การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

Описание к видео การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

“...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร... ...บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้ เป็นอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เป็นต้นไป...”
— ประชาธิปก ปร.

นี้คือบางส่วนของคำประกาศสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทรงลงพระปรมาภิไธยท้ายพระราชหัตถเลขา พระราชทานให้กับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไปเข้าเฝ้าฯ
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร? ติดตามได้ในคลิปนี้ครับ

-----------------------------------------------------
**ข้อมูลอ้างอิง**

แถลงการณ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ. พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร. นายสนั่น ตันบุญยืน ผู้พิมพ์โฆษณา. วันที่ 21/2/98.

พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8...

ปรีดี พนมยงค์. เค้าโครงการเศรษฐกิจหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์). พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2552).

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพ:6ตุลารำลึก. 2544.

สุพจน์ ด่านตระกูล. พระปกเกล้ากับคณะราษฎร. กรุงเทพ:สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม. 2544

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. ๒๕๔๖. กรณี ร.๗ ทรงสละราชสมบัติ: การตีความและการสารต่อความหมายทางการเมือง. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2549). ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500. กรุงเทพ : โครงการตำราฯ.

พรภิรมณ์ เชียงกูล. (2535). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เล่ม 1. กรุงเทพ : โอเดียลสโตร์.

จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (พิมพ์ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555). เจ้าชีวิต. กรุงเทพ : ริเวอร์บุ๊ค.

ณัฐพล ใจจริง. ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ. นนทบุรี:ฟ้าเดียวกัน. 2556.

สายชล สัตยานุรักษ์. การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ : ประวัติศาสตร์สังคมไทย ฉบับสมบูรณ์. สกว. 2558.

การสละราชสมบัติ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ และบทวิเคราะห์ ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล -http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title...

การทรงเจรจากับรัฐบาลถึงเงื่อนไขหากจะให้ทรงอยู่ในราชสมบัติต่อไป ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล - http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title...
-----------------------------------------------------
หมายเหตุ: บทความที่เขียนขึ้นเพื่อนำมาเล่าในวีดีโอนี้ ทางเราพยายามจะให้เป็นกลางที่สุด ระมัดระวังที่สุด เกลาอยู่หลายครั้ง เพื่อไม่กระทบกระเทือนฝั่งใดมากพิเศษ หากผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยครับ หวังว่าทุกท่านจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке