สอดฝ้ายลายหมอน

Описание к видео สอดฝ้ายลายหมอน

หมอนเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวลาวเวียง บ้านสุขัง ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาโดยมีคติที่ว่าบ้านใดมีลูกสาวผู้เป็นแม่จะต้องพร่ำสอนความเป็นสตรี งานบ้านงานเรือนให้แก่ลูกสาวของตน รวมถึงงานด้านหัตถกรรม หมอนเป็นหัตถกรรมด้านหนึ่ง การทอหน้าหมอนและเย็บหมอนนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญต่อหญิงสาวชาวลาวเวียงมาก เพราะสาวบ้านใดที่ทอผ้าและเย็บหมอนไม่ได้จะไม่เป็นที่หมายปองของชายหนุ่มลาวเวียง ในพิธีแต่งงานหมอนหน้าจกถือเป็นเครื่องสมมา ที่สะใภ้ต้องนําไปไหว้ผู้เป็นแม่สามี และหมอนยังเป็นเครื่องอัฏบริขารในงานบุญอีกด้วย โดยองค์ประกอบของหมอน จะมี 2 ส่วน คือ 1 ส่วนหน้าหมอน 2 ส่วนใบหมอน ซึ่งหน้าหมอนก็จะมีลวดลายที่แตกต่าง
รูปแบบของการแสดง
ช่วงที่ 1 จะกล่าวถึงประวัติที่มาของหมอน ของชาวลาวเวียง บ้านตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ช่วงที่ 2 จะเป็นการพูดถึงกรรมวิธีการจกหน้าหมอน และโชว์ลายหมอนทั้งห้าลาย ดังนี้ ลายดอกไม้ ลายตะขอ ลายกาบ ลายบายศรี และลายนาค
ช่วงที่ 3 จะเป็นพิธีกรรมบวชนาค ที่มีหมอนเป็นเครื่องสมมาในงานบวช

ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
1. นางสาวธริตา สีหล้า
2. นางสาวพัชราภา เฉยกลาง
3. นางสาวสุณัฐธิดา ชราศรี
4. นายนฤสรณ์ ลาภสันเทียะ
5. นางสาวนุชรินทร์ โพธิ์ศรี
6. นายวิศาล คงสูงเนิน

ที่ปรึกษา
1. ผศ.ดร.นวลรวี กระต่ายทอง
2. อาจารย์ ดร.ชุมพล ชะนะมา

Комментарии

Информация по комментариям в разработке