พระพุทธชินราช | ตำนานการสร้างในพงศาวดารไหนกันแน่..? รัชกาลที่ 5 อัญเชิญเป็นพระประธานวัดเบญจมบพิตร

Описание к видео พระพุทธชินราช | ตำนานการสร้างในพงศาวดารไหนกันแน่..? รัชกาลที่ 5 อัญเชิญเป็นพระประธานวัดเบญจมบพิตร

#พระพุทธชินราช | ตำนานการสร้างในพงศาวดารไหนกันแน่..? #รัชกาลที่5 มีความประสงค์อัญเชิญพระพุทธชินราชเป็นพระประธาน #วัดเบญจมบพิตร
ตำนานพระพุทธชินราช
การสร้างพระพุทธชินราช ตามตำนานที่มีไว้แล้ว แย้งกันเป็น 2 นัยอยู่ นัยหนึ่งว่าสร้างเมื่อ
ราวจุลศักราช 319 (พ.ศ. 1500) แต่อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้างเมื่อราวจุลศักราช 719 (พ.ศ. 1900) ตำนาน
ที่อ้างถึงพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในจุลศักราช 319 (พ.ศ. 1500) นั้น เป็นตำนานที่กล่าวไว้ในพงศาวดาร
เหนือ ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ว่าด้วยเรื่องพระ
พุทธชินราช #พระพุทธชินสีห์ และ #พระศรีศาสดา และพระราชปรารภของพระบาท #สมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5) เรื่องพระพุทธชินราช ความว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกผู้ครองนครเชียงแสนได้ยก
กองทัพลงมาตีเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งมีพระเจ้าพสุจราชปกครองอยู่ ทหารทั้งสองฝ่ายรบราฆ่าฟันกันตายลงเป็น
อันมากมิได้แพ้ชนะกัน พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ มีความเศร้าสลดใจในศึกครั้งนี้ จึงเข้า
ทำการไกล่เกลี่ยให้พระราชาทั้งสองนี้เป็น สัมพันธไมตรีกัน พระราชาทั้งสองก็ยอมปฏิบัติตาม พระเจ้าพสุจราช
ได้ทรงยกพระนางปทุมราชเทวีราชธิดา อภิเษกให้เป็นมเหสีแห่งพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก พระเจ้าศรีธรรมไตร
ปิฎกมีพระราชโอรสด้วยพระนางปทุมราชเทวี 2 พระองค์ ทรงพระนามว่า เจ้าไกรสรราชกับเจ้าชาติสาคร พระ
เจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระประสงค์จะป้องกันการรุกรานของชาติขอม ซึ่งขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางละโว้หรืออีก
นัยหนึ่งเป็น การแผ่ราชอาณาจักรให้ไพศาลออกไป จึงได้สร้างเมืองพิษณุโลก เพื่อให้ราชโอรสขึ้นครองเมือง
ตามพงศาวดารกล่าวว่าได้สร้างเมืองพิษณุโลกเมื่อจุลศักราช 315 (พ.ศ. 1496) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ได้เสด็จลงมาอภิเษกเจ้าไกรสรราชขึ้นครองเมือง พระเจ้าศรีธรรม
ไตรปิฎกนี้ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานพระไตรปิฎกมาก จึงได้รับเฉลิมพระนามาภิไธย ดังนั้น ขณะที่
เสด็จประทับอยู่ ณ #เมืองพิษณุโลก ที่ได้สร้างขึ้นใหม่ ก็มีพระประสงค์จะบำเพ็ญบุญกุศลทำนุบำรุง
พระพุทธศาสนาและให้พระเกียรติศัพท์พระนามปรากฏในภายหน้า จึงตรัสสั่งให้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ขึ้นเป็นคู่กับเมือง สร้างพระมหาธาตุเป็นรูปปรางค์สูงราว 8 วา ตั้งกลาง แล้วสร้างพระวิหารรอบปรางค์ทั้งสี่ทิศ
มีระเบียง 2 ชั้น พระองค์ต้องการจะสร้างพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เพื่อเป็นพระประธานในพระวิหาร
ในเวลานั้นที่เมืองศรีสัชนาลัย ทั้ง #สวรรคโลก และ #สุโขทัย เป็นที่เลื่องลือปรากฏในการฝีมือ
ช่างต่างๆ ทั้งการทำพระพุทธรูปว่าฝีมือดียิ่งขึ้น จึงมีพระราชสาส์นไปยังกรุงศรีสัชนาลัย เพื่อขอช่างมาช่วยปั้น
หุ่นพระพุทธรูป สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยจึงส่งช่างพราหมณ์ที่ฝีมือดี 5 นาย ชื่อบาอินทร์ บาพราหมณ์
บาพิษณุ บาราชสิงห์ และบาราชกุศล พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โปรดให้ช่างสวรรคโลกสมทบกับช่างชาวเชียง
แสนและช่างหริภุญชัย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง 3 องค์ มีทรวดทรงสัณฐานคล้ายกัน แต่
ประมาณนั้นเป็น 3 ขนาด คือ
พระองค์ที่ 1 ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า "พระพุทธชินราช" มีขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5นิ้ว สูง 7 ศอก
พระเกศสูง 15 นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
พระองค์ที่ 2 ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า " #พระพุทธชินสีห์ " มีขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
พระองค์ที่ 3 ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า "พระศรีศาสดา" มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 1 คืบ 6 นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
พระศรีธรรมไตรปิฎกทรงเลือกลักษณะอาการตามชอบพระทัยให้ช่างทำคือ สัณฐานอาการนั้น
อย่างพระพุทธรูปเชียงแสน ไม่เอาอย่างพระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก และเมืองสุโขทัยที่ทำนิ้วสั้น
ยาวไม่เสมอกันอย่างมือคน ทรงรับสั่ง ให้ทำนิ้วให้เสมอกันตามที่พระองค์ทราบว่าเป็นพุทธลักษณะ พระ
ลักษณะอื่นๆ ก็เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง อย่าง #ศรีสัชนาลัย และสวรรคโลก สุโขทัยบ้าง จวบจนวันพฤหัสบดี ขึ้น
15 ค่ า เดือน 4 ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช 317 ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์
และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว กระทำการแกะพิมพ์ออกมา ปรากฏว่า พระองค์ที่ 2 คือพระพุทธชินสีห์ และ
พระองค์ที่ 3 คือพระศรีศาสดา องค์พระบริบูรณ์ดีมีน้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันสวยงาม 2 องค์เท่านั้น ส่วน
รูปพระพุทธชินราชนั้น ทองแล่นติดไม่เต็มองค์ ไม่บริบูรณ์ นับว่าเป็นอัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีเป็นอัน
มาก ช่างได้ช่วยกันทำหุ่น และเททองหล่ออีกถึง 3 ครั้ง ก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้ คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนัก พระองค์จึงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของ
พระองค์เป็นที่ตั้ง อีกทั้งขอให้ทวยเทพเทวดาช่วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปส าเร็จตามพระประสงค์เถิด แล้วให้
ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง
เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке