D.I.Y เสาอากาศก้างปลาทำเอง ฟรีๆ คลื่น แรงมากๆ (รองรับ ทีวีดิจิตอล, Smart TV, กล่องดิจิตอล)

Описание к видео D.I.Y เสาอากาศก้างปลาทำเอง ฟรีๆ คลื่น แรงมากๆ (รองรับ ทีวีดิจิตอล, Smart TV, กล่องดิจิตอล)

สวัสดีครับยินดีต้อนรับเข้าสู่ช่อง Zimzim Diy
วันนี้ช่างช่อง จะมาทำ เสาอากาศกางปลา DIY กันครับ
ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำก็เนื่องจาก ผมต้องการดูทีวีผ่านจอคอมเก่า ซึ่งมันต้องใช้กล่อง ดิจิตอลเพื่อรับสัญญาณ
ซึ่งปัญหาที่พบก็คือว่า
เสาอากาศแบบหนวดกุ้ง ประสิทธิภาพในการรับคลื่นสัญญาณต่ำ. หรือไม่สามารถรับสัญญาณได้เลย เมื่ออยู่นอกระยะ รัศมี 5 km ขึ้นไป เพราะความเข้มของสัญญาณจะต่ำลง
เสาอากาศแบบ ก้างปลาจะถูกออกแบบมาเพื่อรับสัญญาณได้ดีกว่า มันจึงเข้ามาแทนที่ แต่ถ้าจะแนะนำ เพื่อนๆไปซื้อเองมันก็จบจริง แต่ราคามันก็ค่อนข้างสูง
ซึ่งบ้านของผมอยู่ห่างจากเสาส่งสัญญาณ 7.7km ซึ่งถือว่า ไม่ห่างมาก แต่ เสาอากาศหนวดกุ้ง ไม่สามารถรับได้
ซึ่งเท่าที่ผมทราบมา เมื่อจุดส่งสัญญาณทีวี อยู่ในระยะใกล้ๆบริเวณบ้านเรือนของท่าน รัศมีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1-5 km เสาอากาศแบบหนวดกุ้งรับได้ไม่มีปัญญหา
แม้แต่ ไม้แขวนเสื้อหรือคลิปหนีบกระดาษก็สามารถรับสัญาณได้อย่างชัดเจน
ซึ่งวิธีแก้ไขของผมก็คือ จะทำเสาอากาศชนิด ก้างปลา ใช้เอง เพราะมันรับสัญญาณได้ดีกว่า แบบหนวดกุ้ง
โดยหลังจากที่ผมได้ ยื่ม เสาอากาศจากเครื่องอื่นมาใช้
ก็ปรากฎว่า กล่องสามารถรับสัญญาณได้อย่างดีเยี่ยม
ผมก็เลยต้องนำมัน เป็นตัวต้นแบบ และ ศึกษาวิธีการทำงาน
โดยเมื่อวิเคาะห์ตัวมันแล้วโครงสร้างลักษณะภายนอก โครงสร้างทั้งหมด ทำมาจากอะลูมิเนี่ยมเบา
ส่วน เสาที่เป็นแกนกลาง ผมวัดแล้วมีขนาดความยาวทั้งหมด 39 ซ.ม
ส่วนต่อไปจะเป็น เสา Drirector ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 เสาด้านหน้า แต่ละตัวมีขนาดความยาวประมาณ 18 ซ.ม
ระห่างตัวที่ 1ไปตัว 2 อยู่ที่ประมาณ 6.5 ซ.ม
ระห่างตัวที่ 2ไปตัว 3 อยู่ที่ประมาณ 5.5 ซ.ม
ซึ่งเจ้า 3 ตัวนี้ทำหน้าที่ รวมสัญญาณทั้งหมด ให้กับ เสาข้างหลังมันได้ใช้งานต่อไป
ยิ่ง จำนวนเสามีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรับสัญญาณ ได้ดีและไกลขึ้น มากเท่านั้น
ส่วนที่สำคัญ นั้นก็คือเจ้าตัว Dipole หรือที่มันมีลักษณะโค้งๆกลมๆดังภาพเนี่ยแหละครับ มันทำหน้าที่รับสัญญาณโดยตรงจากตัว Drirector
