วัดวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

Описание к видео วัดวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

📍วัดวังน้ำเย็น
ตั้งอยู่เลขที่ 74 บ้านวังน้ำเย็น หมู่ที่ 1 ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อ พ.ศ.2520
วัดวังน้ำเย็น ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2473 เดิมมีชื่อว่า “วัดยางมะไฟ” ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอโพธิ์ทอง ต่อมาทางราชการได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง วัดจึงได้กลายมาตั้งอยู่ในอำเภอแสวงหา วัดแห่งนี้สร้างขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน โดยมี นายเปลี่ยน มีสุข เป็นแกนนำร่วมกับ นางพลอย สร้อยระย้า นายชื่น ชุ่มช่วย นายนุ่ม แก้วมณี และนางเล็ก ทรงสกุล ต่อมาได้มีนายสอน ถนอมทรัพย์ เข้ามาร่วมบูรณะพัฒนาวัด และดำเนินการขอเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น “วัดวังน้ำเย็น ในราว พ.ศ. 2480

พร้อมกับเรียกชื่อบ้านว่า บ้านวังน้ำเย็น ซึ่งมีปลามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จังหวัดอ่างทอง จึงประกาศให้หน้าวัดวังน้ำเย็นเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธ์ุปลาน้ำจืด ประจำอำเภอแสวงหา

วัดวังน้ำเย็น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 และที่วัดนี้มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการตั้งอยู่ด้วย การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.2598 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.2543 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.2541 นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ เปิดเมื่อ พ.ศ.2551
.........................................................................
"ประวัติหลวงพ่อเกรียง"
หลวงพ่อเกรียง ท่านมีชื่อภาษาไทยว่า กนก มีชื่อภาษาจีนเดิมว่า ยกเกียง แซ่ด่าน เกิดวันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ณ บ้านวัดป่า ต.บ้านพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ท่านเป็นบุตรของ คุณพ่อเหม็งทรง แซ่ด่าน(มีเชื้อสายจีนไหหลำ)และคุณแม่นกเล็ก ท่านมีพี่น้อง 7 คน คือ
1.นายยกยี แซ่ด่าน(ต่างบิดา)
2.นายยกเต็ง แซ่ด่าน
3.นายยกซิม แซ่ด่าน
4.นางต๊ก แซ่ด่าน(ช่างประดิษฐ์)
5.นายยกเกียง แซ่ด่าน(พระครูอินทพัฒนกิจ เกรียง อินทวุฑฺโฒ)
6.นายยกหั่น แซ่ด่าน (เสียชีวิตขณะยังเด็ก)
7.นายยกห่ง(วิเชียร) แซ่ด่าน
ในวัยเด็กนั้นคุณย่าละมุดและย่าหนูได้นำท่านมาอุปการะเลี้ยงดูอยู่ที่บ้านชีปะขาวเนื่องจากทางบ้านของท่านมีฐานะยากจนจึงทำให้ท่านคุ้นเคยกับผู้คนในย่านวัดชีปะขาวเป็นอย่างดี ท่านทราบถึงความสามารถทางการแพทย์แผนโบราณและวิชาอาคมของหลวงพ่อซวง อภโย ในขณะนั้น ท่านได้เข้ารับประจำการเป็นทหารอยู่ 2 ปีหลังจากปลดประจำการทหารแล้วได้มารับจ้างเลื่อยไม้อยู่ที่ตลาดวิเศษชัยชาญจนกระทั่งอายุได้ 24 ปีพ.ศ.2493 ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีพระวิสุทธาจารย์(ทอง)อดีตเจ้าคณะอำเภอโพธิ์ทอง วัดบุญศิริ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปัญญาสารคณี(บัว ปัญญาสาโร) วัดแสวงหา อ.แสวงหา จ.อ่างทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิจารณโสภณ(นาม มณิโชโต) วัดเกาะโพธิ์ทอง อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมาวัดบ้านพราน ต.ศรีพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ได้รับฉายาว่า อินทวุฑฺโฒ เมื่อบวชแล้วท่านจำพรรษาอยู่วัดบ้านพรานสักระยะหนึ่งก่อนที่จะย้ายไปจำพรรษาที่วัดชีปะขาว 1 ปี จนกระทั่งปีพ.ศ.2495 วัดวังน้ำเย็นขาดพระจำพรรษาและผู้ดูแลพัฒนาวัด ทางกรรมการวัดตลอดจนชาวบ้านวังน้ำเย็นนำโดยโยมดวน จึงนิมนต์ท่านให้มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังน้ำเย็น ในด้านวิทยาคมท่านเป็นศิษย์เอกสืบทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว โดยหลวงพ่อซวงท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ที่มีให้หลวงพ่อเกรียงทั้งหมดโดยไม่ได้ปิดบัง (วัตถุมงคลของหลวงพ่อเกรียงส่วนใหญ่จึงสร้างดำเดินรอยตามหลวงพ่อ
ซวงเกือบทั้งหมด) นอกจากศึกษาวิชาจาก
หลวงพ่อซวงแล้วหลวงพ่อเกรียงท่านยังได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อบัว วัดแสวงหาและหลวงพ่อชวน วัดยางมณีอีกด้วย
ในด้านตำแหน่งหน้าที่ทางพระศาสนา พระเดชพระคุณท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังน้ำเย็น อ.แสวงหา จ.อ่างทองตั้งแต่ปี พ.ศ.2495
ภายในปี พ.ศ.2497 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านพราน
ภายในปี พ.ศ.2515 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ท่านก็ได้รับตั้งเป็นพระครูอินทพัฒนกิจ
ภายในปี พ.ศ.2524 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระธรรมฑูต
วันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2525 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อเกรียงมรณภาพในช่วงเช้าของวันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ.2545 ที่โรงพยาบาลอ่างทอง สิริอายุรวม 76 ปี 52 พรรษา

Комментарии

Информация по комментариям в разработке