ฟังให้จบ ไม่ตกนรก โลกวิญญาณ นรก บาป สวรรค์ บุญกุศล สู่ผู้บรรลุธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

Описание к видео ฟังให้จบ ไม่ตกนรก โลกวิญญาณ นรก บาป สวรรค์ บุญกุศล สู่ผู้บรรลุธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

หลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ ปล่อยว่างขันธ์ 5 วิญญาณหลังความตาย #ธรรมะก่อนนอน #ธรรมะย้อนหลัง ธรรมะเทศนา #จิตวิญญาณ

ประวัติของพระสงฆ์ที่น่าเลื่อมใส พระอ.สมภพ โชติปัญโญ
อัตโนประวัติ

“พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ” ประธานสงฆ์แห่งวัดไตรสิกขาทลามลตาราม และวัดนิเพธพลาราม ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร เป็นพระนักปราชญ์ พระนักปฏิบัติ พระนักเทศน์ พระผู้เป็นพหุสูตร และพระผู้เสียสละเพียรอุทิศตนทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาแห่งภาคอีสานรูปหนึ่ง ที่ควรค่าแก่การยกย่องอย่างยิ่ง

หลวงปู่จูม สุจิตฺโต

หลวงปู่จูม สุจิตฺโต ได้ดำเนินชีวิตในเบื้องปลายที่พอเพียงอันควรแก่สมณวิสัย พูดน้อย มักน้อย สันโดษ ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม ปฏิบัติกรรมฐานอย่างมุ่งมั่น จนกระทั่งท่านได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ วัดนิพเพธพลาราม ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร โดยอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของพระอาจารย์สมภพ ซึ่งเป็นทั้งประธานสงฆ์และบุตรชาย

พระธรรมคำสอนอันเป็นมรดกชิ้นสุดท้ายของหลวงปู่จูม สุจิตฺโต ที่ท่านได้ทิ้งมรดกธรรมไว้ให้แก่อนุชนชาวพุทธได้คบคิดนั้น มีใจความว่า “.....ที่สิ้นสุดของกายคือ สิ้นลมหายใจ ที่สิ้นสุดของจิตคือ ตัวเราไม่มี ของเราไม่มี เมื่อใดพรหมวิหารของเรายังไม่ครบสี่ เมื่อนั้นเรายังวุ่นวายอยู่ เพราะยังวางมันไม่ลง ปลงมันไม่ได้ คนเราเป็นทุกข์อยู่กับธาตุสี่เพราะยังไม่เห็นธาตุรู้ รู้อย่างเดียว ไม่สุข ไม่ทุกข์ จิตนี้มันคือ (เหมือน) น้าม (น้ำ) น้ามมันชอลไหลลงสู่ทางต่ำ ถ้าคนสะหลาด (ฉลาด) กั้นมันไว้ มันก็จะไหลขึ้นที่สูง.....”

นี้คือคำสอนของหลวงปู่จูม ที่ท่านได้เขียนไว้ก่อนสิ้นลมหายใจ ซึ่งค้นพบใต้หมอนหลังจากท่านมรณภาพแล้ว ทั้งนี้ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวัยชรา เพื่อหาทางพ้นทุกข์ ไม่มุ่งสอนผู้อื่น พูดน้อย มักน้อย สันโดษ ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี หลังจากฌาปนกิจศพแล้ว อัฐิของท่านมีสีขาวบริสุทธิ์ดุจปุยฝ้าย

๏ สร้างวัดไตรสิกขาทลามลตาราม

พระอาจารย์สมภพ ได้เริ่มการประกาศตนเอง ในการเป็นผู้นำปฏิบัติและเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ โดยได้ดำเนินตามรอยพระบาทพระศาสดาอย่างน่าอนุโมทนา ท่านยอมละทิ้งความสุข ความสบาย ที่ได้รับอย่างพรั่งพร้อมในชีวิตฆราวาส โดยไม่มีความอาลัยในสิ่งเหล่านั้น หันหลังให้กับโลกที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อย่างไม่ท้อถอย ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เฉกเช่นพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อค้นหาพระสัจจธรรมท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร

สำนักแรกที่ได้เริ่มการเผยแผ่พระธรรมคำสอนคือ วัดนิเพธพลาราม ตั้งอยู่บนเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ที่ท่านได้มาซื้อไว้ด้วยน้ำพักน้ำแรงจากค่าจ้างในการทำงาน ปัจจุบันท่านได้มาสร้างสำนักป่าแห่งใหม่ เพื่อปลูกป่าและอนุรักษ์ธรรมชาติ อยู่ไม่ไกลจากวัดนิเพธพลาราม ห่างกันประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เพื่อให้เหมาะกับการประพฤติปฏิบัติธรรม คือ วัดไตรสิกขาทลามลตาราม ตั้งอยู่บนเนื้อที่ ๓๐๐-๔๐๐ ไร่ ด้วยอุดมการณ์ที่ว่า

“เพียงแมกไม้ฉ่ำชื่นในผืนป่า เพียงธาราเจิ่งขังทั้งเย็นใส
เพียงเสียงสัตว์ เริงร้องก้องพงไพร
เพียงเพื่อให้ ผองมวลมิตร ใกล้ชิด พุทธธรรม”

ด้วยเหตุนี้เอง พระอาจารย์สมภพจึงได้ตั้ง “วัดไตรสิกขาทลามลตาราม” ขึ้นมา โดยมีการปลูกป่าตามอุดมการณ์ เนื้อที่ผืนป่าที่ปลูกแล้วกว่า ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ ไร่ ฉ่ำชื่นด้วยผืนป่า แต่ธาราที่เจิ่งขังยังไม่พร้อม ทางคณะสงฆ์จึงเห็นพ้องกันว่าต้องขุดแหล่งน้ำ นำดินที่ขุดขึ้นมากองเป็นภูเขาจำลองปลูกต้นไม้ให้เขียว เป็นภูเขาอันสดชื่น เป็นที่ดุดฟ้าดึงฝน ให้สมกับชื่อที่เป็นภาษาบาลีว่า “ไตรสิกขาทลามลตาราม” ซึ่งแปลว่า อารามอันทรงไว้ซึ่งความสดชื่น สำหรับผู้บำเพ็ญไตรสิกขา (ศีล สมาธิ และปัญญา)

เป็นภาพของภูเขาลูกย่อมๆ อันเขียวสดชื่น ท่ามกลางความแห้งแล้งแห่งภาคอีสาน ประดับประดาไปด้วยภาพสระโบกขรณีนทีธาร พร้อมทั้งอุทยานอันชื่นใจ แมกไม้และผืนน้ำที่แผ่ล้อมลูกภูเขา พรั่งพร้อมไปด้วยปทุมชาติ อันมายมากหลากสีบนผิวน้ำ ท่ามกลางสายลม แสงแดด ณ ภูมิภาคแห่งนี้จะเป็นเสมือนขุมทรัพย์กลางทะเลทราย จากพื้นดินถิ่นที่แห้งแล้งลำเค็ญ อาจกลายเป็นแคว้นศักดิ์สิทธิ์แห่งจิตใจ ซึ่งอาจจะกลายเป็นโอเอซิสธรรม (dhamma Oasis) แห่งภาคอีสาน ทั้งนี้ เป็นการสนับสนุนโครงการของรัฐบาลปัจจุบัน อันว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ทั้งน้ำท่วม-น้ำแล้งช่วยได้ทั้ง ๒ ด้าน

การขุดดินขึ้นได้สระน้ำ ทิ้งดินถมเป็นภูเขาปลูกต้นไม้ให้สดชื่น อุโภ อตฺเถ อธิคณฺหาหิปณฺฑิโต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้แล้วว่า บัณฑิตผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ไม่ประมาท ย่อมถือเอาประโยชน์ได้ทั้งสอง ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ฟ้า ประโยชน์ดิน ประโยชน์ศีล ประโยชน์ธรรม ปลูกดงปลูกป่าคือ ปลูกฟ้าปลูกดิน ปลูกศีลปลูกธรรม ช่วยค้ำจุนโลกให้ร่มเย็น ขุดสระน้ำได้ภูเขาด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางตรัสรู้ ประทับบนภูเขาแล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระปฏิมากร ภูเขากลายเป็นเจดีย์ที่มีคุณค่ามาก ถึงจะมีมูลค่าน้อย แต่มากไปด้วยคุณค่า อย่างหาประมาณมิได้ พระพุทธรูปท่านเรียกว่า อุทเทสิกะเจดีย์ ภูเขาจากดินที่ขุดกลายเป็นอุทเทสิกะเจดีย์ เช่นเดียวกัน เพราะเป็นภูเขาที่ประดิษฐานพระบรมารีริกธาตุ ยํ ฐานํ ชเนหิ อิฏฐกาทีหิ เจตพฺพํ ตสฺมา ตํ ฐานํ เจติยํติ สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นสำหรับบรรจุสิ่งที่เคารพนับถือ สิ่งนั้นนับว่าเป็นเจดีย์

ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว เป็นการสร้างสรรค์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ยังเป็นการพัฒนาแบบบูรณาการ ครบรอบคอบคลุมเกือบทุกด้าน เป็นการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ให้เกิดดุลยภาพทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านการศึกษาตามแนวทางของพุทธศาสนาให้ครบทั้งสามด้านพฤติกรรม คือ ศีล จิตใจ สมาธิ ขบวนการรับรู้ด้านปัญญา นี้คือ ไตรสิกขาในภาพรวม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке