คนดังกับโรค !! คุณทับทิม มาลิกา ( VRZO ) กับเนื้องอกสมองที่หายไป ??

Описание к видео คนดังกับโรค !! คุณทับทิม มาลิกา ( VRZO ) กับเนื้องอกสมองที่หายไป ??

คุณทับทิม มาลิกากับ เนื้องอกสมอง ที่หายไป ??
เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) เกิดขึ้นในชั้นเยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มไขสันหลัง ส่วนใหญ่เติบโตช้า แสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปเวลานานเป็นเดือนเป็นปี มักทำให้มีอาการปวดศีรษะ มือหรือเท้าอ่อนแรง อาการชัก ในบางครั้งอาจส่งผลต่อเนื้อเยื่อสมอง เส้นประสาท และหลอดเลือดโดยรอบ ซึ่งผลของแรงดันที่มีต่อสมองและไขสันหลัง อาจทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้ แต่หากตรวจพบ สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการผ่าตัด


เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง เป็นอย่างไร
เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง หรือ เนื้องอกเมนิงจิโอมา (Meningioma) เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มไขสันหลัง มักโตช้าและอาจใช้เวลาหลายปีกว่าผู้ป่วยจะมีอาการ จึงยากต่อการวินิจฉัย ในบางครั้งอาจส่งผลต่อเนื้อเยื่อสมอง เส้นประสาท และหลอดเลือดโดยรอบ ทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้ เนื้องอกชนิดนี้จะพบสามารถเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย ถึง 2 เท่า อายุที่พบบ่อย คือ ประมาณ 50-60 ปี ผู้ป่วยอาจจะมีก้อนเนื้อเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้


เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง แบ่งออกเป็นกี่ระดับ
โดยทั่วไป เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามลักษณะของเนื้องอก ได้แก่

ระดับที่ 1 เป็นเนื้องอกเยื่อหุ้มสมองที่เจริญเติบโตช้าและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มักพบได้บ่อยกว่าระดับอื่น
ระดับที่ 2 เป็นเนื้องอกเยื่อหุ้มสมองที่ผิดปกติและเริ่มเจริญเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น เนื้องอกในระดับนี้สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้แม้จะผ่าตัดออกไปแล้ว
ระดับที่ 3 เป็นเนื้องอกเยื่อหุ้มสมองที่เป็นเซลล์มะเร็ง ทำให้เจริญเติบโตและแพร่กระจายไปยังบริเวณโดยรอบได้อย่างรวดเร็ว

เนื้องอกเยื่อหุ้มสมองเกิดจากสาเหตุใด
สาเหตุของการเกิด เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 22 ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคท้าวแสนปมชนิดที่ 2 หรือมะเร็งเต้านม และปัจจัยต่างๆ ดังนี้

การฉายรังสีบริเวณศีรษะ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายผู้หญิง
โรคอ้วนหรือมีค่าดัชนีมวลกายสูง
ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 30-70 ปี
อาการเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง
เนื้องอกเยื่อหุ้มสมองจะโตช้า ผู้ป่วยมักแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเยื่อหุ้มสมองอักเสบโตขึ้น อาจกดทับบางส่วนของสมองซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานที่เหมาะสมของสมองส่วนนั้น ได้แก่

อาการชัก เกิดจากการระคายเคืองที่ผิวสมอง
อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เกิดจากความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มความขึ้น เนื่องจากเนื้องอกโตออกมาปิดทางเดินของน้ำในโพรงสมอง้
อาการผิดปกติตามระบบประสาทตามตำแหน่งที่เกิดเนื้องอก เช่น แขน ขา อ่อนแรง รู้สึกชาหรือเจ็บบริเวณใบหน้า ร่างกายกระตุก ชัก เดินเซ เสียการทรงตัว เป็นต้น
อาการอื่นๆ ที่พบได้ เช่น สูญเสียการได้ยินหรือหูอื้อ หรือมีปัญหาการพูด สูญเสียความทรงจำ สูญเสียการรับรู้กลิ่น เป็นต้น

การวินิจฉัยเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง
เบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางประสาทวิทยาก่อน เช่น ตรวจการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย ในกรณีที่ผู้ป่วยเข้าข่ายมีเนื้องอก แพทย์ผู้ดูแลอาจส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีต่างๆ เช่น

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นการใช้รังสีเอกซเรย์ในการสร้างภาพฉายบริเวณสมอง
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan) เป็นการใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงช่วยสร้างภาพถ่ายโครงสร้างภายในสมองและเนื้องอกที่เยื่อหุ้มสมอง แต่จะให้ความละเอียดที่มากกว่า
ตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสี (PET scan) หากตรวจพบว่ามีเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจส่งตรวจอวัยวะอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ต่อไปได้
การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจวินิจฉัย (Biopsy) หาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในขั้นและระดับความรุนแรงใด เป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

วิธีรักษาเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง
การรักษาผู้ป่วยโรคเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) จะตัดสินใจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกวิทยาโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทและระยะของเนื้องอก ตำแหน่งของเนื้องอก ขอบเขตการแพร่กระจาย อายุของผู้ป่วย ประวัติการรักษา และสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วย โดยการรักษาด้วยการผ่าตัดเนื้องอกเยื่อหุ้มสมองถือว่าเป็นทางเลือกการรักษาที่ดีที่สุด

ซึ่งการผ่าตัดผ่านกล้องกำลังขยายสูง (Microscopic) เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง โดยกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆ ได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียดต่างๆ ทำให้การผ่าตัดเนื้องอกที่อยู่ในบริเวณสำคัญที่ล้อมรอบไปด้วยเส้นเลือด และเส้นประสาทขนาดเล็ก มีความปลอดภัยมาก และลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ แผลหายเร็วไม่กระทบความงามของรูปหน้า ไม่ต้องโกนผมทั้งหมดเหมือนการผ่าตัดสมองในแบบเดิม ปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า ทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลสั้นกว่า

นอกจากนี้อาจได้รับการฉายรังสีหลังการผ่าตัด ป้องกันการเจริญเติบโตของเนื้องอก และลดโอกาสในการเกิดเนื้องอกซ้ำ หรือบางรายอาจใช้วิธีรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) สำหรับเนื้องอกเยื่อหุ้มสมองระดับที่ 2 และระดับที่ 3 และใช้กับระดับที่ 1 ที่การผ่าตัดและการฉายรังสีใช้ไม่ได้ผล

Комментарии

Информация по комментариям в разработке