ขั้นตอนเตรียมและวิธีละลายแม่ปุ๋ย AB ไฮโดรโปนิกส์ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด รวมอัตราส่วนการใช้งาน

Описание к видео ขั้นตอนเตรียมและวิธีละลายแม่ปุ๋ย AB ไฮโดรโปนิกส์ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด รวมอัตราส่วนการใช้งาน

✅ อุปกรณ์ไฮโดรโปนิกส์ ครบวงจร
✅ จำหน่าย รางปลูก เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ
✅ อุปกรณ์ พ่นหมอก ในโรงเรือน/อาคาร
✅ รับให้คำปรึกษา วางระบบ จัดทำโรงเรือน

มีข้อสงสัย หรือสอบถามข้อมูล
หรือสนใจสั่งซื้ออุปกรณ์ไฮโดรโปนิกส์
ช่องทางการตอบกลับไวที่สุด
คือช่องทาง LINE นะครับ

LINE@ : @greenlikefarm
หรือกดจากลิ้งค์ด้านล่างครับ
https://lin.ee/LFsmZRg

ฝากกดไลค์กดติดตามเพจให้ด้วยนะครับ
  / greenlikefarm  

ช่องทางสั่งซื้อทาง Shopee
https://shopee.co.th/greenlikefarm?sm...

ปล.!! สินค้าส่วนใหญ่จะไม่ได้ลงใน Shopee นะครับ
การสั่งซื้อหลักและการตอบคำถามหรือขอคำแนะนำ
จะตอบช่องทาง LINE@ เป็นหลักครับ

คลิปนี้เป็นการละลายแม่ปุ๋ย AB ที่ถูกต้อง
และดีสุดนะครับ ส่วนคลิปที่เคยอัพไว้ใช้ได้เหมือนเดิม
แต่แม่ปุ๋ยจะเจือจางลงเล็กน้อย แต่การทำงานสะดวกขึ้นไวขึ้น
อยู่ที่จะเลือกวิธีไหนนะครับ อัตราส่วนแนะนำ จริงๆแนะนำ
โดยการอิงค่าจากเคื่องวัด EC นะครับ แต่สำหรับคนที่เริ่มต้น
และยังไม่มีเครื่องวัด หรือยังไม่อยากซื้อเครื่องวัด EC

อายุผักนับจากวันเพาะเมล็ดเลยนะครับ
PH ปรับคงที่แนะนำ 6.0-6.5

อายุ 5-15 วัน
อัตราส่วน 2 ซีซี/ น้ำ 1 ลิตร
หรือค่าจากเครื่องวัด 800-1000 us/cm

อายุ 16-25 วัน
อัตราส่วน 3 ซีซี/ น้ำ 1 ลิตร
หรือค่าจากเครื่องวัด 1200 -1400 us/cm

อายุ 26-38 วัน
อัตราส่วน 4-5 ซีซี/ น้ำ 1 ลิตร
หรือค่าจากเครื่องวัด 1600-1800 us/cm

อายุ 39-42 วัน
ลดอัตราส่วนลง 3 ซีซี/ น้ำ 1 ลิตร
หรือค่าจากเครื่องวัด 1200-1400 us/cm

และ 3 วันสุดท้าย
เลี้ยงน้ำเปล่าเพื่อให้ผักใช้ธาตุอาหาร
สะสมออกไปจนหมด หรือปล่อย PH ด่าง
ให้เกิน 7.0 ขึ้นไปเลยก็ได้เพื่อปุ๋ยเสื่อมสภาพ
หรือตกตะกอนไปเองครับ

หมายเหตุ การให้ปุ๋ยหรือการใช้
อัตราส่วนค่าที่ได้อาจจะไม่ตรงขึ้นอยู่กับ
แหล่งน้ำหรือค่าน้ำตั้งต้นที่ใช้ด้วยนะครับ

คำแนะนำในการให้ปุ๋ย AB
ธาตุเหล็กที่เป็นธาตุอาหารสำคัญของพืช
โดยทั่วไปจะทำงานอยู่ได้แค่ 8-12 ชั่วโมง
ถึง PH จะไม่สูงก็จะเสื่อมสภาพไปเอง
แต่ธาตุอาหารรองอื่นๆบางตัวจะไม่หมดไป
ถ้าให้ดีที่สุดในการเติม AB ไม่ควรนานเกิน 3-4 วัน

และอัตราส่วนหรือค่า EC ที่ใส่ลงในการปลูก
ควรปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล หรือสภาพอากาศ

หน้าร้อน แนะนำ ปรับ EC ไม่สูงมาก
แนะนำอยู่ในเกณฑ์ 1200-1400 us/cm

หน้าฝน ช่วงที่ฟ้าปิดไม่มีแดดบ่อยๆ
ลด EC ลงต่ำ แนะนำอยู่ในเกณฑ์ 1000-1200 us/cm
เพื่อลดอาการยืด หรือลดอาการทริปเบิร์น ที่เกิดขึ้น
จากการสะสมสารอาหารมากเกินไป ที่เกิดจากแสงแดด
ไม่มี ทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงออกไปได้

หน้าหนาว อากาศเย็น
ปรับค่าตามเกณฑ์ปกติได้เลยครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке