สมคุณค่าจนได้ชื่อว่าอู่อารยธรรมทางพระพุทธศาสนา นำความเจริญรุ่งเรืองสู่อุบลราชธานี เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ฮุ่งเฮืองธรรม งามล้ำ เทียนพรรษา ภูมิปัญญาปราชญ์อุบล” ในส่วนท่วงทำนองและการขับร้อง ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และความมีมนขลัง ผสมผสานความทันสมัยเพื่อให้เข้าถึงคนฟังทุกกลุ่ม ผ่านท่วงทำนองขับนาคสะดุ้ง ขับทุ้มหลวงพระบาง เต้ยโขง ลาวกระทบไม้ อีกทั้งให้ความสำคัญกับการผสมผสาน เพราะเชื่อว่าเรื่องของดนตรีมีความสร้างสรรค์และสื่อความหมายได้ในแต่ละยุค โดยนำเอาจังหวะตะลุงและทำนองตาลีกีปัสเข้ามา ทำให้เกิดความโดดเด่น เพื่อสื่อความหมายถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดสุราษฎร์ธานี “เข้าพรรษา ณ.อุบลราชธานี และออกพรรษา ณ.สุราษฎร์ธานี” นั่นเอง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке