เบื้องหลังหายนะเรือดำน้ำ OceanGate Titan

Описание к видео เบื้องหลังหายนะเรือดำน้ำ OceanGate Titan

การท่องเที่ยวในยุคนี้ก้าวหน้าอย่างมากทั้งพุ่งขึ้นไปในอวกาศและดำดิ่งสู่ทะเลลึก จนเกิดเหตุระทึกเมื่อเรือดำน้ำ OceanGate Titan ระเบิดในขณะเดินทางสำรวจซากเรือไททานิคใต้ทะเล จนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ ซึ่งเราจะมาเจาะลึกว่ามีเบื้องลึกและเบื้องหลังอย่างไรเพื่อเรียนรู้ไปด้วยกัน
ติดตามต่อ👉 https://www.dedtongdon.com/oceangate-...

Time Stamp
0:00 เบื้องหลังหายนะเรือดำน้ำ OceanGate Titan
0:20 Titan ดำลงไปสำรวจเรือไททานิคทำไม?
2:16 การสร้างเรือดำน้ำท้าทายและอันตรายแค่ไหน?
6:10 เรือดำน้ำ Titan น่ากลัวแค่ไหน?
9:12 เกิดอะไรขึ้นกับเรือดำน้ำ Titan ?
10:08 สรุป

Titan ดำลงไปสำรวจเรือไททานิคทำไม?
คุณสงสัยไหมว่า ทำไมพวกเค้าต้องเสี่ยงชีวิตดำลงไปดูซากเรือไททานิคที่จมอยู่ใต้ทะเลลึกซึ่งอันตรายมากๆ กันด้วย
1 เสน่ห์ของการผจญภัย
เรือไททานิค เป็นหนึ่งในซากเรืออับปางที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เพราะเต็มไปด้วยเรื่องเล่าและเรื่องราวมากมาย กลายเป็นจุดหมายที่เหล่านักผจญภัยต่างใฝ่ฝันที่จะพิชิตเพื่อพิสูจน์ให้เห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งในชีวิต ซึ่งทุกวันนี้ยังมีน้อยคนบนโลกมากๆ ที่เข้าถึงได้ เพราะเป็นพื้นที่อันตรายมากๆ ซึ่งมีความท้าทายและค่าใช้จ่ายมหาศาล
2 วิกฤตคือโอกาส
Stockton Rush นักธุรกิจชาวอเมริกันซึ่งชื่นชอบการดำน้ำและเคยเป็น วิศวกรทดสอบการบินของเครื่องบิน F-15 มาก่อน ได้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีเรือดำน้ำลึก สำหรับการท่องเที่ยวให้มีต้นทุนที่ถูกลง เพื่อให้คนสามารถชมซากเรือไททานิคได้มากขึ้น
โดยปี 2009 ได้เริ่มก่อตั้ง บ. OceanGate เพื่อพัฒนาเรือดำน้ำ Titan ขึ้น แล้วเริ่มเปิดให้บริการแพ็คเกจทัวร์ชมซากเรือไททานิค ด้วยราคาคนละ 8,750,000 บาท

การสร้างเรือดำน้ำท้าทายและอันตรายแค่ไหน?
การพัฒนาเทคโนโลยีเรือดำน้ำลึกเป็นเรื่องที่ท้าทายสุดๆ เพราะต้องต่อสู้และเอาชนะแรงดันอันมหาศาลใต้ผิวน้ำดังนี้
ซากเรือ Titanic อยู่ที่ 3,800 เมตร 380 เท่าของชั้นบรรยากาศ 3,800,000 kg/m2
ความยากในการเอาชนะแรงดันอันมหาศาลใต้ผิวน้ำเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การสำรวจใต้ทะเลลึกเป็นเรื่องที่ต้องใช้งบประมาณสูงมากและน้อยคนจะทำได้ เพราะมีความท้าทายและอันตรายสุดๆ
โดยการพัฒนาเรือดำน้ำจะแยกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1 Submarine
2 Submersible

เรือดำน้ำ Titan น่ากลัวแค่ไหน?

เรือดำน้ำ Titan ของ บ. OcenGate เป็นเรือดำน้ำสำรวจทะเลลึก หรือ Submersible ทรงกระบอก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.42 เมตร ยาว 6.7 เมตร รองรับผู้โดยสารแบบนั่งกับพื้น ได้ 5 คน น้ำหนัก 10,432 kg ซึ่งขับเคลื่อนด้วยใบพัด 4 ตัวโดยใช้ระบบไฟฟ้า ด้วยความเร็ว 5.6 km/h โดยออกแบบด้วยความแตกต่างที่ไม่เหมือนใครจนกลายเป็นความเสี่ยงมากมายที่เหมือนระเบิดเวลาดังนี้
1 ห้องโดยสาร
ในขณะที่เรือดำน้ำสำรวจทะเลลึกทั่วไป ออกแบบให้มีลำตัวลำตัวกลวงเป็นทรงกลม เพื่อความปลอดภัยจากแรงดันน้ำแบบทุกทิศทุกทาง 360 องศาได้เท่ากัน แต่ Titan กลับออกแบบให้ลำตัวกลวงตามแนวยาว เพื่อให้สามารถบรรทุกผู้โดยสารไปชมเรือไททานิคได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 คน ซึ่งต้องดำน้ำลึกถึงเกือบ 4 ก.ม. ทำให้ห้องโดยสารมีความเสี่ยงเรื่องความแข็งแรง เพราะห้องโดยสารแต่ละด้านรับแรงดันได้ไม่เท่ากัน
2 การเลือกใช้วัสดุ
ในขณะที่เรือดำน้ำสำรวจทะเลลึกทั่วไป จะให้วัสดุเดียวกันในการทำห้องโดยสาร เช่น ไททาเนียม หรือเหล็กกล้า เพราะเป็นวัสดุที่ผ่านการศึกษาและพิสูจน์มากมายว่าสามารถรองรับการหดและขยายตัวเพื่อใช้กับเรือดำน้ำได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลานาน
แต่ Titan เลือกใช้วัสดุผสม โดยมีฝาครอบส่วนหัวและส่วนท้ายใช้ไททาเนี่ยม และลำตัวซึ่งเป็นทรงกระบอกยาว 2.5 เมตร ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์
3 หน้าต่างอะคริลิก
Titan เลือกใช้หน้าต่างอะคริลิกขนาดใหญ่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถชมวิวภายนอกได้กว้างขึ้น แต่เป็นหน้าต่างที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยที่ระดับความลึก 1,300 เมตร มาใช้กับการดำน้ำลึกระดับ 4,000 เมตร ซึ่งลึกกว่ามาตรฐานถึง 3 เท่า เสี่ยงมากๆ
4 ระบบประตู
Titan ใช้ระบบประตูแบบด้านเดียว ด้วยการขันน็อตปิดและเปิดได้จากด้านนอกเท่านั้น ทำให้มีความเสี่ยงที่คนในไม่สามารถเปิดประตูเพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
5 ระบบความปลอดภัย
เนื่องจากการเดินทางในน่านน้ำสากลไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้ Titan เลือกที่จะไม่ผ่านการทดสอบเพื่อรับรองมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยใดๆ เลย

เกิดอะไรขึ้นกับเรือดำน้ำ Titan ?
โดยปรกติแล้วในการดำน้ำเพื่อชมซากเรือไททานิคแต่ละทริป เรือดำน้ำ Titan จะใช้เวลารวมทั้งหมดประมาณ 8 ชั่วโมง โดยจะค่อยๆ ดำจากผิวน้ำสู่ซากเรือไททานิคโดยใช้เวลา 2 ชม. และอยู่ใต้น้ำ 3-4 ชั่วโมง แล้วขึ้นสู่ผิวน้ำโดยใช้เวลาอีก 2 ชั่วโมง
แต่หลังจาก เปิดให้บริการได้ไม่กี่เที่ยว ในวันที่ 18 มิ.ย. 2023 เรือดำน้ำ Titan ได้ขาดการติดต่อกับเรือสนับสนุนที่ผิวน้ำ และเมื่อหน่วยกู้ภัยออกค้นหา ก็พบชิ้นส่วนของเรือดำน้ำ Titan ที่ก้นทะเลใกล้ซากเรือไททานิค ซึ่งเกิดจากการระเบิดด้วยแรงบีบอัดมหาศาลแบบเฉียบพลันขึ้น จนผู้โดยสารทั้งหมด 5 คนเสียเชีวิตในทันที ซึ่งรวมถึง Stockton Rush ที่เป็น CEO และผู้ก่อตั้ง OceanGate ด้วย

สรุปแล้ว
การแข่งขันด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเช่น เครื่องบิน ยานอวกาศ หรือเรือดำน้ำ เพื่อการท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่เจ๋งสุดๆ เพราะช่วยให้คุณมีโอกาสได้ใช้ของดีขึ้นในราคาที่ถูกลง เหมือนกับตั๋วเครื่องบินสมัยนี้ที่ใครๆ ก็บินได้ แต่การลดราคาและต้นทุน โดยไม่คิดถึงความความเสี่ยงและความปลอดภัยที่มากพอ จนเกิดเรื่องเศร้าเหมือน เรื่องเรือดำน้ำ Titan ของ OceanGate นั้นได้ไม่คุ้มเสียจริงๆครับ
จริงๆ แล้วทุกวันของชีวิตคุณก็เหมือนการผจญภัย ที่การตัดสินใจทุกอย่างล้วนมีความเสี่ยง และแต่ละคนก็รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน แล้วคุณคิดว่า ทุกคนที่ตัดสินใจลงเรือลำเดียวกันนี้ มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงที่เราคุยกันในคลิปนี้เท่ากันมั๊ย ซึ่งพี่คิดว่าไม่ แต่เราก็ควรได้เรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดในครั้งนี้ร่วมกันครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке