เร็วกว่าเดิม ...ไม่ถึง 1 นาทีเช็คคอมฯตู้เย็นเสียไม่เสีย

Описание к видео เร็วกว่าเดิม ...ไม่ถึง 1 นาทีเช็คคอมฯตู้เย็นเสียไม่เสีย

... อาการไม่เย็นของตู้เย็น คอมเพรสเซอร์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน แต่ในบางครั้งที่เราไปตรวจเช็คที่หน้างาน หรือในกรณีเร่งด่วนและไม่มีอ่ะไหล่เพื่อสำรองและทดสอบ ตัวอย่างเช่น ตู้อาจจะมีเสียงตังแต๊กๆที่ตัวป้องกันหรือที่โอเวอร์โหลด หรืออาจจะมีเสียงครางที่ตัวคอมเพรสเซอร์ ซึ่งนั่นก็อาจจะเกิดมาจากสาเหต คอมฯสตาร์ทหรือออกตัวไม่ได้
... เพราะฉะนั้น วิธีหนึ่งที่สามารถตรวจเช็คคอมฯ ตัวที่กำลังมีปัญหาอยู่ว่าตัวคอมฯเองมีปัญหา หรือเกิดจากระบบกันแน่ ได้ด้วยวิธี “ การสตาร์ทด้วยการเขี่ยที่หัวหลัก S “
... ซึ่งมาจากหลักการการทำงานของมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์นั่นเอง กล่าวคือ เมื่อมีไฟไหลเข้ามาที่วงจรช่วยสตาร์ท ขด S (สตาร์ท) จะเริ่มทำงานก่อน จากนั้นเมื่อหมุนไปได้ซักพัก ขด R ก็จะรับช่วงทำงานต่อ
... จากหลักการนี้เองทำให้เราอาจจะรู้แล้วว่า ตัวรีเลย์ช่วยสตาร์ทน่าจะมีปัญหา แต่ในตอนนั้น,ขณะนั้น เราไม่มีรีเลย์สำรองเพื่อที่จะทดสอบ เราจึงต้องใช้วิธีที่กล่าวก็คือ การเขี่ยหัวหลักหรือกระตุ้นการทำงานของขดลวด S ให้ทำงาน ถ้ากระตุ้นได้สำเร็จ คอมฯก็จะกลับมาหมุนได้อีกครั้ง และเป็นการพิสูจน์ได้อีกด้วยว่าสาเหตุนั้นมาจากอะไรกันแน่ ว่าระบบไฟฟ้าหรือระบบท่อ
หมายเหตุ การทดสอบอาจจะทำได้เฉพาะคอมฯที่เป็นแบบธรรมดาเฟสเดียว เท่านั้น
**** เตรียมสายไฟ AC 1 เส้นหรือใช้จากตู้เดิมและสายไฟอ่อนๆอีก 1 เส้น ****
... วิธีการทดสอบ ในกรณีที่เราสงสัย และมั่นใจว่าตัวรีเลย์ช่วยสตาร์ทนั้นเสีย ไม่ว่าจะเอาออกมาวัดด้วยมิเตอร์หรือจับเขย่าแล้วมีเสียงดังภายในตัว (ในกรณีแบบ PTC)
- หัวหลัก C จะต้องต่อตัวโอเวอร์โหลดหรือตัวป้องกันไว้ด้วยทุกครั้ง เนื่องจากส่วนใหญ่โอ
เวอร์โหลดมักจะไม่ค่อยเสีย
- ใช้สายไฟจากตัวตู้เอง หรือสายไฟที่เตรียมมา เส้นหนึ่งต่อเข้าที่หัวหลัก C และอีกสายต่อ
เข้าที่หัวหลัก R ที่สำคัญให้เช็คก่อนว่าสายไฟที่หัวหลัก C เป็นไฟเส้น L และที่หัวหลัก R
เป็น N โดยอาจจะเช็คที่เต้ารับก่อนจะเสียบปลั๊กให้แน่นอนก่อน
- สายไฟอ่อนที่เตรียมไว้ จั๊มเข้ากับสาย N เตรียมไว้เพื่อจะเขี่ยทดสอบ
การทดสอบต้องทำด้วยความระมัดระวังให้มาก และต้องทดสอบให้รวดเร็วที่สุด
- เมื่อพร้อมจึงเสียบปลั๊ก จากนั้นให้รีบนำสายที่จั๊มสาย N เขียไปที่หัวหลัก S หนึ่งครั้ง ให้เขี่ยเท่านั้นห้ามแช่นาน ถ้าตัวคอมเพรสเซอร์ปกติก็จะทำงานได้
รายละเอียดต่างๆสามารถชมได้ทางคลิปวีดีโอ และสามารถนำไปใช้ได้ที่หน้างานจริง โดยจะต้องวิเคราะห์และพิจรณาให้ถี่ถ้วนว่าสามารถที่จะใช้วิธีนี้ได้หรือไม่
จึงหวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์และแนวทางได้บ้างสำหรับท่านผู้ที่สนใจได้บ้างพอควร หากข้อมูลในคลิปถ้ามีความผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดทำขอน้อมรับและนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป... กราบขอบพระคุณ
“ ขอให้ความสำเร็จจงสถิตอยู่กับตัวท่าน ”
สงสัยอย่างไร,ประการใด โทรถามได้ที่
มือถือ 084-666-3328 โทรได้ตลอด ถ้าสะดวกจะรับสาย ถ้าไม่ได้
รับก็เพียรพยายามอีกนิด..เว้นช่วงและโทรเอาใหม่นะครับ จะไม่
โทรกลับสำหรับกรณีปรึกษา
ID Line ssc-services เป็นวิธีที่สะดวกสุด กดเป็นเพื่อนก่อนกดแจ้งมาก่อนว่า ID Line ของท่านชื่ออะไร เราจะได้กดรับ ถ้าไม่กดรับเราจะติดต่อกันไม่ได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพ,วีดีโอ อาการของเครื่องที่ต้องการปรึกษา
“ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน”
และกราบขอบพระคุณอีกครั้งที่ติดตามและรับชม...สวัสดี
นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์
21/11/2564 เวลา 0.05น.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке