10 เรื่องจริงของปากีสถานที่คุณอาจจะไม่เคยรู้จักดินแดนแห่งนี้

Описание к видео 10 เรื่องจริงของปากีสถานที่คุณอาจจะไม่เคยรู้จักดินแดนแห่งนี้

ขอขอบคุณทุกการรับชม หากผิดพลาดประการใตต้องขออภัย ขอ 1 Subscribe เพื่อเป็นกำลังใจให้เราค่ะ ขอบคุณค่ะ
========================================================
Credit
https://en.wikipedia.org/wiki/Pakistan
https://today.line.me/th/v2/article/2...
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...

1. การก่อตั้งปากีสถาน : ปากีสถานก่อตั้งขึ้นในปี 1947 หลังจากการแบ่งแยกดินแดนจากอินเดีย โดยมีเป้าหมายในการสร้างประเทศสำหรับชาวมุสลิมในอนุทวีปอินเดีย ปากีสถาน มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และจีนและมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำโอมาน ในอดีตปากีสถานเคยเป็นรัฐหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ ปัญหาข้อขัดแย้งมาจากส่วนใหญ่ในอินเดียจะมีชาวฮินดูมาก แต่ปากีสถานและบังกลาเทศมีจำนวนชาวมุสลิมมากกว่า ทมาจึงเกิดการแยกประเทศกันเป็นปากีสถานตะวันตก (ปากีสถานปัจจุบัน) และปากีสถานตะวันออก (บังกลาเทศ) ภายหลังพื้นที่ปากีสถานตะวันออกซึ่งไม่ได้ถูกดูแลพัฒนาจากรัฐบาลนักจึงได้ประกาศเอกราชเป็นประเทศบังกลาเทศ ในปี ค.ศ. 1971 ประเทศปากีสถานตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 โดยมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์
2. ภาษาประจำชาติ: ปากีสถานมีภาษาประจำชาติคือภาษาอูรดู (Urdu) แต่ภาษาอังกฤษก็ใช้เป็นภาษาทางการในการบริหารและการศึกษา
และคำว่า "ปากีสถาน" มีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและ
3. ประชากร: ปากีสถานมีประชากรกว่า 240 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 ของ[11] โดยชาวปัญจาบเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ มีจำนวนกว่าร้อยละ 60-70 รองลงมาเป็นพวกซินด์ และปาทาน นอกจากนี้ยังมีประชากรกลุ่มอื่น อย่างชาวอัฟกันอพยพ, บัลติ, เคอร์ดิสถาน, กัศมีร์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังอย่าง ชาวปากีสถานเชื้อสายจีน และชาวปากีสถานเชื้อสายไทย
ประชากรกว่าร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม โดยส่วนใหญ่เป็นซุนนีย์ ส่วนร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นชีอะห์ มีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่บ้าง แต่มีอยู่ประปราย และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง
4 เมืองหลวง: กรุงอิสลามาบัด (Islamabad) เป็นเมืองหลวงของปากีสถาน ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภูเขาและที่ราบ อิสลามาบัดเป็นเมืองที่มีวางผังไว้ก่อน (planned city) ซึ่งเริ่มในทศวรรษ 1960 เพื่อเป็นเมืองหลวงแทนที่การาจี อิสลามาบัดเป็นเมืองที่มีมาตรฐานการดำรงชีพที่สูง[4] มีความปลอดภัยสูง[5] และเต็มไปด้วยพืชพรรณไม้ต่าง ๆ [6] อิสลามาบัดเป็นที่ตั้งขององค์กรทางการเมืองของประเทศปากีสถาน ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองคือองค์กรบริหารนครอิสลามาบัดปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม มีประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
5. เทือกเขา K2: ปากีสถานเป็นที่ตั้งของภูเขา K2 ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับสองของโลก รองลงมาจากเทือกเขาเอเวอเรสต์ โดยอยู่ในเทือกเขาการาโกรัม (Karakoram Range) ยอดเขาเคทูมีความโดดเด่นในเรื่องของความสูงและความชัน โดยตัวภูเขาเป็นทรงพีระมิดที่มีด้านทั้งสี่ที่ชันมาก โดยด้านเหนือของภูเขาจะมีความชันมากที่สุด
6. วัฒนธรรมการแต่งงาน: การแต่งงานในปากีสถานมีความซับซ้อนและเป็นพิธีการที่สำคัญ ในบางพื้นที่การจัดงานแต่งงานอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ และมีการเฉลิมฉลองหลากหลายรูปแบบ และลักษณะทางสังคมส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม ยังยึดจารีตและวัฒนธรรมมุสลิมอย่างเคร่งครัดในการดำรงชีพ แต่ภายหลังเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงมีการเปลี่ยนไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกบ้าง เช่น ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมทางการเมือง งานสวัสดิการสังคม และมีการเรียกร้องสิทธิสตรีให้ทัดเทียมกับบุรุษ โดยจะต้องอยู่ในกรอบวัฒนธรรมอิสลาม

7. มรดกโลก: ปากีสถานมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหลายแห่ง เช่น
โบราณสถานโมเฮนโจดาโร (Mohenjo-daro) ซึ่งเป็นหนึ่งในอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ (Indus Valley Civilization) ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก


8. เศรษฐกิจ: ปากีสถานเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจผสมผสานระหว่างเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ และชาวปากีสถานแสดงให้เห็นถึงอย่างแท้จริง ผู้ที่มาเยือนจะพบหลักฐานถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวปากีสถาน ศิลปกรรมของชาวปากีสถานมีรูปแบบทั้งที่เป็นศิลปกรรมทางศาสนา เช่น พรมขนสัตว์ เครื่องทองเหลือง และรูปแกะสลักเป็นสิ่งค้าส่งออก มีจีดีพีต่อหัว
• ต่อหัว $1,543
9. ศิลปะและดนตรี: ปากีสถานมีศิลปะดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น กวาลี (Qawwali) ซึ่งเป็นแนวดนตรีศักดิ์สิทธิ์ที่มีรากฐานมาจากศาสนาอิสลาม ดนตรีและการฟ้อนรำมีประวัติอันยาวนาน การฟ้อนรำเป็นการฟ้อนของชาวปากีสถานโดยเฉพาะ สถานที่สำคัญในประเทศปากีสถานมีอยู่มากมาย เช่น เมืองโมเฮนโจดาโร เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ
10. ดินแดนแคชเมียร์ คือภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของอนุทวีปอินเดีย ซึ่งก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า "กัศมีร์" ถูกใช้เพื่อสื่อถึงหุบเขากัศมีร์เท่านั้น ซึ่งเป็นหุบเขาที่คั่นระหว่างเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาปีร์ปัญจาล แต่ในปัจจุบัน คำว่ากัศมีร์ครอบคลุมถึงพื้นที่ในสามประเทศ ได้แก่อาณาบริเวณในปกครองของประเทศ อินเดีย ปากีสถาน จีน
ดินแดนแคชเมียร์ ซึ่งถูกกล่าวขานว่าเป็น สวิตเซอร์แลนด์แห่งทวีปเอเชีย หรือกล่าวอีกในหนึ่งคือเป็น ดินแดนแห่งสวรรค์บนดิน ที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้ถึงบรรยากาศที่มีความเป็นธรรมชาติ ราวกับเหมือนอยู่บนสรวงสวรรค์

#pakistan #history #ปากีสถาน #เที่ยวปากีสถาน #ภูเขาK2 #karakoramhighway #สวิตเซอร์แห่งเอเชีย

Комментарии

Информация по комментариям в разработке