มือฆ้องท่านครู 133 | มือ 16 โถ่งโหน่งคู่ 4

Описание к видео มือฆ้องท่านครู 133 | มือ 16 โถ่งโหน่งคู่ 4

มือฆ้องท่านครู

“มือฆ้องท่านครู” เป็นผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยสร้างสรรค์ แผนงานสร้างสรรค์วิชาการงานศิลป์ ทุนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) พ.ศ.2566 เรื่อง มือฆ้องของหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งเป็นเอกสารบันทึกส่วนบุคคล เขียนด้วยลายมือ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากล ที่มีการจัดตั้งคณะดำเนินงานในช่วง พ.ศ.2479 – 2480

หลวงประดิษฐไพเราะฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการจึงได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเขียนเรื่อง “วิธีตีฆ้อง” เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานฯ ร่วมพิจารณาหลายวาระ แม้ว่าการทำงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะสิ้นสุดลง แต่หลวงประดิษฐไพเราะฯ ก็ยังคงดำเนินการบันทึกรูปแบบมือฆ้องต่างๆ เรื่อยมา

การชำระและถอดความเอกสารลายมือชุดนี้ พบว่า มือฆ้องที่หลวงประดิษฐไพเราะฯเขียนไว้มีจำนวนมากกว่า 200 รูปแบบ การเผยแพร่แบบฝึกมือฆ้องชุดนี้ จึงเป็นการนำเอาเอกสารประวัติศาสตร์ บันทึกมือฆ้องของหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ที่ท่านเขียนไว้ด้วยความปรารถนาจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใฝ่รู้ด้านดนตรีไทยมาเผยแพร่สู่สาธารณะพร้อมสำหรับการศึกษาและเผยแพร่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

จากการถอดโน้ตมือฆ้องของหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) พบว่า รูปแบบมือฆ้องทั้ง 225 รูปแบบนี้ถูกเขียนจากมือฆ้องพื้นฐานสู่ลักษณะของมือฆ้องที่มีความซับซ้อนขึ้น เพื่อวางระบบมือฆ้อง ให้เหมาะสมต่อลักษณะของเครื่องดนตรีและการใช้งานสำหรับเพลงประเภทต่าง นอกจากรูปแบบมือฆ้องข้างต้นที่ถูกบันทึกในลักษณะของแบบฝึกหัดที่ครอบคลุมการบรรเลงฆ้องวงใหญ่ตั้งแต่พื้นฐานไปจนกระทั่งการบรรเลงกลวิธีพิเศษเพื่ออวดฝีมือแล้ว พบว่า ยังมีการกำหนดรายละเอียดคุณภาพเสียงของมือฆ้องในหลายลักษณะด้วย มีพื้นฐานสำคัญคือ “การประคบมือ” “การตีกด” และ “การตีกรอด” ฯลฯ ซึ่งกลวิธีเหล่านี้นับเป็นบริบทสนับสนุนให้คุณภาพเสียงฆ้องของผู้บรรเลงแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันอีกด้วย

#หลวงประดิษฐไพเราะ #ดนตรีไทย #ฆ้องวงใหญ่ #มือฆ้องท่านครู #ศรศิลปบรรเลง #ThaiTraditionalMusic

Комментарии

Информация по комментариям в разработке