จุดดำมืดสุดของดวงอาทิตย์แบบละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา

Описание к видео จุดดำมืดสุดของดวงอาทิตย์แบบละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา

จุดมืดสุดของดวงอาทิตย์แบบละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา

เผยภาพขยายผิวหน้าดวงอาทิตย์แบบละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา

เผยภาพขยายผิวหน้าดวงอาทิตย์แบบละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ภาพถ่ายความละเอียดสูงภาพใหม่ขยายจุดมืดบนดวงอาทิตย์

สถาบันไลบ์นิซเพื่อการศึกษาฟิสิกส์สุริยะ (KIS) ที่ประเทศเยอรมนี เผยภาพถ่ายความละเอียดสูงสุดเท่าที่เคยมีมาของพื้นผิวดวงอาทิตย์ ตรงบริเวณที่สนามแม่เหล็กมีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ ซึ่งปกติจะสังเกตเห็นเป็นจุดดำขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าจุดมืด (sunspot) นั่นเอง

ภาพที่บันทึกได้แสดงให้เห็นรายละเอียดของจุดมืดบนดวงอาทิตย์จุดหนึ่ง เมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยภาพขยายจุดมืดนี้ครอบคลุมพื้นที่กว้าง 50 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเพียงเสี้ยวเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ที่มีความยาวถึง 1.4 ล้านกิโลเมตร

เผยภาพขยายผิวหน้าดวงอาทิตย์แบบละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ดวงอาทิตย์ "อ่อนแรง" ผิดปกติ เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ที่คล้ายกัน
ภาพไทม์แลปส์ 10 ปีของดวงอาทิตย์กับ 10 การค้นพบที่น่าสนใจ
ทีมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของ KIS สามารถบันทึกภาพดังกล่าวได้ หลังมีการวิจัยครั้งใหญ่เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์เกรกอร์ (GREGOR) ซึ่งอยู่ในประเทศสเปน โดยรายละเอียดของการวิจัยครั้งนี้ได้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Astronomy & Astrophysics ฉบับล่าสุด

ภาพขยายของจุดมืดซึ่งมีรูปร่างแปลกประหลาด แสดงให้เห็นพื้นผิวดวงอาทิตย์บริเวณที่สนามแม่เหล็กมีพลังแข็งแกร่งขึ้นเป็นพิเศษในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งพลังแม่เหล็กนี้จะปิดกั้นไม่ให้ความร้อนมหาศาลจากด้านในถ่ายเทออกมา ทำให้เรามองเห็นเป็นจุดมืดที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นผิวโดยรอบ

ภาพขยายโครงสร้างทางแม่เหล็กของพื้นผิวดวงอาทิตย์ ซึ่งบันทึกได้ที่ความยาวคลื่น 516 นาโนเมตรที่มาของภาพ,KIS
คำบรรยายภาพ,
ภาพขยายโครงสร้างทางแม่เหล็กของพื้นผิวดวงอาทิตย์ ซึ่งบันทึกได้ที่ความยาวคลื่น 516 นาโนเมตร

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาจุดมืดบนดวงอาทิตย์เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นบริเวณที่เส้นสนามแม่เหล็กมักจะฉีกขาด พันกันยุ่งเหยิง หรือเชื่อมต่อเข้าหากันใหม่ ส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้ง เช่นการเกิดโซลาร์แฟลร์ (solar flare) และการปลดปล่อยมวลโคโรนา (coronal mass injection) ที่อาจสร้างความเสียหายต่อระบบไฟฟ้าและโทรคมนาคมบนโลก

เมื่อช่วงต้นปีนี้ กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ แดเนียล เค. อิโนะอุเอะ (DKIST) ของสหรัฐฯ ก็สามารถบันทึกภาพขยายผิวหน้าของดวงอาทิตย์ซึ่งมีความละเอียดคมชัดที่สุดได้สำเร็จมาแล้ว โดยภาพที่ปรากฏเป็นกระแสพลาสมาร้อนที่ไหลวนปั่นป่วนอยู่ ซึ่งจะเห็นเป็นเม็ดเล็ก ๆ จำนวนมากคล้ายกลุ่มเซลล์ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตหรือผิวของข้าวโพดคั่ว

Комментарии

Информация по комментариям в разработке