ระบำลพบุรี | ระนาดเอก (+เปียโน) | ไทยเดิม by Fino the Ranad

Описание к видео ระบำลพบุรี | ระนาดเอก (+เปียโน) | ไทยเดิม by Fino the Ranad

มารับชม ระนาดเอก + เปียโน ในบทเพลง "ระบำลพบุรี" หนึ่งในระบำโบราณคดีกันครับ เพลงระบำลพบุรีนี้เป็นระบำชุดที่สามในระบำโบราณคดี ประพันธ์ทำนองโดยครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ มีลักษณะทำนองออกไปทางสำเนียงเขมร และเป็นหนึ่งในเพลงระบำที่โน่ชอบมาก เพราะทำนองที่กระชับ กระฉับกระเฉง และติดหูมาก หวังว่าทุกท่านจะชอบเวอร์ชั่นระนาดที่โน่ตีความออกมาในคลิปนี้กันนะครับ อย่าลืมคอมเมนต์ ไลก์ แชร์ และกดติดตามเป็นกำลังใจให้ Fino the Ranad ด้วยนะครับ

เปียโนโดย ‪@tonxpiano‬
ผู้ช่วยถ่ายทำ: เพ็ญพิชชา วังรัตนากร

สถานที่:
พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี
บ้านวิชาเยนทร์ จ.ลพบุรี
เรือนไทย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม

โน้ตเพลงนี้อยู่ในกลุ่มเฟซบุ๊ก "คนระนาดเอก - The Ranad Family":   / 647162609563724  
INSTAGRAM (Finomenonn):   / finomenonn  
TIKTOK (@Finotheranad)   / finotheranad  
FACEBOOK (Fino the Ranad):   / finotheranad​​​​  

เสื้อเชิร์ตลายไทยประยุกต์จากร้านจริตไทย:   / jaritthai  

อุปกรณ์ถ่ายทำ // Gear I use:

กล้องวิดีโอ: Blackmagic Design Pocket Cinema Camera 6K Pro
https://bit.ly/3Gu1CM4

จอมอนิเตอร์: Blackmagic Design Video Assist Monitor
https://bit.ly/3mmFScJ

___

ข้อมูลเพลงระบำลพบุรี

ระบำลพบุรีเป็นระบำโบราณคดีเพลงหนึ่ง เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางของเทวรูป ภาพเขียน ภาพแกะสลัก รูปปั้น รูปหล่อโลหะและภาพศิลาจำหลัก-ทับหลังประตู ตามโบราณสถาน ที่ขุดพบในสมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ ศิลปวัตถุโบราณประเภทนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมาพระปรางค์สามยอดลพบุรี แล้วนำมากำหนดยุดสมัยตามความเก่าแก่ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ แล้วมาสร้างเป็นระบำสมัยนั้นขึ้น ลีลาท่าทางของศิลปวัตถุเป็นภาพนิ่ง(ท่าตาย) เหมาะเป็นท่าเทวรูปมากกว่า เมื่ออาศัยหลักทางด้านนาฎศิลป์เข้ามาดัดแปลงเป็นท่ารำ ทำให้มีความอ่อนช้อย สวยงาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูลมุล ยมะคุปต์ ร่วมด้วยครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร

ระบำลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เช่นเดียวกับระบำทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุ และภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย อาทิ พระปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี ทับหลังประตูระเบียงตะวันตกของปราสาทหินพิมายในจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้งในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น การแต่งทำนองเพลง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย จึงมีลักษณะคล้ายเขมรเป็นส่วนใหญ่ ระบำลพบุรีแสดงครั้งแรกเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติและที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม

นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยมีสำเนียงออกไปทางเขมร

นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ

(อ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม)

___


เนื้อร้อง เพลงอนุรักษ์ลพบุรี
(ทำนองเพลงระบำลพบุรี 2 ชั้น)
ประพันธ์ โดย ผศ.ยมโดย เพ็งพงศา

ลพบุรีแดนนี้มากมีโบราณสถาน
สมเมืองโอฬาร มาแต่กาลปางหลัง
ถิ่นล้วน นานาศิลปกรรม
วัฒนธรรม ล้ำเลิศล้ำเลอค่า

ศาลพระกาฬคู่เมืองแห่งเรา
ร่มเงานี้แนบเนาว์ หัวใจเราเรื่อยมา
พระนารายณ์นิเวศน์เวียงรัตน์
ร่มฉัตรขวัญประชาเหนือชีวาล้นเกล้าเหล่าไทย

วัดปรางค์ พิพิธภัณฑ์ เจดียสถาน
ตำนานลือเล่า ขอเชิญพวกเราพี่น้องช่วยกัน อนุรักษ์ เอกลักษณ์ของชาติพลัน
พร้อมภูมิใจมั่น ในสัญลักษณ์ ชาติไทย

มาพวกเราร่วมแรงกันช่วยสร้างสรรค์
ถิ่นอันยิ่งใหญ่ เชิดชูถิ่นไทยให้วัฒนา
ลพบุรีจะเป็นศรีของพารา
ของไทยถ้วนหน้า มาอนุรักษ์กันเถิดเอย


#ระบำลพบุรี #ระนาดเอก #เปียโน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке