แก่งฟายเฟือยฟ้อน

Описание к видео แก่งฟายเฟือยฟ้อน

การแสดงชุด แก่งฟายเฟือยฟ้อน
1. ชื่อ : แก่งฟายเฟือยฟ้อน
2. ประเภท : ฟ้อนโอกาสทั่วไป
3. ความยาว : 09.19 นาที
4. ผู้ประดิษฐ์ : นายกฤษดากร บรรลือ นายศุภวัฒน์ นามปัญญา
5. ปีที่ประดิษฐ์ : ตุลาคม 2558
6. วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นการประมวลทักษะในรายวิชาของนิสิตชั้นปีที่ 4
7. เนื้อหา : จากการศึกษานาฏกรรมการฟ้อนหางนกยูงที่พบในแถบอีสานตอนบน บริเวณจังหวัดสกลนคร และนครพนม พบว่า หางนกยูงปรากฏในความเชื่อของผู้คนแถบลุ่มน้ำโขงมาช้านาน นอกจากนี้ยังพบกระจายอยู่ในวรรณกรรม ชาดก และนิทานมุขปาถะ นับเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นอันเป็นศิริมงคล และการปัดป้องสิ่งอวมงคลทั้งมวล ตามแบบคติความเชื่อชาวอีสานที่ว่า “ฮ้ายกวดหนี ดีกวดเข้า”
8. ผู้ประพันธ์บท : อาจารย์ธีรวัตน์ เจียงคำ นายสถาพร จุปะมะตัง
9. วงดนตรี : แคนวง (ดั้งเดิม)
10. เพลง : ลายเพลงสร้างสรรค์ขึ้นใหม่
11. ผู้ประพันธุ์ทำนอง : นายอาทิตย์ กระจ่างศรี (อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
12. ผู้แสดง : หญิง 5 ชาย 5 หรือตามความเหมาะสม
13. การแต่งกาย : ชาย ใส่เสื้อแขนยาว นุ่งผ้าเตี่ยว ผ้ามัดเอว และผ้าตุ้ม
หญิง ใส่เสื้อ นุ่งซิ่นไหมคั่นมีหัวมีตีน เบี่ยงผ้าสไบขิตหลากสี
14. อุปกรณ์การแสดง : หางนกยูงเข้ากำพร้อมด้ามจับ
15. การแสดง : ฟ้อนโดยการใช้หางนกยูงเป็นอุปกรณ์หลักในกรแสดง โดยมีการปฏิบัติท่าฟ้อนตาม การตีความของผู้สร้างสรรค์ผลงานจาก การเริ่มต้นอันเป็นศิริมงคล การไหว้ การ ปัดป้อง และการเกิดความเป็นศิริมงคล (สามารถปรับแปลงได้ตามวาระ โอกาส ในการจัดแสดง)
16. ควบคุมและฝึกซ้อมการแสดงโดย : อาจารย์รัตติยา โกมินทรชาติ อาจารย์ธีรวัตน์ เจียงคำ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке