'ธรรมนัส' ประกาศจับตาย 'ปลาหมอคางดำ' - ซีพีเอฟลั่นทำลายซากตั้งแต่ 14 ปีที่แล้ว ย้ำไม่ใช่ต้นตอระบาด

Описание к видео 'ธรรมนัส' ประกาศจับตาย 'ปลาหมอคางดำ' - ซีพีเอฟลั่นทำลายซากตั้งแต่ 14 ปีที่แล้ว ย้ำไม่ใช่ต้นตอระบาด

'ธรรมนัส' ประกาศล่า 'ปลาหมอคางดำ' เคาะราคา 15 บาท/กก. เพื่อนำไปผลิตเป็นปุ๋ย ด้านอธิบดีกรมประมง ตั้งโต๊ะ แถลงยืนยัน อนุญาตบริษัทเอกชนนำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียวเท่านั้น ในปี 53 และทำลายปี 54 แต่ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่กรมเข้าไปตรวจสอบการฝังกลบ ลั่นยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า อะไรเป็นต้นตอของการระบาด กำหนด 5 มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหา

วานนี้ (17 ก.ค.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวถึงปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่มีการขยายวงกว้างมากขึ้นว่า

“ประกาศจับตาย ! ผมขอเชิญชวนนักล่าทั้งหลาย จับตาย ”ปลาหมอคางดำ“ มีเงินรางวัลนำจับ กิโลกรัมละ 15 บาท โดยการยางแห่งประเทศไทย ตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัดที่มีการแพร่ระบาด (จับตายเท่านั้น) เพื่อนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่อไปครับ”

ขณะที่กรมประมง นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง พร้อมด้วย นายคงภพ อำพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ และนางสาวทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้านประมงน้ำจืด ตั้งโต๊ะแถลงข่าวร่วมกัน เรื่องการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำที่กรมประมง ซึ่งมีนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.พรรคก้าวไกล มาร่วมฟังการแถลงข่าวด้วย

นายบัญชา อธิบายว่า ปลาหมอคางดำอยู่ในบัญชีสัตว์ห้ามนำเข้า โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งการนำเข้าปลาหมอคางดำในครั้งนั้น กรมประมงมีกลไกในการควบคุมการนำเข้า ตั้งคณะกรรมการมาชุดหนึ่ง หรือที่เรียกว่าคณะกรรมการไอบีซี หรือ คณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัยและความหลากหลายทางชีวภาพของกรมประมง สมัยนั้นการจะนำสัตว์เหล่านี้เข้ามาต้องผ่านคณะกรรมการอนุมัติ โดยมีเงื่อนไข 2 ข้อ

1.ให้เก็บตัวอย่างครีบดอง และรายงานผลกลับมายังคณะกรรมการ และ 2 เมื่อยกเลิกการวิจัยจะต้องทำลาย และรายงานผล พร้อมส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำกลับมาที่กรมประมง

โดยผู้ขออนุญาตเอกชน ได้นำปลาเข้ามา 2,000 ตัว ในเดือนธันวาคม 53 ผ่านด่านตรวจสัตว์น้ำ เมื่อนำเข้ามา ก็เข้าสู่ฟาร์มเพาะเลี้ยงที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ตนเองได้เรียกหน่วยงาน กองที่ดูแลกลุ่มงานนี้มาตรวจข้อมูล โดยเอาสมุดบันทึกลงทะเบียนในการลงรับข้อมูล หรือเรียกว่า “สมุดคุม” ที่มีการบันทึก โดยเน้นไปช่วงปี 53 ของเดือนธันวาคม และมกราคม 54 แต่ก็ไม่พบยังไม่พบข้อมูลการนำส่ง 50 ตัวอย่างตามที่บริษัทเอกชนกล่าวอ้างในสมุดคุม

ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ และให้เจ้าหน้าที่หา ก็ไม่มีตามกล่าวอ้าง ยืนยันว่ากรมประมงไม่มีการรับตัวอย่างปลาจำนวน 50 ตัวจากบริษัทผู้นำเข้าแต่อย่างใด

ส่วนสถานการณ์การระบาดของปลาหมอคางดำในขณะนี้ พบแล้วใน 16 จังหวัด (จากเดิม 14 จังหวัดของประเทศไทย) และระบาดหนักใน 5 จังหวัด ทางกรมประมงจึงได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา 5 มาตรการ

1. ประกาศประกาศอนุญาตผ่อนผันการใช้เครื่องมือประมงอวนรุน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดปลาหมอคางดำ

2.ปล่อยลูกพันธุ์ปลานักล่าเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ปลากะพงขาว ปลาอีกรง จำนวน 226,000 ตัว ใน 7 จังหวัด

3.ประสานสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครจำนวน 2 แห่ง เพื่อรับซื้อ ปลาหมอคางดำในจังหวัดใกล้เคียงเพื่อนำไปผลิต เป็นปลาป่น จำนวน 500 ตัน พร้อมทั้งประสานเครือข่ายภาคเอกชนเพื่อรับซื้อปลาหมอคางดำ ไปใช้เป็นปลา เหยื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

4. สำรวจและกระจายเฝ้าระวังการแพร่กระจาย ประชากรปลาหมอข้างดำในพื้นที่เขตกันชน ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อรับแจ้งเบาะแสและพิกัดของปลาหมอคางดำทั่วประเทศ

5. สร้างความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมกำจัดปลาหมอคางดำ

นอกจากนี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายในการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้มาตรการด้านราคา เพื่อจูงใจให้จับปลาหมอคางดำมาขาย ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานภาคีเครือข่ายและชุมชนประมงในพื้นที่ ตั้งเป้าจะเริ่มดำเนินการได้ในสัปดาห์หน้า

ในส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว กรมประมงได้วิจัยเพื่อปรับปรุงโครโมโซมปลาหมอคางดำ เพื่อสร้างประชากรปลาหมอคางดำพิเศษ ที่มีชุดโครโมโซม 4 ชุด เพื่อปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติ ที่มี 2 โครโมโซม เพื่อทำให้ลูกปลาหมอคางดำ เป็นหมัน (3 โครโมโซม) ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้

คาดว่า จะเริ่มทยอยปล่อยสายพันธุ์พิเศษนี้จำนวน 50,000 ตัว อย่างช้าไม่เกินเดือนธันวาคม 2567 และคาดว่าจะสามารถควบคุมการระบาดภายในภายใน 3 ปี

โดยหลังแถลงข่าวเสร็จ ได้เปิดให้ผู้สื่อข่าวสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โดยประเด็นหลักที่สื่อสอบถาม คือ บริษัทที่นำเข้าปลาหมอคางดำ ในกรณีของผู้นำเข้าที่ไม่พบเอกสารการนำส่งปลาตัวอย่างให้กรมประมง ซึ่งไม่สอดคล้องกับที่บริษัทเอกชนอ้างว่าได้นำส่งมาแล้ว ทางกรมจะดำเนินการอย่างไร

ทางอธิบดีกรมประมง ระบุว่า ราชการไทยมีระบบควบคุม เวลาทำอะไรเกี่ยวกับระบบราชการมีหนังสือส่งราชการ และมีสมุดคุม ถ้าบริษัทดังกล่าวมีข้อมูล มีเอกสาร ก็นำส่งเอกสารมา หรือมีบุคคล หรือมีข้อมูลอื่นใดที่จะร่วมกันแสวงหาความจริงในเรื่องนี้ ก็ต้องออกมาร่วมกันพิสูจน์

ทั้งนี้ ตนได้เรียก ผอ.กอง และเจ้าหน้าที่เอาเอกสารมาไล่เรียง โดยมี ผอ.กองกฎหมายมาดู ส่วนฝ่ายของบริษัทผู้รับอนุญาตที่นำเข้า ถ้ามีเอกสารก็ต้องนำออกมาแสดง



อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://ch3plus.com/news/social/morni...
-------------------------
#เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning News)

วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารก่อนใครได้ที่นี่
ch3plus : https://ch3plus.com/news/programs/mor...
facebook :   / morningnewstv3  
Twitter :   / morningnewstv3  
YouTube : https://cutt.ly/MorningnewsTV3
Tiktok :   / morningnewsch3  

#3PlusNews #ข่าวช่อง3 #สรุยทธ #ไบรท์

Комментарии

Информация по комментариям в разработке