รู้งี้ทำตั้งนานแล้ว..!! ต่อขนาน คาปาซิเตอร์ Vs ต่ออนุกรม คาปาซิเตอร์ มันต่างกันอย่างไร..??

Описание к видео รู้งี้ทำตั้งนานแล้ว..!! ต่อขนาน คาปาซิเตอร์ Vs ต่ออนุกรม คาปาซิเตอร์ มันต่างกันอย่างไร..??

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY

สำหรับวันนี้ ผมจะพามาดูว่า หากเรานำ คาปาซิเตอร์ มาต่อแบบ ขนาน และ ต่อแบบ อนุกรม ค่าผลลัพท์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ?

เรามา เริ่มต้นการต่อแบบ ขนานกันก่อนเลยครับ การต่อแบบขนาด ผมจะยกตัวอย่างมา 3 แบบ

แบบที่ 1 ก็คือ การต่อขนาน ที่ค่าความจุ และ ค่าแรงดัน เท่ากัน

สมมุติว่า เพื่อนๆ มี คาปาซิเตอร์ 5 ตัว มีค่าเดียวกันทั้งหมดนั้นก็คือ 1,000 uF 25V 5 ตัว ต่อในลักษณะขนานกัน
ถ้าต่อแบบนี้ ค่าความจุที่ได้ ก็จะ = การนำค่าตัวเก็บประจุมารวมกัน
เพราะฉะนั้น คำตอบก็จะเท่ากับ 5,000 uF และการทนแรงดันก็จะเท่ากับ 25V วิธีนี้จะเห็นเค้านิยมต่อใช้กันบ่อยๆ เช่น โมใส่แหล่งจ่ายแอมป์จิ๋ว

แบบที่ 2 ใช้ C ต่อขนานกัน ที่ค่าควาจุไม่เท่ากัน
ถ้าหาก เพื่อนๆมี คาปาซิเตอร์ ที่มีค่าต่างกัน อย่างเช่น ตัวที่ 1 , ตัวที่2, ตัวที่ 3 มีค่าการเก็บประจุ 1,000 uF 25V
และตัวที่ 4 ตัวที่ 5 มีค่าความจุ 2,000 uF 25V มันก็ยังจะใช้วิธีการคำนวณเหมือนเดิม นั้นก็คือ นำค่า การเก็บประจุมาบวกกัน
เพราะฉะนั้น คำตอบที่ได้ก็จะเท่ากับ 7,000 uF และการทนแรงดันก็จะเท่ากับ 25V

แต่จะมีในอีกในกรณีหนึ่ง แบบที่ 3 นั้นก็คือ ตัวเก็บประจุมีค่าการเก็บประจุเท่ากัน แต่ ค่าทนแรงดันไม่เท่ากัน
ก็คือ ถ้าหากผมใช้ C ค่าเดิม และ C ทุกตัวทนแรงดันได้ 25V แต่ดัน มี C อยู่ตัวหนึ่งทนแรงดันได้ 16V
เพราะฉะนั้นค่า แรงดันที่มันทนได้ ตามตัวที่มันทีค่าแรงดันน้อยที่ สุด
คำตอบที่ได้ก็จะเท่ากับ 7,000 uF ทนแรงดันที่ 16V

สรุปง่ายๆก็คือ การต่อขนานของ C ก็คือเราจะต่อ + ชน + - ชน - ขนานกันไปเรื่อยๆจะกี่ตัวก็ว่ากันไป
ค่าความจุที่ได้ก็มาจากการบวก + ค่าของ C ทั้งหมด เข้าด้วยกัน มันจะเหมือนเราได้ C ตัวใหม่ตัวหนึ่ง เป็นตัว C ที่ใหญ่ขึ่้น แต่การทนแรงดันรวมของมัน จะคิดจาก C ตัวที่ทีค่าแรงดันน้อยที่สุด
ไม่ได้คิดจากการเฉลี่ย ของ ซีทุกค่า นะครับ

สำหรับการต่อ C แบบอนุกรม
ก็คือการต่อ บวก ตัวหนึ่ง ชน ลบ อีกตัวหนึ่ง ชนกันไปเรื่อยๆ
หาก เพื่อนๆ มี คาปาซิเตอร์ ที่มีค่าเดียวกัน อย่างเช่นมีค่า C 1,000 uF 25V 5 ตัว มาต่ออนุกรมกัน
ค่าความจุที่ได้จะเท่ากับ ค่าความจุของC นำมาหารกับจำนวนของ C
เพราะฉะนั้น 1000uf หาร 5 ก็จะเท่ากับ 200uF
สังเกตุว่า การเก็บประจุจะน้อยลง
แต่ค่าแรงดันที่ C ตัวนั้นทนได้ จะตรงกันข้ามเลยครับ มัน จะเท่ากับ แรงดันทั้งหมดมารวมกัน
ก็จะได้เท่ากับ C ตัวละ 25V x กัน 5 ตัว = 125V
ก็จะเหมือนกับว่าเรามี คาปาซิเตอร์ ตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ที่ทนแรงดันได้สูงขึ้น แค่ค่าการเก็บประจุ อย่างที่บอก มันก็จะน้อยลงไป

และสำหรับการ ต่ออนุกรม C ที่ค่าความจุของ C ไม่เท่ากัน
เขามักที่จะไม่นิยมทำกัน เพราะจะมี C ตัวใดตัวหนึ่ง ทีทำงานหนักว่าเพื่อน เพราะ ฉะนั้น ในคลิปนี้ผมจึงไม่ขอเอ่ยถึง ละกันนะครับ

สรุปว่าการต่อ C ทั้ง 2 แบบ มันให้ค่าผลลัพท์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ยังไงๆ เพื่อนๆ ก็ลอง เลือกนำไปประยุกต์ ให้มันเหมาะสมกับงานของเพื่อนๆดูละกันนะ ครับ

ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке