ก็อปปี้หรือไม่? เทียบกันจุดต่อจุด วิจัย 'หมอเกศ' กับ 'สุขุมพงศ์' คล้ายกันตั้งแต่ชื่อ-เนื้อหา

Описание к видео ก็อปปี้หรือไม่? เทียบกันจุดต่อจุด วิจัย 'หมอเกศ' กับ 'สุขุมพงศ์' คล้ายกันตั้งแต่ชื่อ-เนื้อหา

ก็อปปี้หรือไม่? ส่องบทความวิจัย 'หมอเกศ' เทียบกับ 'สุขุมพงศ์' โดยใช้โปรแกรมตรวจเปอร์เซ็นความเหมือน-คล้าย พบคล้ายกันตั้งแต่ชื่อเรื่อง

กรณี พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ป้ายแดง จากกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับหนึ่ง ถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องวุฒิการศึกษา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ขณะที่เจ้าตัวยืนยันว่า วุฒิการศึกษาที่ได้มาทั้งหมดเป็นของจริง จบจริงไม่มีการซื้อปริญญา มหาวิทยาลัยที่จบก็ไม่ใช่มหาวิทยาลัยห้องแถว และเตรียมเตรียมดำเนินคดีกลุ่มคนบูลลี่ทั้งหมด

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา สืบค้นข้อมูล และรายงานว่า พบว่า ในช่วงปี 2566 ดร.สุขุมพงศ์ ชาญนุวงศ์ เคยมีบทความวิชาตีพิมพ์เผยแพร่ ในชื่อเรื่องว่า Good Governance Application Affecting Organizational Efficiency of ASEAN Community in the New World System หรือแปลเป็นไทยว่า “การประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพองค์กรของประชาคมอาเซียนในระบบโลกใหม่” ซึ่งมีหัวข้อใกล้เคียง กับ บทความวิชา ของ พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย ที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ในปี 2567 ที่ใช้ชื่อว่า Good Governance Principles Affecting Organizational Efficiency of Public Companies in ASEAN Countries หรือแปลเป็นไทยว่า “หลักธรรมาภิบาลที่มีผลต่อประสิทธิภาพองค์กรของบริษัทมหาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน”

ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบยืนยันข้อเท็จจริงเรื่องนี้เพิ่มเติม สำนักข่าวอิศรา ได้นำบทความวิชาการทั้งสองเรื่อง มาเปรียบเทียบกันผ่านเว็บไซต์ชื่อว่า draftable.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์เปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างกันของเอกสาร โดยเปรียบเทียบกันใน 4 ส่วน ได้แก่ 1. Abstract หรือบทคัดย่อ 2.Introduction หรือบทแนะนำ 3.Literature หรือบททบทวนวรรณกรม 4. Conclusion หรือบทสรุป และ 5. References หรือในส่วนของการอ้างอิง

ปรากฏข้อมูลตามการแสดงผลของ เว็บไซต์ draftable.com โดยฝั่งซ้ายจะเป็นบทความของ ศ.ดร.สุขมพงศ์ และ ฝั่งขวาจะเป็นบทความของ พญ.เกศกมล ซึ่งส่วนที่ไม่ได้ถูกด้วยไฮไลท์ด้วยสี นั้นมีความหมายว่าเป็นส่วนที่มีถ้อยคำเหมือนกัน

มีรายละเอียดดังนี้

1.ในส่วนของ Abstract หรือบทคัดย่อ พบว่า จะมีการแทนถ้อยคำอยู่ที่ 12 จุด มีในส่วนของการลบถ้อยคำอยู่ที่ 7 จุด การใส่ถ้อยคำเพิ่มใหม่อยู่ที่ 8 จุด

2.ในส่วนของ Introduction หรือบทแนะนำของวิทยานิพนธ์พบว่า จะมีการแทนถ้อยคำอยู่ที่ 84 จุด มีในส่วนของการลบถ้อยคำอยู่ที่ 39 จุด การใส่ถ้อยคำเพิ่มใหม่อยู่ที่ 19 จุด

3.ในส่วนของ Literature Review หรือบททบทวนวรรณกรม พบข้อมูลว่า มีการแทนถ้อยคำอยู่ที่ 134 จุด มีในส่วนของการลบถ้อยคำอยู่ที่ 22 จุด การใส่ถ้อยคำเพิ่มใหม่อยู่ที่ 54 จุด

4.ในส่วนของ Conclusion หรือบทสรุป พบข้อมูลว่ามีการแทนถ้อยคำอยู่ที่ 17 จุด มีในส่วนของการลบถ้อยคำอยู่ที่ 9 จุด การใส่ถ้อยคำเพิ่มใหม่อยู่ที่ 4 จุด

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://ch3plus.com/news/social/ruang...

-------------------

เรื่องเด่นเย็นนี้ วันที่ 16 กรกฎาคม 2567
ออกอากาศ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 16.30 - 18.00 น.

#เรื่องเด่นเย็นนี้ (Ruangden News )
ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารก่อนใครได้ที่นี่
ch3plus : https://ch3plus.com
facebook :   / 3plusnews  
Twitter :   / 3plusnews  
YouTube :    / 3plusnews  
Tiktok : https://www.tiktok.com/3plusnews

Комментарии

Информация по комментариям в разработке