ทีป้อนเข้ามา
ถ้าเพื่อนๆสังเกตุ เจ้าตัว dipole ขามันไม่ได้เชื่อมต่อถึงกัน
ควรจะเว้นช่องว่างสักเล็กน้อย เพื่อนเดินสายสัญญาณ
ซึ่งจริงๆแล้ว มันมีสูตรหลักการคำนวนของมัน อยู่ เพื่อนๆสามารถค้นหาได้ตามอินเทอร์เน็ตได้เลยครับ
วัดขนาด ความยาวได้ประมาณ 26 ซ.ม
ความสูงวัดได้ประมาณ 5.5 ซ.ม
ซึ่งห่างจาก เสาไดเร็กเตอร์ตัวสุดท้าย ประมาณ 2.5 ซม
ส่วนเสาด้านหลังตัวสุดท้าย เราจะเรียกว่า Re flector มันมีหน้าที่สะท้อนคลื่น ให้แรงขึ้น จึงทำให้ dipole รับคลื่นได้ดีขึ้น
ปกติมันจะมีอยู่แค่ เสาเดียว และมีขนาดที่ยาวกว่าตัวไดเร็กเตอร์นะครับ
ซึ่งวัดได้ประมาณ 30 ซ.ม
ห่างจากตัว Dipole ประมาณ 9.5 ซม
หลังจากที่ผมได้หาวัสดุ อุปกรณ์ จากครัวเรือนมาลงมือทำก็ได้เสาอากาศ อลูมิเนียม รูปแบบลักษณะหน้าตา สวยงามแบบนี้ขึ้นมาครับ
เรียกว่า เป็นเสาอากาศที่ อาจะไม่เหมือน แต่ก็ดูใกล้เคียง มิใช่น้อย
หลังจากทำเสาอากาศเองได้แล้ว ผมเชื่อว่าเพื่อนก็สามารถทำตามได้ไม่ยาก
มาถึงในส่วน ชองเคล็ดลับใน การต่อสายเข้ากับ โครงก้างปลา
ซึ่งเมื่อสังเกตุ จุดต่อจะพบว่า แผ่นลายปริ้น จะมีการเชื่อต่อบักกรีอยู่ด้วยกัน 2จุด
จุดที่ 1 จะเป็นจุดรับสัญญาณของสาย ซึ่งมันจะถูกรบกวนได้ง่าย เพราะฉะนั้นลายวงจรจึง มีขนาดเล็ก และทางเดินของทองแดง จะอยู่บริเวณรอบนอก
ส่วนจุดที่ 2 จะเป็น เสมือน สายกราวด์ ซึ่งมันจะกรองสัญญาณที่ไม่ต้องการทิ้งลงไปในตัวมัน เพราะฉะนั้นลายวงจรจึงมีขนาดใหญ่กว่า และเดินอยู่รอบใน
ซึ่งตัว กราวนี้จะอยู่เพียงบริเวณตรงกลาง จะไม่ได้เชื่อต่อหรือสัมผัส กับโครงอะลูมิเนี่ยมแต่อย่างใด
เสร็จแล้วครับ สำหรับเสาอากาศก้างปลา DIY ของผม
มาดูในส่วนของจุดรับสัญญาณ ที่ผมออกแบบกันครับ
ในส่วนของกราวด์ นั้น ผมใช้แผ่นฟลอย์ แผ่นอะลูมิเนียมแป๊ะไว้ แล้วก็ใช้น๊อคยึด ติดกับสายกราวของสายเสาอากาศ
และในส่วนของ สายรับสัญญาณ ผมได้ใช้ลวดทองแดง เชื่อมไปยัง ทั้งสองจุดของ dipole
ทดลองนำไปใช้งาน
มองเห็นสัญญาณทำงานได้ปกติ คับ
คำแนะนำ การนำไปใช้งาน
ควรต่อ เสาอากาศ หันหน้าเข้าหาเสาส่ง จะดีที่สุดครับ
และเพื่อนๆไม่จำเป็นต้องใช่ท่ออลูมิเนียมในการทำก็ได้ นะครับ ขอให้เป็นวัสดุที่เป็นโลหะวัสดุตัวนำไฟฟ้าได้ก็พอ
ขอบคุณทุกท่านที่รับชมครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке