การกินหวาน ทำให้เป็นเบาหวานจริงไหม ?

Описание к видео การกินหวาน ทำให้เป็นเบาหวานจริงไหม ?

การกินหวานทำให้เป็นเบาหวานจริงไหม?

การกินหวานเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นเบาหวาน แต่ในความเป็นจริงแล้วบางคนแม้ไม่กินหวานก็สามารถเป็นเบาหวานได้นะคะ เบาหวานเป็นอาการที่ร่างกายไม่สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งเบาหวานที่เรารู้จักกันมีอยู่ 3 ประเภท

👉เบาหวานประเภทที่ 1 เกิดจากกรรมพันธุ์ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ แม้ไม่ได้กินน้ำหวานหรือเป็นโรคอ้วนก็สามารถเป็นได้

👉เบาหวานประเภทที่ 2 เกิดจากอินซูลินทำงานผิดปกติ มักมีสาเหตุมาจากการรับประทานหวานเป็นเวลานาน โรคอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย

👉เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักเกิดกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ เบาหวานชนิดนี้มักหายไปได้เองหลังคลอด แต่ก็สามารถส่งผลเสียแก่สุขภาพ ทำให้แม่และเด็กเสี่ยงโรคอ้วนและเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ในภายหลัง

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดเดียวที่เกิดจากพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันที่ไม่ดี ส่วนใหญ่แล้วใช้เวลาหลายปีกว่าเราจะเป็นเบาหวาน

โดยผู้ที่คิดว่าตัวเองจะมีความเสี่ยงก็สามารถตรวจเลือดทดสอบภาวะก่อนเบาหวานได้ หากพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสะสมเกิน 5.7% หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเกิน 100 มก./ดล. ก็จะถือว่าเป็นภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นเบาหวานใน 5 ปี หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ลดน้ำหนัก และออกกำลังกาย ก็ยังสามารถยับยั้งการเป็นเบาหวานได้ค่ะ

หากใครเป็นเบาหวานอยู่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็ยังสามารถช่วยให้อาการเบาหวานเบาลง จนอาจสามารถหยุดยาและใช้ชีวิตปกติได้เช่นกันค่ะ

ใครที่สงสัยว่าตัวเองจะเป็นเบาหวาน มีอาการ ดื่มน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออยากตรวจสุขภาพหาความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานเฉยๆ ก็สามารถเข้ามาตรวจได้ที่ คลินิกโรคเบาหวาน โรคอ้วน และต่อมไร้ท่อ ที่ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 1 โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ศูนย์ของเราเพียบพร้อมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยว และอุปกรณ์ที่ทันสมัยสำหรับตรวจรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке