อลังการงานสร้าง โครงการคลองยักษ์ 21,000 สร้างเจ้าพระยา 2 โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร

Описание к видео อลังการงานสร้าง โครงการคลองยักษ์ 21,000 สร้างเจ้าพระยา 2 โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร

โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร ในพื้นที่ของจังหวัดอยุธยา

โดยโครงการนี้เกิดขึ้น เพราแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เมืองเก่าอย่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมักจะเกิดปัญหาน้ำท่วมแทบทุกทุกทุกปี

เพราะด้วยสภาพพื้นที่เป็นที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนทั้งหมด และโดยภูมิประเทศที่มีจุดแคบสุดของแม่น้ำทำให้น้ำที่ไหลลงมาไม่สามารถระบายลงไปยังทะเลอ่าวไทยได้ทัน

ซึ่งเมื่อปี 2562 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้อนุมัติโครงการก่อสร้างดังกล่าว ด้วยวงเงินงบประมาณ 21000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จใน ปี 2566 แต่ติดสถานการณ์โควิด จึงต้องขยายระยะเวลาก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568


โดยโครงการขุดคลองขนาดยักษ์นี้ มีความกว้างของเขตคลอง มากถึง 200 เมตรเลย และมีความยาวกว่า 22.50 กิโลเมตร ส่วนในเขตชุมชนก็จะกว้าง 110 เมตร พร้อมงานสร้างถนนบนคันคลองกว้าง 8 เมตร ทั้ง 2 ฝั่ง และการก่อสร้างประตูระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร จำนวน 1 โดยใช้งบประมาณ กว่า 21,000 ล้านบาท

โดยเมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยาถึงปากแม่น้ำ บริเวณนี้เป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด เพราะนอกจากจะสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศแล้ว ยังช่วยย่นระยะทางการระบายน้ำได้ถึง 13 กิโลเมตร และจะกระทบต่อชุมชนและโบราณสถานน้อยที่สุด

ศักยภาพของคลองนี้สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อรวมกับขีดความสามารถของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม จะสามารถระบายน้ำได้สูงสุดประมาณ 2,930 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

ส่วนในช่วงฤดูแล้งยังสามารถเก็บกักน้ำได้ถึง 15 ล้านลูกบาศก์เมตร เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตรและเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคแก่คนในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางบาล บางไทร บางปะอิน ผักไห่ และเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง รวมพื้นที่กว่า 229,138 ไร่

อีกทั้งยังมีถนนตัดใหม่บนคันคลองทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งจะเป็นเป็นเส้นทางใหม่ของชาวบ้านได้ใช้สัญจรไปมาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการคมนาคม และจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อยใจของชาวอยุธยาได้อีกด้วย

Комментарии

Информация по комментариям в разработке