เย็นย่ำ (บ้านพาทยโกศล)

Описание к видео เย็นย่ำ (บ้านพาทยโกศล)

เพลงเย็นย่ำนี้เป็นเพลงบรรเลงที่วงปี่พาทย์ไทย - มอญ นิยมอย่างกว้างขวางแทบทุกวง ทุกคณะ
และในทุก ๆ ชุมชนของประเทศไทยในบริเวณที่ประชาชนยังมีความนิยมดนตรีไทยอย่างภาคกลางและนิยมใช้บรรเลงในงานศพด้วย
๑) วงปี่พาทย์นางหงส์ เรียกกันสามัญว่าเครื่องไทย
๒) วงปี่พาทย์มอญ เรียกกันสามัญว่าเครื่องมอญ
รวมถึงวงปี่พาทย์ที่ผสมทั้งเครื่องมอญใช้ปี่ชวา เครื่องไทยผสมกับปี่มอญ ฯลฯ เป็นต้น

รูปแบบวงปี่พาทย์มอญของบ้านพาทยโกศล
วงปี่พาทย์มอญที่บ้านพาทยโกศลนั้น
หากใช้ชุดที่เป็นเครื่องมุกนั้น จะใช้ฆ้องกระแตคู่กันและยึดถือเช่นนี้กันสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ถ้าหากใช้เครื่องมอญชุดอื่น ๆ นั้นก็ใช้ฆ้องมอญวงเล็กเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์มอญโดยทั่วไป

วงปี่พาทย์มอญเครื่องมุก หากเล่นแบบเต็มวง
ตามที่ยึดถือสืบกันมา ก็มักจะใช้ทั้งปี่มอญ ปี่ชวาและปี่นอกหรือปี่นอกต่ำเป่าควบกันไปทั้ง ๓ ปี่หรือ ๒ ปี่ทุกครั้ง
ดังปรากฏหลักฐานการบรรเลงเช่นนี้มาตั้งแต่
คราวที่บรรเลงวงดนตรีปี่พาทย์มอญเครื่องมุก
ในการพระศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
และเจ้านายทุกพระองค์สืบต่อมาทุกคราว
ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่(เครื่องมอญประดับมุก)สรุปได้ว่ามีดังนี้
- ชุดเครื่องมอญ มี
ฆ้องมอญประดับมุก
ฆ้องกระแตประดับมุก
เปิงมางคอกชุดประดับมุก
ตะโพนมอญ(เท้าตะโพนมอญประดับมุก)
-ชุดระนาดรางประดับมุก มี
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
-เครื่องประกอบจังหวะ
ฉิ่ง
ื ฉาบเล็ก
ฉาบใหญ่
กรับคู่(ทำจากไม้จริง)
กระจังโหม่ง ๓ ใบ (ชุดที่ขาตั้งเป็นหงส์คู่)
-ในบางครั้งคราว อาจเพิ่มหรือลดเครื่องดนตรี
ื ตามความเหมาะสมได้ ดังนีั
กลองแขกหรือบางท่านเรียกลองคู่) ชุดประดับมุก
ตะโพนไทย(เท้าตะโพนประดับมุก)
- เครื่องเป่า ๒ ชิ้นหรือ ๓ ชิ้น ทั้งนี้ตามแต่จะหาคนปี่ได้ ในคราวนั้นเอง มีปี่มอญ ปี่ชวาและปี่นอก(หรือปี่นอกต่ำ)

-
เพลงเย็นย่ำ หรือ เพลงตับเย็นย่ำ
(ทางบ้านพาทยโกศล)
ทราบจากครูหลายท่านว่านักดนตรีและนักร้อง
ของบ้านพาทยโกศลบรรเลงในรูปแบบนี้มานานแล้ว
กล่าวคือ จะขึ้นต้นด้วยเพลงเต่ากินผักบุ้งเป็นอันดับแรก โดยเนื้อร้องในเพลงเต่ากินผักบุ้งนี้มีส่วนหนึ่งเป็นเนื้อร้องที่ใช้ร้องในเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง
นอกจากนี้ การว่าดอกในเพลงเต่ากินผักบุ้ง
จะมีเนื้อร้องเป็นการเฉพาะ คือ
๑) ดอกกุหลาบ... ขอให้เจ้าภาพ....
๒) ดอกอุบล... พาทยโกศล....
เมื่อจบเพลงเต่ากินผักบุ้งก็บรรเลงเพลงอื่น ๆ ไปตามปกติเหมือนกับที่ทุกสำนักดนตรีบรรเลงกันโดยทั่วไป

*** ข้อสังเกตตรงส่วนเนื้อร้องท่อนที่ว่า
"เดินไป .... สะพานนายไกร"
ที่นิยมใช้ร้องกันโดยทั่วไป ครูชัยพร ทับพวาธินท์
ได้แจ้งให้ทราบว่า ครั้งหนึ่งแม่ลอ(ครูชลอรัตน์ อ่วมหร่าย) ได้บอกให้ครูชัยพร ทับพวาธินท์
ปรับคำร้องเป็นคำว่า
"เดินไป.... สะพานนางกราย"
เห๋นจะเหมาะควรกว่า เนื่องจากวังข้างในนั้น
มีแต่เหล่าท้าวนางสนมกรมใน ไม่มีผู้ชายอยู่ด้วย
สะพานนั้นจึงมีแต่นางข้างในเป็นผู้ใช้เท่านั้น
คนจึงเรียกขานสะพานนั้นจนติดปากว่า
"สะพานนางกราย" ตามกิริยาท่วงทีการเดินกรีดกรายของชาววัง
สะพานที่กล่าวถึงในบทเพลงนั้น อาจเป็นสะพานที่มีอยู่ในวังมาแต่ครั้งโบราณ เป็นหนทางที่ต้องใช้ประจำสำหรับนางข้างใน จึงพากันเกิดเรียกติดปากขึ้นว่า "สะพานนางกราย" ก็เป็นได้ แล้วต่อมาบทร้องนี้แพร้หลายไปในวงกว้าง ก็พากันเพี้ยนกันไป แล้วอาจชื่อพ้องกับสะพานที่ชื่อ "สะพานนายไกร" ที่มีอยู่นอกวัง
นักดนตรีเห็นเป็นตอดปากอยู่แล้วจึงพากันร้องไปด้วยคำนั้นมาจนกระทั่งไม่สามารถสรุปความได้

การขับร้องนีัสุดแต่นักร้องท่านใด วงดนตรีคณะใน สำนักใดจะนิยมอย่าฃใด ก็มิได้มีข้อสรุปว่าผิดหรือถูก และคงหาข้อเปรียบเทียบเอาถูกผิดกันมิได้ เนื่องจากชื่อสะพานนางกรายหรือสะพานนายไกรนั้นไม่ปรากฏอยู่ ณ แห่งหนใดในปัจจุบัน เนื่องจากที่กล่าวมานี้เป็นแต่เพียงเรื่องสันนิษฐานขึ้นตามหลักการดังกล่าวมาในเบื้องต้น จึงต้องพึ่งผู้รู้ต่อไป แต่ถึงกระนั้น การที่จะร้องด้วยเนื้อความใด ๆ ก็ไม่มีผลให้บทเพลงขาดอรรถรสความไพเราะไปได้เลย บทเพลง ทำนองเพลงก็ยังคงสมบูรณ์และเกิดความสุนทรียภาพแก่ผู้ฟังเป็นประจักษ์พยานอยู่ในตัวเองตลอดมา

Комментарии

Информация по комментариям в разработке