Ep122 *ปราสาทสมโบร์ไพรโคก (Sambor Prei Kuk) เล่าเรื่องปราสาท กลุ่ม C คือกลุ่มปราสาทสิงโต

Описание к видео Ep122 *ปราสาทสมโบร์ไพรโคก (Sambor Prei Kuk) เล่าเรื่องปราสาท กลุ่ม C คือกลุ่มปราสาทสิงโต

Ep122 *ปราสาทสมโบร์ไพรโคก(Sambor Prei Kuk) เล่าเรื่องปราสาท กลุ่ม C คือกลุ่มปราสาทสิงโต

พระเจ้าอีศานวรมัม โอรสของพระเจ้ามเหนทรวรมัม ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่อีสาน ไปเป็นกษัตริย์ในกัมพูชา
ผมกำลังเตรียมโพสต์คลิป ปราสาทในกลุ่มปราสาทโต หรือ กลุ่ม C ในอีศานปุระ ที่สมโบร์ไพรกุก ก็มีเรื่องต้องนำเรื่องนี้นำมาเสนอ เป็นการขัดจังหวะเสียก่อน เพื่อนแนะนำว่าต้องเล่าเรื่องการตั้งเมืองอีศานปุระ โดยพระเจ้าอีศานวรมัมให้ชัดเจน เดี๋ยวจะมีคนเข้าใจผิดว่าย้ายเมืองมาจาก วยาธปุระ เมืองหลวงเดิม คำว่า "อีศานปุระ" คือ ดินแดนภาคอีสานของสยาม ก่อนที่จะเลื่อนลงไปที่ สมบูรณ์ไพรโคก (សម្បូរព្រៃគោក) อีศานปุระ ไม่ได้เริ่มเกิดขึ้น ที่สมบูรณ์ไพรโคก นะครับ คำว่าเจนละ หรือ เจินละ เกิดก่อนคำว่า สมบูรณ์ไพรโคก คำนี้มาจาก "ជាន់លើ" หมายถึง ชั้นบน หรือข้างบน หมายถึง ดินแดนข้างบน คือ ดินแดนภาคอีสานของสยาม ก่อนที่จะกลายเป็น เจนละบก (ជាន់លើដីគោក ឬ ជាន់លើដែនគោក) ส่วน เจนละน้ำ (ជាន់លើដែនទឹក) ในเวลาต่อมา
ดินแดนกัมพูชาแต่โบราณ เป็นน้ำเสียส่วนใหญ่ จึงมีแต่คำว่า ท่าน้ำ หรือ กำปง (កំពង់) มากมาย ขอเล่าถึงพระเจ้าจิตรเสน บิดาของพระเจ้าอีศานวรมัม สักเล็กน้อยครับ ข้อความในจารึกของพระเจ้าจิตรเสนทุกหลักล้วนบันทึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ไม่พบว่ามีภาษาท้องถิ่นเข้าไปปะปนเลย เนื้อหาในจารึกแต่ละหลักก็เกือบจะเหมือนกัน คือ กล่าวถึงพระราชประสงค์ที่พระเจ้าจิตรเสนโปรดให้สร้างจารึกขึ้นไว้
ตอนต้นข้อความในจารึกจะกล่าวถึงพระราชประวัติของพระเจ้าจิตรเสน ความว่า
“พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ทรงพระนามว่าพระเจ้าจิตรเสน เป็นพระโอรสของพระเจ้าศรีวีรวรมัม เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าศรีสารวเภามะ และแม้โดยศักดิ์จะเป็นพระอนุชาของพระเจ้าศรีภววรมัมแต่ทรงเป็นพระเชษฐา เพราะมีพระชนมายุมากกว่า พระองค์มีนามปรากฏในด้านคุณธรรมแต่ยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ได้รับพระนามอันเกิดจากการอภิเษกว่า พระเจ้าศรีมเหนทรวรมัม”
เมื่อพระเจ้าอีศานวรมัมขึ้นครองราชย์ จึงได้ตั้งเมืองหลวงชื่อ อีศานปุระ ผนวกเอาดินแดนที่บิดาของพระองค์เคยขยายอาณาเขตไว้ ได้แก่ตอนใต้ของอีศานในประเทศสยาม มาตั้งชื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่
ผมจะเล่าต่อจากตอนที่แล้วครับ
คลิปก่อนหน้านี้ เล่าให้ฟังเรื่องปราสาทยายปวน เป็นปราสาทในกลุ่ม S ของปราสาทสมโบร์ไพรโคก
วันนี้จะเล่าเรื่องกลุ่มปราสาทตรงกลาง อยู่ในกลุ่ม C ที่เรียกว่าปราสาทโต แต่เดิมจะเรียกชื่อปราสาทอะไร ก็ไม่มีผู้ใดทราบ ปราสาทมีรูปสลักสิงโต ปัจจุบันจึงเรียกว่าปราสาทโต กลุ่มนี้มี 43 ปราสาท แต่วันนี้มีเพียงปราสาทเดียวที่ยังคงสภาพที่สามารถเข้าชมได้
ปราสาทสร้างอยู่ 2 ระยะ โดยกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าอีศานวรมัมที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมัมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สร้างเพิ่มเติมเมื่อ ค.ศ. 802 ภายในปราสาทประกอบด้วยศิวลึงค์และโยนี ประตูทางเข้ามีเพียงด้านเดียว และมีประตูหลอกอีก 3 ประตู หน้าบันประกอบด้วยศิลปะแบบ กำพงพระ และไพรเกมง (ทิศเหนือและทิศใต้)
กลุ่มปราสาทตอนกลาง หรือกลุ่มปราสาทโต (หรือปราสาทสิงโต) ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแนวกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น
กำแพงด้านนอกมีความยาว 200 เมตร แต่ส่วนใหญ่พังทลายลงมา กำแพงด้านใน มีความยาว 150 เมตร อยู่ในสภาพทรุดโทรมเช่นเดียวกัน
สาเหตุที่ปราสาทในกลุ่มปราสาทสิงโตรวมทั้งปราสาทอื่นๆ ในเขตสมโบร์ไพรโคก พังทลาย มาจาก 3 ปัจจัย คือ
ปัจจัยแรก จากทางธรรมชาติ เช่น พายุ ลม ฝน และต้นไม้ขึ้นปกคลุม
ปัจจัยที่ 2 จากมนุษย์ จากการขุดค้นหาสมบัติ นำไปขาย
และปัจจัยที่ 3 เนื่องจากสงครามในปี พ.ศ. 2513
กลุ่มปราสาทในเมืองสมโบร์ไพรโคก สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอีศานวรมัมที่ 1 ในคริสต์ศักราช 616-635 พระองค์ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นที่อีศานปุระ สิงโต 2 ตัวนี้ มีรูปร่างแตกต่างจากสิงโตที่อยู่ในปราสาทกัมพูชา สิงโตตัวนี้มีขนแผงคอเป็นเกลียว จึงดูมีอำนาจ หมายความว่าพระเจ้าชัยวรมัมที่ 2 ต้องการแสดงอำนาจ
ของพระองค์ ในเวลาที่ทรงมีพระประสงค์ที่จะปลดปล่อยประชาชนและดินแดนจากการปกครองของศรีวิชัย
ต้องการคืนความสงบสุขให้กับประเทศชาติ ปราสาทสิงโตมีความสูง 20 เมตร มีบันได 7 ขั้นแยกกัน
สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ มีบันไดเจ็ดขั้นและมีฐานรูปกลีบกุหลาบ
โดยทั่วไปแล้วปราสาทส่วนใหญ่ในเขตสมโบร์ไพรโคกจะมีพื้นเป็นบันไดเป็นรูปกลีบบัวและมีบันได 3 ขั้น
แต่เพราะปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับศาสนาฮินดู ตามความเชื่อของกษัตริย์ผู้เสด็จมาในครั้งนี้
จึงต้องล้างเท้าล้างบาป ก่อนจึงจะขึ้นไปทำพิธีได้ ในขณะที่คนอื่น ๆ ไม่สามารถขึ้นปราสาท ผ่านเข้าประตูนี้เข้าไปได้ ผู้มาร่วมพิธี ต้องอยู่ภายนอกปราสาทเท่านั้น เนื่องจากเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในสมัยอังกอร์ จึงมีการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ เสาค้ำยันปราสาท ทำขึ้นใหม่จากซีเมนต์ สร้างโดย Angkor Conservation, Sambor Prey Kok และชุมชนท้องถิ่นในปี 1995
ปราสาทโต เป็นหนึ่งในปราสาทหลายร้อยแห่งในกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรโคก ตั้งอยู่ในหมู่บ้านซัมโบ
ห่างจากตัวเขตกำปงธม 25 กม. มีพื้นที่ 3 เฮกตาร์ ประตูหลักแกะสลักเป็นรูปใบไม้ซึ่งสะท้อนถึงสไตล์ กุเลน (Kulen) ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 9 ลักษณะเด่นของรูปสลักสิงโตที่ทั้งสองข้างของบันไดนั้น คล้ายคลึงกับรูปสลักสิงโตบนพนมกุเลน ผมนำภาพสิงโตที่อยู่บนพนมกุเลน มาให้ดูพร้อมนี้ด้วยครับ รูปสลักสิงโต ที่เห็นในปราสาทนี้ มีรูปร่างต่ำ และมีผมหยิกเป็นเกลียวแปลกไปจากสิงโตในปราสาทต่างๆ
คลิปต่อไปผมจะพาไปดูปราสาทในกลุ่ม N เรียกว่ากลุ่มปราสาทสมโบร์ ที่มีจำนวนปราสาทมากกว่าปราสาทกลุ่มอื่นๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке