วิธีฝึกสมาธิ ฌาน ญาณ อิทธิฤทธิ์ โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

Описание к видео วิธีฝึกสมาธิ ฌาน ญาณ อิทธิฤทธิ์ โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

การฝึกสมาธิ ฝึกจิต มีความสำเร็จ ตั้งการฝึกขั้นพื้นฐาน สิ่งสำคัญต้องเข้าใจและฝึกสภาวะทั้ง ณาน ญาณ ที่สองคำนี่ไม่ใช่สภาวะเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ฌาน คือ สภาวะที่จิตมีสมาธิ ตั้งแต่อัปปนาสมาธิขึ้นไป เป็นสมาธิที่เหมาะสมที่พระพุทธเจ้าแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อมรรคผล

ฌาน (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

ญาณ แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง

ญาณ คือ การรู้ มีทั้งโลกียะ และโลกุตระ
โลกียะ เช่น การระลึกชาติ การรู้วาระจิตใจของบุคคลอื่น การรู้เรื่องการเกิดการตาย การจุติของสัตว์โลก
โลกุตระ ก็ต้องคุยกันตั้งแต่ วิปัสสนาญาณ จนไปถึง อาสวักขยญาณ

ในทางปฏิบัติ เราใช้จิตที่เป็นสมาธิอย่างฌาน มาทำให้เกิดญาณ

"ฌาน" คือ เอาจิตตั้งไว้จุดใดจุดหนึ่ง ดูลมหายใจ หรือเอาจิตตั้งไว้กับลมหายใจ
หรือเอาจิตไว้ตรงกลางกาย หรือไว้ที่หน้าผาก แล้วก็เกิด ปีติ สุข เอกัคคตา
ก็รับอารมณ์เฉยไว้ ไม่ให้ปรุงแต่งอย่างอื่น คือกำหนดรู้อยู่เรื่อย
จนจิตเกิดความสงบผ่องใสอยู่เรื่อย นั่นเรียกว่า "ฌาน"

"ญาณ" นั้นหมายถึงเมื่อพิจารณาดูจิตรู้สภาวะจิตมากขึ้นๆแล้ว เข้าใจแยกกายแยกจิตได้ เมื่อเข้าใจจิตมาขึ้นแล้วญาณก็เกิดขึ้น ปัญญาก็เกิดขึ้น ต้องไปรู้จิตตัวเองจึงจะเกิดญาณเกิดปัญญา ญาณนี้คือปัญญา รู้ความสงบก็รู้แค่ฌาน แต่ถ้ารู้เรื่องจิตนั้นจึงจะเป็นญาณ นี่แตกต่างกันอย่างนั้น

ฌานนี้เหมือนกับแสงสว่างไม่เปลี่ยนแปลงอะไร
แต่คนที่สามารถทำแสงสว่างนั้นเปลี่ยนแปลง
เป็นสีนั้นสีนี้ได้ ขยายความสว่างให้มากให้น้อยนั่นคือ ญาณ จะต้องมีตัวปัญญาเข้าไปประกอบไม่ใช่เกิดอยู่เฉยๆ

ที่มา หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญฺ

ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
1.อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
2.ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค ผล
2.1 วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
2.2 มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
2.3 ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพาน อันมีลักษณะเป็น สุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง

ฌาน 2 ประเภท
1.รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
1.1 ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
1.2 ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
1.3 ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
1.4 จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

2.อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
2.1 อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
2.2 วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
2.3 อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
2.4 เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)

เมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า " ฌาน 4" จะหมายถึง แค่รูปฌาน 4 และเมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า "ฌาน 8" จะหมายถึง รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4

แต่ตามหลักอภิธรรมโดยสภาวะ อรูปฌานทั้ง 4 ท่านจัดว่าเป็นเพียงจตุตถฌาน เพราะประกอบด้วย อุเบกขา เอกกัคคตา เช่นเดียวกับจตุตถฌานของรูปฌาน เพียงแต่มีอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งกว่า จึงแยกเรียกโดยบัญญัติว่าฌาน 8 เพื่อความเข้าใจ

ญาณ 16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ได้แก่
1.นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
2.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
3.สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้
4.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า อุพยัพพยญาณ) หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
5.ภังคานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า ภังคญาณ) หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว
6.ภยตูปัฏฐานญาณ (เรียกโดยย่อว่า ภยญาณ) หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
7.อาทีนวานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า อาทีนวญาณ) หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
8.นิพพิทานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า นิพพิทาญาณ) หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
9.มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
10.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า ปฏิสังขาญาณ) หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
11.สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
12.สัจจานุโลมิกญาณ (เรียกโดยย่อว่า อนุโลมญาณ) หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ)
13.โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
14.มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
15.ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
16.ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке