วงจรขยายเสียง EP4(พาไปดูหน้าที่ของ IC 741 ที่ใช้ในวงจรจริง TonePre)

Описание к видео วงจรขยายเสียง EP4(พาไปดูหน้าที่ของ IC 741 ที่ใช้ในวงจรจริง TonePre)

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง Zimzim diy
คลิปนี้จะเป็น EP ที่ 4 แล้วนะครับ ผมจะมาอธิบาย ว่าไอซี 741 เนี้ยนำไปใช้กับวงจรอะไรบ้าง
สำหรับ playlist วงจรขยายเสียง พื้นฐาน ผมคิดว่าเนื้อหา ในโหมดนี้ ค่อนข้างกว้างขวางมากๆ และก็วงจรขยายเสียงก็มีหลากหลายระบบ
เพราะฉะนั้นผมจะค่อยๆทำคลิป อธิบาย ภาควงจรขยายต่างๆ จากหลายๆบอร์ด นำมาเป็นตัวอย่าง อย่างน้อยๆ ก็ให้เพื่อนๆ เอาไว้นั่งศึกษาดูเพลินๆยามว่าง หรือว่า เปิด กล่อมนอนตอนง่วง ก็ยังดีครับ
สำหรับ IC741 ที่เห็นในวงจร ขยาย
ส่วนใหญ่ ทั้งหมดเลย นักพัฒนามักจะนำ IC ตัวนี้มาทำเป็นภาค รับสัญญาณ input ของเสียง
ซึ่งจะอยู่ติดกับบอร์ด Driver สีเขียวๆตรงนะครับ แล้วส่งต่อให้ ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ขับต่อขยายต่อ อย่างในรูปนี้ จะมีทรานซิสเตอร์อยู่ 4 คู่ ขนานกัน ฝั่งละสอง ซึ่งการขนานก็จะทำให้ทรานซิสเตอร์ความร้อนน้อยลง
มาดูวงจรบอร์ดไดร์ ที่มักจะใช้ IC 741 ตัวนี้เป็นตัวขับกันดูครับ
หลายๆบอร์ด ลักษณะการต่อก็ คล้ายคลึงกันมากครับ อยู่ที่การจัด ลายปริ้นท์ และก็อุปกรณ์บางตัว ที่เป็นแบบเฉพาะ ของแต่ละค่ายมากกว่า
อย่างในบอร์ดไดร์ตัวนี้ ก็จะแบ่งเป็น 3 ภาคนะครับ อยากรู้ว่ามี ภาคอะไรบ้างใช่ไหมครับ
นั้นก็คือ ภาค เหนือ กลาง แล้วก็ ภาค ใต้ ภาคเหนือก็จะหนาวหน่อยครับ ช่วงนี้ อ่อไม่ใช่นะครับ ผมล้อเล่น นั้นมันคนละภาค
3 ภาคที่ว่าก็คือ
ภาคที่1 ภาค input โดยมีไอซี 741 เป้นตัวขับ
ซึ่ง ตัวจริงๆ ของมันแล้ว เล็กแค่นี้เองครับ
ภาคที่ 2 นะครับ ภาค Dri รับสัญญาณจาก IC นำไปขยายต่อ มักจะใช้ ทรานซิสเตอร์ หรือ ว่า มอสเฟต ก็ได้
ทรานซิสเตอร์ตรงส่วนนี้ จะขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้น ยิ่งอัตราการขยายหรือ เกณฑ์การขยายสูงมากเท่าไหร่ ความร้อนที่ตกค่อม ก็มากขึ้นเท่านั้น ตรงส่วนี้ก็เลยมี ฮีสซิ่งช่วยระบาย ความร้อนด้วย
ภาคสุดท้าย ภาคที่ 3 ภาคขยายกำลังสูง มักจะใช้เป็น ทรานซิสเตอร์ หรือมอสเฟส ขับก็ได้ครับ แต่ส่วนใหญ่จะเห็นเป็น ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่
ขับเป็นคู่ นั้นก็คือชนิด NPN และก็ชนิด PNP
เบอร์ที่ได้รับความนิยมก็คือ IC คู่เมทเบอร์ 2sa1943 แล้วก็ 2sc5200
ที่เราเห็นในแอมป์เครื่องเสียงกลางแจ้ง ที่ใช้กำลังวัตต์สูงๆ ก็จะใช้การขนาน ทรานซิสเตอร์พวกนี้แหละครับ เป็น 20-30 คู่ เพื่อให้ทนต่อกำลังขับที่สูง
IC 741 ข้างในจะมี ออปแอมป์ อยู่1ชุด
เป็น ซิงเกิลไอซี หรือเรียกว่าเป็น IC ขยายแบบเดี่ยว เหมือนร้องเดี่ยวเขาก็เรียกว่า ซิงเกิล ถ้าหากเพื่อนๆจะใช้ขยาย ซ้ายขวา ก็ต้องใช้ภาค Driver ที่มี IC 741 แบบนี้ 2 ตัว
เพื่อทำเป็นระบบ สเตอริโอ หรือ ถ้าเป็นนักร้องก็เรียกว่า คู่หูดูโอ้ นั่นเอง หน้าที่หลักๆของมันก็ประมาณนี้ครับ
เพื่อนๆจะไม่เห็นเขานำ IC 741 มาขยายโดยตรงผ่านลำโพงนะครับ เพราะว่ามันมีกำลังขับได้น้อย ผมเคยใช้ลำโพงตัวเล็กๆมาต่อ เสียงที่ออกมาเบามากครับ เร่งเกณฑ์ขยาย มากเสียงก็แตกพล่าเลยครับ
ถ้าเป็นประเภท IC Hipower ที่มีออปแอมป์ชุดเดียว ก็พวก LM 386 ถ้าเป็น ออปแอมป์ 2 ชุด แล้วนำมาบริ์จกัน ให้สัญญาณมันแรงขึ้นอีกเท่าตัว
ที่ผมเห็นก็มีอยู่ในวิทยุธานินท์ก็ เช่นเบอร์ Ka2209 หรือว่า เบอร์ TDA 2822 ก็ขับได้ ยังไงเพื่อนๆก็ลองไปศึกาาดูก่อนละกันนะครับ
เดี๋ยวเราลองมาไล่สัญญาณเสียงที่เข้าไป ในบอร์ดไดร์นี้ดูครับว่ามันผ่าน IC741 แล้วไปไหนบ้าง
เริ่มต้นก็คือ รับสัญญาณเสียงมาจากต้นทางนะครับ ผ่าน คาปาคัปปลิ้งสัญญาณ ผ่านตัวต้านทาน ตัวต้านทานตัวนี้ ก็จะดรอปเสียงลงมานิดหนึ่ง นะครับ และก็ลดการสวิงของเสียง และก็
เข้า IC 741 ควบคุมอัตราเกรณฑ์ขยาย ด้วย ตัวต้านทาน 2 ตัวนี้ แล้วก็วิ่งผ่าน R ทำหน้าที่คล้ายตัวเมื่อกี้นะครับ
ไปที่ไดโอด ไดโอดก็จับแยก คลื่นที่เข้ามา + ขึ้นข้างบน - ลงข้างล่าง ผ่าน R ค่าต่ำแต่วัตต์สูง ส่งไปให้ลำโพงขับ ต่อไป

สำหรับไอซี 741 สรุปว่ามันเป็นไอซี ที่ใช้กันมาอย่างยาวนานแล้วละครับ มีออปแอมป์ 1ชุด ออกแบบมานานกว่า40 ปีแล้ว
ลักษณะรูปคลื่นของเสียงถ้าวัดที่สโคป ก็มีผิดเพี้ยนให้เห็นบ้างตามยุคตามสมัย ถ้าเปรียบเป็นคน 40 ปี ก็เกือบวัยกลางคนแล้วละครับ
ในวงจรขยายเสียงคลาส AB รุ่นเก่าหลายๆค่าย มักจะเลือกใช้งานเป็นประจำ ทุกวันนี้แอมป์หลายๆ ตัวก็ยังเห็นใช้กันอยู่เลยครับ
ซึ่งถือว่าเป็นออปแอมป์ในตำนานฆ่าไม่ตาย จริงเลยครับ ผมก็อยากแนะนำให้เพื่อนๆ ซือชุดคิทบอร์ดไดร์ 741 มาประกอบลองเล่นดู นะครับ
จะได้เข้าใจวงจรมากขึ้น


ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке