เรื่องของมอเตอร์สวิง(Motor-Swing) ..แอร์บ้าน

Описание к видео เรื่องของมอเตอร์สวิง(Motor-Swing) ..แอร์บ้าน

... มอเตอร์สวิง(Motor-Swing) เป็นมอเตอร์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในเรื่องของสเตปปิ้ง หรือสเตปเปอร์-มอเตอร์(Stepper… Stepping-Motor) เป็นมอเตอร์ที่ใช้การหมุนไม่เหมือนกับมอเตอร์ทั่วไป
... ที่รู้จักกันและที่พบเห็นโดยทั่วไปในงานของเราก็คือถ้าเป็นลักษณะ ...
- ใช้ในงานของแอร์บ้านเราทั้งแบบธรรมดาและแบบอินเวอร์เตอร์ ในรูปแบบของมอเตอร์บานสวิง ในส่วนของคอยล์เย็น หรือตัวใน
- ใช้ในส่วนของคอยล์ร้อน ของแอร์แบบอินเวอร์เตอร์นั่นก็คือเจ้าตัว EEV-Valve หรือเราคุ้นหูกันในนามว่าสเตป-วาวล์ (หัวกำหนดการฉีดน้ำยาให้กับอีแวปฯในคอยล์เย็น)
- ใช้ในตู้เย็นขนาดใหญ่ 2 ประตูขึ้นไปในส่วนของปิด/เปิดลมลงสู่ช่องแช่ธรรมดาหรือช่องชีล ในรูปแบบของ “ แด้มเปอร์ “ ที่ใช้ไฟฟ้า
ส่วนประกอบของสเตปเปอร์หรือสเตปปิ้ง-มอเตอร์ แน่นอนว่าจะต้องประกอบด้วย ...
... สเตเตอร์ (Stator) ส่วนที่อยู่กับที่ ที่มีลักษณะของแกนที่ยื่นอกมาเล็กน้อยมีขดลวดพันอยู่โดยรอบๆ
แกน จะมีกี่แกนก็ขึ้นอยู่กับขดลวดว่ามีกี่ชุดหรือกี่ขด และในงานของแอร์บ้าน,ตู้เย็น
จะมีขดลวดตั้งแต่ 2 ชุด 4 ชุด และ 6 ชุด ในความเป็นจริงอาจจะมีมากกว่านั้นแล้วแต่การ
ออกแบบในการใช้งาน
**** สำหรับในงานงานเราที่พูดถึงคือ มอเตอร์-สวิงจะมีทั้งหมด 4 แกน 4 ขดลวด ****
... โรเตอร์ (Rotor) ส่วนที่หมุนได้สำหรับมอเตอร์แบบนี้ตัวโรเตอร์มักจะออกแบบมาเป็นฟันเฟืองซึ่งก็
ขึ้นอยู่กับว่ามีขดลวดกี่ชุดนั่นเอง เพราะการใช้งานในสเกลใหญ่ๆ จะต้องมีความแม่นยำซึ่งมีหน่วย
เป็นองศา ในการเคลื่อนที่ของแกน แต่ในงานเราจะไม่ขอลงลึกถึงรายละเอียด
การทำงาน ...สำหรับในงานแอร์บ้าน,ตู้เย็น ของเราเจ้าตัวมอเตอร์นี้จะต้องการไฟเลี้ยงขดลวดซึ่งมีตั้งแต่ 3.3Vdc 5Vdc หรือ 12Vdc ในแอร์บ้านจะพบว่าเป็นแบบใช้ไฟ 12Vdc เป็นส่วนใหญ่ มอเตอร์จะหมุนได้อย่างไร อธิบายได้ดังนี้
- ป้อนไฟที่ขดลวด (จะกี่โวลท์ก็แล้วแต่การออกแบบ ตัวอย่างจะเป็นไฟ 12Vdc) ในที่นี้มีขดลวดอยู่ 4 ขด
ที่มีจุดต่อร่วมรับไฟ หรือที่เราเรียกว่าคอมม่อน (หรือ Common) รายละเอียดดูในคลิปวีดีโอ
ไฟที่ป้อน 12Vdc จะไปรอครบวงจรที่กราวด์หรือที่ขั้วลบ จะขดไหนก่อน/หลัง จะถูกควบคุมโดยหน่วย
ประมวลผลหรือ MCU และลักษณะไฟที่ป้อนจะมีลักษณะเป็นพัลส์ (Pulse)
คำถามก็คือ ทำไมไฟต้องเป็นสัญญาณพัลส์...
คำตอบก็คือ มอเตอร์ตัวนี้เป็นขดลวดและใช้ไฟ Vdc การที่จะทำให้ขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กได้นั้น ต้องจ่ายไฟและหยุดจ่ายเป็นจังหวะที่เหมาะสม หรือทำให้ไฟ Vdc นั้นมีคุณสมบัติเหมือนหรือคล้ายกับไฟ Vac นั่นคือไฟ Vac นั้นมีการสลับขั้วไปมา ทำให้ขดลวดเกิดการยุบตัวและพองตัวได้ตลอดเวลาเช่นกัน เพราะฉะนั้น ...เราจะต้องนำไฟ Vdc มาทำเป็นสัญญาณพัลส์ส่งให้ขดลวดแทน และหลักการนี้ก็เป็นหลักการของภาคจ่ายไฟแบบสวิทช์ชิ่งด้วย
การตรวจเช็คตัวมอเตอร์-สวิงด้วยมัลติมิเตอร์
.... เนื่องจากตัวมอเตอร์-สวิงประกอบด้วยขดลวด 4 ขดและมีจุดร่วมหรือ Commonเราจึงสามารถวัด
ค่าความต้านทานของขดลวดแต่ละขดได้ โดยตั้งมิเตอร์ที่ย่านวัด Rx10 ถ้าเป็นมิเตอรืแบบตัวเลขก็ตั้ง
ค่าย่านวัดทีความต้านทาน
- ไม่กำหนดขั้วสายของมิเตอร์ ปลายสายวัดข้างหนึ่งจิ้มที่จุดร่วม หรือ Common อีกปลายสายไล่
จิ้มวัดทีละจุด ซึ่งเป็นปลายสายของขดลวดแต่ละขด
- ปกติค่าความต้านทานของขดลวด ถ้าเป็นมอเตอร์..สวิงของแอร์บ้าน มักจะมีค่าความต้านทาน
ระหว่าง 200-350 โอห์ม และจะเท่ากันในทุกๆขด
- และถ้าเราวัดระหว่างขดต่อขด หมายถึงไม่ได้วัดจากจุดร่วมหรือ Common ความต้านทานก็จะได้
เป็นเท่าตัว
.... เช่นถ้าเราวัดจากจุดร่วมไปปลายสายขดใดขดหนึ่ง จะได้ค่าความต้านทาน 200 โอห์ม
.... แต่ถ้าเราไม่วัดที่จุดร่วม แต่ไปวัดปลายสาย กับปลายสายอีกขดหนึ่งเราก็จะได้เป็น 400
โอห์ม ดูคลิปวีดีโอประกอบถ้ายังไม่เข้าใจ หรือโทรถามที่ 084-6663328
หมายเหตุ สำหรับการวัดไฟเพื่อวิเคราะห์อาการ จะนำเสนอในอีกคลิปแยกออกต่างหาก และก่อนที่จะไปวัดไฟ หรือพิสูจน์ว่าตัวมอเตอร์-สวิงนั้นเสีย ให้ตรวจเช็คแกนต่อบานสวิง-ที่ตัวใบสวิงเสียก่อน รวมไปถึงแกนชักหรือก้านชักใบว่าแตกหรือชำรุดหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นเหต่ที่ทำให้แกนหมุนของตัวมอเตอร์-สวิง ไม่ล็อกกับแกนของใบสวิง อย่าลืมตรวจสอบตรงนี้ก่อนด้วย
ก็หวังว่าคลิปวีดีโอนี้คงจะเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยในคำอธิบายสามารถโทรสอบถาม ได้ที่เบอร์ 084-6663328 ได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้รับสายก็พักซักครู่แล้วลองโทรใหม่ อาจจะขับรถ หรืออยู่หน้างาน อาจจะไม่สะดวกรับสายในขณะนั้น
“ ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน “
“ ขอให้ประสบความสำเร็จในงานที่ทำ “
.... กราบขอบพระคุณสำหรับการรับชมและติดตาม สามารถสนับสนุนช่องยูทูปของเราได้ที่ ธ.กสิกรไทย สาขาบางพลัด เลขที่บ/ช 089-8-70371-1 นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์
ออกอากาศเมื่อวันพฤหัสที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2565 เวลา 17.00 น.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке