เจาะลึก..อาณาจักรศรีโคตรบูร ประวัติยาวนานกว่าพุทธกาลจริงหรือ..?

Описание к видео เจาะลึก..อาณาจักรศรีโคตรบูร ประวัติยาวนานกว่าพุทธกาลจริงหรือ..?

เจาะลึก.. #อาณาจักรศรีโคตรบูร ประวัติยาวนานกว่าพุทธกาลจริงหรือ..?
อาณาจักรโคตรบูรณ์ เป็นอาณาจักรโบราณที่มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับยุคจันทะปุระ (ราวพุธศตวรรษที่ 1 - 10) และยุคซายฟอง (ราวพุธศตวรรษที่ 10 - 12) เริ่มมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลถึงพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 หรือระหว่าง พ.ศ. 1000 - 1500 มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสกลนคร จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานีของไทย แขวงบอลิคำไซ แขวงคำม่วน แขวงสุวรรณเขต แขวงเวียงจันทน์ แขวงสาละวัน แขวงจำปาศักดิ์ แขวงอัตตะปือ แขวงเซกองของลาว

นักวิชาการบางกลุ่มเสนอว่า อาณาจักรโคตรบูรณ์อาจแผ่อาณาเขตครอบคลุมไปถึงแขวงหลวงพระบางโดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีประเภทหลักหินซึ่งปรากฏที่เวียงจันทน์-นครพนมด้วย นอกจากนี้อาณาจักรโคตรบูรยังแผ่อิทธิพลทางการเมืองและศิลปกรรมครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของภาคอีสาน พื้นที่เกือบทั้งหมดของลาว พื้นที่รอยต่อของลาว-อีสานกับกัมพูชา ในภาคอีสานและลาวนั้นมีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักวิชาการลาวและอีสานเชื่อว่าชนชาติดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรศรีโคตรบูรและสถาปนาอาณาจักรอาจเป็นชาวลาว ข่า ขอม ภูไท โย้ย จาม และชาติพันธุ์ดั้งเดิมอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในลาวและภาคอีสานปัจจุบันนี้

จากการค้นพบใบเสมาและหลักหินโบราณหลายสิบแห่งที่กระจายอยู่ในจังหวัดนครพนม-แขวงคำม่วน และการค้นพบหลักหินและใบเสมาใต้พื้นดินจำนวนมากถึง 473 หลัก ที่กระจุกตัวอยู่บริเวณหอหลักเมืองเวียงจันทน์ ตลอดจนการค้นพบซากกำแพงหินยักษ์ซึ่งสร้างจากฝีมือมนุษย์ที่แขวงคำม่วน ได้ยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรโคตรบูรอย่างมาก

ความเป็นมา ของอาณาจักรโคตรบูรณ์ หรือ ศรีโคตรบูรณ์ ที่มาของจังหวัด #นครพนม นครพนมเป็นเมืองเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ เป็นจังหวัดที่อยู่ไกลที่สุดในภาคอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ สมัยก่อนเคยเป็นอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมากในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขง ในยุคนั้นมีอาณาจักรล้านช้าง สิบสองจุไทย เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ อยุธยาตอนต้น และอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งเป็นที่มาของจังหวัดนครพนม ในสมัยก่อนที่ประเทศไทยยังไม่ได้เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงไปในสมัย สงครามฝรั่งเศส ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ก่อนที่จะมาเป็นอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนัน ตามจดหมายกรีกกล่าวไว้ว่า อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรที่มีอำนาจแผ่ออกไปกว้างขวางจนถึงแหลมมลายูและพม่า ในพุทธศตวรรษที่ 5-11 ต่อมาเป็นดินแดนของอาณาจักรเจนละ จนถึงพุทธศตวรรษที่ 14 จนกระทั่งต่อมาขอมได้มีอำนาจในแถบลุ่มแม่น้ำโขง จนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ขอมจึงได้เริ่มเสื่อมอำนาจลง ต่อมาพระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตั้งขึ้นเป็น "ราชอาณาจักรศรีสัตตนาคนหุตล้านช้าง" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1896 เป็นต้นมา

เมื่อ อาณาจักรศรีสัตตนาคนหุตล้านช้าง มีอำนาจเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง "แคว้นศรีโคตรบูรณ์" ก็เป็นเมืองลูกหลวงเมืองหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอน ใต้ของอาณาจักรล้านช้าง ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า ผู้ครองนครแคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีนามว่า "พระยาศรีโคตรบอง" เป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าล้านช้าง พญาศรีโคตรบองเป็นผู้ที่เข้มแข็งในการออกศึกสงคราม เป็นที่โปรดปราณของกษัตริย์ล้านช้าง จึงได้ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนใต้ จึงได้ขว้างกระบองประจำตัวขึ้นไปในอากาศเพื่อเสี่ยงทายหาที่ตั้งเมืองใหม่ กระบองได้ตกลงแถบบริเวณ "เซบั้งไฟ" ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอำเภอธาตุพนม แล้วตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า " #ศรีโคตรบูรณ์ " ขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรล้านช้าง

ต่อมาเมื่อเจ้าผู้ครองเมืองศรีโคตรบูรณ์สวรรคตลง ก็ได้เกิดอาเพศ และเภทภัยต่าง ๆ มากมาย จึงได้ย้ายเมืองศรีโคตรบูรณ์ไปตั้งอยู่ริมน้ำหินบูรณ์ ตรงข้ามกับอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ต่อมาบริเวณที่ตั้งเมืองที่ริมน้ำหินบูรณ์ได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งโขงพังทลายลง ทุกวัน จึงได้ย้ายเมืองลงไปทางตอนใต้ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงบริเวณที่เป็นดงไม้รวก ซึ่งในสมัยโบราณเชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น " #มรุกขนคร " ซึ่งหมายถึง ดงไม้รวก

ปี พ.ศ. 2330 พระบรมราชา เจ้าเมืองมรุกขนครได้เห็นว่าการที่เมืองมรุกขนครตั้งอยู่ที่บ้านธาตุน้อยศรี บุญเรือง ริมห้วยบังฮวกมาเป็นเวลาถึง 20 ปี แล้ว นั้น ถูกน้ำเซาะตลิ่งโขงพังและบ้านเรือนราษฎรเสียหาย จึงได้ย้ายเมืองขึ้นไปตั้งทางเหนือตามลำแม่น้ำโขงที่ บ้านหนองจันทร์ ห่างจากจังหวัดนครพนมไปทางใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร

ปี พ.ศ. 2337 ได้เกิดศึกพม่าทางเมืองเชียงใหม่ พระบรมราชาเจ้าผู้ครองเมืองมรุกขนครได้ไปออกศึกในครั้งนี้ด้วย ได้บริโภคผักหวานเบื่อจนถึงแก่อนิจกรรมที่เมืองเถิน ท้าวสุดตา ซึ่งเป็นพี่ชายของพระมเหสีของพระบรมราชา จึงได้นำเครื่องราชบรรณาการลงไปเฝ้า รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุดตาเป็นผู้ครองเมืองมรุกขนคร และเปลี่ยนชื่อเมือง จาก "มรุกขนคร" เป็นเมือง "นครพนม" ขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานไว้ 2 ประการ คือ คำว่า "นคร" หมายถึง เมืองที่เคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ส่วนคำว่า "พนม" ก็มาจาก พระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บางตำราก็ว่า เดิมสมัยประเทศไทยยังไม่เสียดินแดนฝั่ง
#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке