กราว(Ground) กับ นิวตรอน(Neutral) ต่างกันอย่างไร ? ทำไมต้องจั้มเข้าด้วยกัน...!!

Описание к видео กราว(Ground) กับ นิวตรอน(Neutral) ต่างกันอย่างไร ? ทำไมต้องจั้มเข้าด้วยกัน...!!

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDiy
สำหรับวันนี้ผมจะมา อธิบาย เกี่ยวกับ หัวข้อ
กราว กับ นิวตรอน ต่างกันอย่างไร ? ทำไม การไฟฟ้าต้องบังคับ ให้จั้มถึงกัน ด้วย
ก่อนอื่น ผมอยากให้เพื่อนๆ เข้าใจ Concept ไฟฟ้า ไปในทิศทางเดียวกันซะก่อน ซึ่งนิสัยของมันจะมีอยู่ด้วยกันสามข้อดังนี้ครับ

1.ไฟฟ้าจะไหลผ่านวงจร ก็ต่อเมื่อ มันเชื่อมต่อกันแบบ สมบูรณ์ เท่านั้น
หากเราสัมผัสกับสาย Line ตัวเราเองก็อาจจะทำให้วงจร สมบูรณ์ขึ้นได้

2.ไฟฟ้าจะพยายามที่จะกลับไปยังแหล่งกำเนิดของมันเสมอ

3.ไฟฟ้าจะไหลไปในเส้นทางที่มันไปได้ทั้งหมด เพื่อให้วงจรสมบูรณ์ และเลือกเส้นทางที่มีค่าความต้านทานน้อยกว่า
ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลไปเส้นทางนั้นมากกว่าเส้นทางอื่น

แล้วสายกราวด์มีไว้ทำไม ?
สายกราวด์หลักๆเลยก็คือ ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟที่รั่ว
เพราะว่า สายกราวด์ในสภาวะปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่ในกรณีที่ เกิดความผิดพลาด สาย Line โดนหนูแทะเห็นทองแดง เกิดดวงซวยไปโดนโครง สายกราวด์ก็จะนำกระแส
เราจะเรียกว่าไฟฟ้ามันช๊อต หรือว่าไฟฟ้าลัดวงจร ก็คือ ไฟฟ้ามันไม่ได้ไหล ผ่านโหลด แต่มันลัดเข้าตรงนั้นดื้อๆไปเลย เบรคเกอร์ก็จะรู้สึกได้ และก็ทำการตัดไฟในทันที
เราก็จะไม่โดนไฟดูด
สายกราวด์ก็คือสายทองแดง หุ้มฉนวนสีเขียว เรียกได้ว่าเป็น เส้นทาลัด เพื่อให้ไฟฟ้าไหลกลับไปหายังแหล่งพลังงาน แทนที่จะผ่านตัวเรา เพราะว่า มันมีความต้านทานที่ต่ำ
ดังนั้นไฟฟ้าจึงเลือกไหลผ่านเส้นทางนี้เพราะว่ามันง่ายกว่าและกลับได้เร็วกว่า

งั้นก็ แสดงว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกราวด์ และปลั๊กที่มีช่องกราวด์ ก็ถือว่าปลอดภัยแล้วนะสิ
ผมบอกได้เลยครับว่า มันไม่แน่เสมอไปครับ ถ้าเพื่อนๆไม่ใส่รองเท้า แล้ววันหนึ่งทะลึ่งไปเอาไขควงวัดไปแหย่ปลั๊กเล่น แล้วพลาดท่าไปโดน สาย Line เพื่อนๆก็สามารถถูกไฟฟ้าดูดตายได้เหมือนกัน นะครับ
เพราะวงจรสมบูรณ์ ถามว่า ทำไมเบรคเกอร์ทำไมไม่ตัด
ก็เพราะว่าเรา มันยังมีความต้านทานอยู่ กระแสไฟอาจจะดูดเราก็จริง แต่กระแสที่ไหลไม่ได้สูงนัก แต่กระแสก็อาจจะทำให้เราถึงแก่กรรมได้ เพราะเบรคเกอร์ทั่วไปมันก็ไม่ตัดต่อให้เรา มันจะดูว่า กระแสไหลเกินค่าที่มันจะตัดไหมแค่นั้น ซึ่งถึงตอน นั้นเราก็ไหม้เกรียมไปแล้วครับ
นี้ก็เป็นหนึ่งในเหตุผล ที่ทำให้คน เสียชีวิตได้ เราจะพบเจอเหตุการประเภทนี้บ่อย เราเรียกกรณี แบบนี้ว่าไฟฟ้ารั่ว

แต่โชคดีที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล มีเบรคเกอร์ บางชนิดกันไฟรั่ว หรือกัน ไฟดูดได้ ซึ่งจะตัดไฟ เมื่อกระแสไฟไหลกลับ ไม่เท่ากับกระแสที่จ่ายออก
หรือพูดง่ายๆว่า สายไฟสองเส้นนี้มีไม่เท่ากัน
ก็แสดงว่าเกิดไฟรั่ว เบรคเกอร์จะฉลาดมากครับ มันรู้ และ ก็ตัดการทำงานอย่างรวดเร็ว

ปกติมาตฐานทั่วไปที่เห็น ก็จะตรวจสอบกระแสรั่วไหล อยู่ที่ประมาณ 30 mA ก็จะตัดการทำงานแล้วครับ
เรียกได้ว่ายังไม่ทันโดนดูด ก็ตัดการทำงานไปแล้ว ซึ่งจะทำให้เราปลอดภัย
ยังไงเพื่อนๆ ลองไปส่อง ที่บ้านของเพื่อนๆ ว่ามี เบรคเกอร์ชนิดกันไฟรั่วรึเปล่า รึเปล่าด้วยก็ดีนะครับ

อย่างที่รู้ๆกันว่า ณ ตอนนี้ การไฟฟ้า บังคับตอกแท่งกราวด์ ลงดินภายในตัวบ้านลึกลงไปอย่างน้อย 2.4M
แท่งกราวด์ก็จะจ้ำไปที่บาร์กราวด์
แท่งกราวด์ตรงนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ ไฟ Line ที่รั่วลงดืนนะครับ
จุดประสงค์แท้ที่จริง ก็คือเพื่อกระจายไฟฟ้าแรงสูง เช่นฟ้าผ่า เราก็จะให้ไฟฟ้ากระจายลงดิน นอกจากนี้ก็ยังมีแท่งกราวด์ของหม้อแปลง ช่วยกระจายลงดินอยู่อีกที่หนึ่งด้วย
ขอบคุณข้อมูล จากอินเทอร์เน็ต:
The Engineering Mindset
#กราวกับนิวตรอนต่างกันอย่างไร #ทำไมต้องจั้มGกับNเข้าด้วยกัน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке