จีนสุดล้ำ! ขึ้นนำรถไฟความเร็วสูงโลก

Описание к видео จีนสุดล้ำ! ขึ้นนำรถไฟความเร็วสูงโลก

สนับสนุนเด็ดต้องโดนง่ายๆ
Subscribe/ Like/ Comment
สมาชิกเด็ดต้องโดน:    / @dedtongdon  

แค่ทศวรรษเดียว จีนสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างไร ?

Time Stamp
0:00 จีนสุดล้ำ! ขึ้นนำรถไฟความเร็วสูงโลก
0:11 รถไฟความเร็วสูง ?
0:48 จุดเริ่ม
1:11 ไทย
2:17 จีน
3:12 ทำไมต้องใหญ่ที่สุด ?
6:01 สร้างเร็วที่สุด ?

รถไฟความเร็วสูงคือรถไฟที่วิ่งได้เร็วกว่า 200 km/h ต้องใช้เทคโลยีและงบประมาณในการลงทุนสูง ทำให้ค่าโดยสารมีราคาแพง
แต่จีนได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ สร้างรถไฟความเร็วสูงได้ยาวที่สุดได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว และยังทำค่าตั๋วให้ถูกที่สุด ถูกกว่าประเทศอื่นถึง 4 เท่า เพื่อให้คนทั่วไปใช้ได้

ปี 1960 ญี่ปุ่น เริ่มมีชินคันเซ็น มาก่อนเพื่อน ถึง 60 ปีแล้ว
ค่าตั๋วจาก โตเกียว ไป เกียวโต ระยะทาง 500 กิโลเมตร ราคา 4,500 บาท
ปี 1981 ฟรั่งเศษ เริ่มมี TGV มา ถึง 40 ปี
ค่าตั๋วจาก ปารีส ไป ลอนดอน ระยะทาง 500 กิโลเมตร ราคา 5,500 บาท
ปี 1992 ไทย เราวางแผนสร้างรถไฟความเร็วสูงมา เกือบ 30 ปีแล้ว
ตอนนี้กำลังสร้างอยู่ เช่น สายกรุงเทพ เชียงใหม่ ระยะทาง 670 km และสายกรุงเทพ หนองคาย 600 km. จะเปิดให้บริการได้ใน ปี 2025
ปี 2008 จีนเปิดให้บริการเส้นทางแรกจาก Beijing ไป Tianjin ช่วยย่นเวลาเดินทางลงเกินครึ่งจาก 70 นาทีเหลือ 30 นาที
และขายเส้นทางไปยังเมืองต่างๆ เช่น เซี่งไฮ้ หวู่ฮั่น เฉิงตู และเมื่องอื่นๆ แล้วยังสร้างสถิติโลกอีกมากมาย เช่น
มีเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ยาวที่สุดในโลก จาก ปักกิ่ง ถึง กวางโจว
มีเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เร็วที่สุดในโลกจาก ปักกิ่ง ถึง เซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 1,300 km
และรถไฟ Maglev หรือรถไฟระบบพื้นผิวแม่เหล็ก ที่เปิดให้บริการเป็นรายแรกของโลก วิ่งได้เร็วถึง 439 km/h
ปัจจุบันจีนสามารถพัฒนากลายเป็นผู้นำด้านการพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูงของโลกไปแล้ว

ตั้งแต่ปี 2008 ถึงปัจจุบัน 2021 จีนใช้เวลาเพียงแค่ 12 ปี สร้างเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่วิ่งได้เร็ว 300 km/hr เป็นโครงข่าย ครอบคลุมประเทศจีนได้ยาวรวมกันถึง 38,000 Km.
ถ้าเอามาต่อกันแล้วยาวเกือบวิ่งรอบโลก ซึ่งยาว 40,000 Km. ได้เลยครับ
รถไฟฟ้าความเร็วสูงจีนเป็ฯอันดับหนึ่งของโลก ยาวกว่าเส้นทางของประเทศอื่นทั่วโลกเอามารวมกัน
และจีนตั้งเป้าว่า ปี 2035 จะขยายเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง ให้มีระยะทางรวมได้ 70,000 กิโลเมตร

จีนสร้างรถไฟความเร็วสูงขนาดมหึมานี้ทำไม?
1 กระตุ้นเศรษกิจ
การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงมีข้อดีมากมาย
ช่วยให้คนจีนซึ่งมีรายได้น้อย และไม่พออาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่อะไรก็แพงอย่าง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ หรือกวางเจา สามารถอาศัยในพื้นที่นอกเมืองที่ถูกกว่า แล้วใช้รถไฟความเร็วสูงเข้ามาทำงานในเมืองแทน
การท่องเที่ยวในเมืองรองและเมืองเล็ก ก็โตเพิ่มกว่า 20%

2. พลิกวิกฤติเป็นโอกาศ
ในปี 2008 เป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจการเงินของโลก ซึ่งประเทศต่างๆลดปริมาณการลงทุน แต่จีนเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาศด้วยการเพิ่มงบการลงทุนอย่างมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐานอย่างรถไฟความเร็วสูง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างงานต่างๆ

3 สร้างความกลมกลืนในชาติ
จีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก คนเยอะ หลายเชื้อชาติ การสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วยให้คนเดินทางไปทำมาหากินหรือไปมาหาสู่กันง่ายขึ้น ช่วยเชื่อมโยงคนจีนทั้งประเทศเข้าด้วยกัน เป็นยุทธศาสตร์รวมจีนเป็นแผ่นเดียวกัน เช่น
ปี 2018 จีนเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสาย ปักกิ่ง -ฮ่องกง ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน ระยะทางไกลถึง 2,000 km โดยใช้เวลาเดินทางเพียง 9 ชม.
จีนยอมลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงไปยัง พื้นที่ห่างไกลซึ่งคนไม่เยอะ เช่น สายหลานโจว - อุรุมชี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมลฑลซินเจียง ระยะทาง 1,600 km จีนก็ยอมทุ่มทุนช่วยย่นระยะความห่างใกลลง

จีนสร้างรถไฟความเร็วสูงด้วยเวลาสั้นกว่าคนอื่นได้อย่างไร?
1 ความต้องการขนาดมหาศาล
การลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง เหมาะสำหรับประเทศที่มีเมืองใหญ่คนอยู่เยอะ
จีน มีพื้นที่กว้างมหึมา ใหญ่กว่าไทย 20 เท่า คนเยอะกว่าไทย 20 เท่า ยังถือเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่มีรายได้ปานกลางเฉลี่ยคนละ 350,00 บาทต่อปีจริงๆ สูงกว่าไทยประมาณ 40% ไทย 240,000 บาท
จีนมีคนอยู่หนาแน่นตอนกลางของประเทศ มีหลายเมืองใหญ่ ที่อยู่ไม่ไกลกันมาก เหมาะที่จะเดินทางด้วยรถไฟมากกว่าเครื่องบิน ทั้งสะดวกกว่า ตรงเวลากว่า และไม่ต้องไปสนามบินที่อยู่ใกลนอกเมือง แถมรถไฟจีนถูกกว่าเครื่องบินเยอะ
ความต้องการปริมาณมากขนาดนี้ทำให้จีนให้ความสำคัญกล้าทุ่มทุนไปกับการพัฒนาเทคโนยีรถไฟความเร็วสูง และวางแผนสร้างเส้นทางให้เป็นโครงข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ในครั้งเดียว

2 คิดแล้วทำทีเดียว เพื่อให้เร็วกว่าและถูกกว่า
เมื่อจีนกำหนดให้การสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ แล้ววางแผนสร้างเส้นทางให้เป็นโครงข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ในครั้งเดียว ทำให้มีอำนาจมหาศาลในการต่อรองทั้งซื้อสิ่งต่างๆได้ถูกลงและสร้างสิ่งต่างๆได้เร็วขึ้น
ในยุโรป เส้นทางรถไฟความเร็วสูงมีต้นทุนกิโลเมตรละ 800 ล้านบาท
ไทยเราใช้ต้นทุนกิโลเมตรละ 700 ล้านบาท
จีนใช้ต้นทุนกิโลเมตรละ 500 ล้านบาท ต่ำกว่ายุโรปและไทยเกือบครึ่ง

3 มีมาตรฐานเดียวใช้ทั่วประเทศ
จีนมีชื่อเสียงในเรื่องวิวัฒนาการในการก่อสร้างอยู่แล้ว เช่น การสร้างสะพาน การขุดอุโมง ที่สามรถทำได้อย่างรวดเร็ว
จีนยังสร้างมาตรฐานการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงให้เหมือนกันทั่วประเทศ ตั้งแต่ออกแบบ กระบวนการทำงาน ส่วนประกอบ ไปจนถึงการก่อสร้าง ที่ผู้รับเหมาต่างๆสามารถใช้ทำงานเหมือนกันได้เลย
ถ้าคุณสังเกตุจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางบนพื้นราบ ทางยกระดับ หรือทางที่เป็นสะพานข้ามแม่น้ำยาวแค่ไหน จะมีรูปแบบเหมือนกันหมด ทำให้สามารถสร้างส่วนต่างๆขึ้นก่อนในโรงงาน แล้วนำมาติดตั้งหน้างานได้เลย
ทำให้ลดปัญหา ลดค่าใช้จ่าย และลดเวลาได้อย่างมหาศาล

Комментарии

Информация по комментариям в разработке