คนดังกับโรค : หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง ...จากสาเหตุการป่วย โรคหนึ่ง ? นำไปสู่การเสียชีวิต

Описание к видео คนดังกับโรค : หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง ...จากสาเหตุการป่วย โรคหนึ่ง ? นำไปสู่การเสียชีวิต

คนดังกับโรค : หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง ...จากสาเหตุการป่วย โรคหนึ่ง ? นำไปสู่การเสียชีวิต

บทความเรื่อง Risk of Ischemic Stroke in Patients with Ovarian Cancer: A Nationwide Population-Based Study
รายงานว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน นักวิจัยจึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งรังไข่และ ischemic stroke และระบุปัจจัยพยากรณ์ความเสี่ยงในผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ที่มีอายุ 20 ปีหรือมากกว่า ซึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์ของโรคหลอดเลือดสมอง และได้ติดตามนานกว่าหนึ่งปีระหว่างวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2003 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2011

จากฐานข้อมูล Taiwan National Health Insurance ค่า hazard ratios ต่อความเสี่ยงสโตรคสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่เทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบที่เทียบเคียงด้านอายุและโรคร่วมคำนวณจาก Cox proportional regression analysis ความแตกต่างด้านอุบัติการณ์สะสมของ ischemic stroke ในผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่และกลุ่มควบคุมวิเคราะห์ด้วย Kaplan-Meier method และทดสอบด้วย log-rank test

ผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม กลุ่มมะเร็งรังไข่และกลุ่มจับคู่ ประกอบด้วยผู้ป่วย 8,810 ราย และมีมัธยฐานอายุ 49 ปี ภายหลังมัธยฐานการติดตาม 2.68 ปี และ 3.85 ปี ตามลำดับ พบว่าอุบัติการณ์ของ ischemic stroke สูงขึ้น 1.38 เท่าในกลุ่มมะเร็งรังไข่เทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ 9.4 versus 6.8 per 1,000 person-years โดยมีค่า HR ปรับตามอายุและโรคร่วมเท่ากับ 1.49 ความเสี่ยง ischemic stroke จากมะเร็งรังไข่เห็นได้ชัดกว่าในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 50 ปี เทียบกับผู้ป่วยอายุ 50 ปี หรือมากกว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญซึ่งพยากรณ์การเกิด stroke ได้แก่ อายุ 50 ปี หรือมากกว่า ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน และการรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยเฉพาะสูตรยา platinum-based

มะเร็งรังไข่พบได้ทุกกลุ่มอายุ โดยชนิดและอุบัติการณ์ของมะเร็งแตกต่างกันไปตามอายุในเด็กและสตรีที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 60 จะเป็นเนื้องอกรังไข่ชนิดเจอร์มเซลล์ พบมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวร้อยละ 85 ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุด มะเร็งชนิดนี้พบน้อยในวัยรุ่น อุบัติการณ์จะสูงขึ้นตามอายุ โดยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหลังอายุ 40 ปี และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอายุ 55 ปี หลังจากนั้นจะลดลง

การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่โดยเฉพาะชนิดเยื่อบุผิว โดยหญิงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว ได้แก่ อายุมาก แต่งงานแต่ไม่มีบุตร มีประวัติเป็นโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ลำไส้ใหญ่ หรือเต้านม และมีประวัติญาติพี่น้องในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ การที่มีการตกไข่อย่างต่อเนื่องทุกเดือน หญิงที่หมดระดูเมื่ออายุมาก สำหรับหญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวน้อยได้แก่ มีบุตรมาก มีภาวะไม่ตกไข่ และมีการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด โดยการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดนาน 5 ปี สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ลงได้ครึ่งหนึ่ง หญิงที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกโดยเหลือรังไข่ไว้ หรือได้รับการทำหมัน การตั้งครรภ์และการให้นมบุตรเป็นเวลานานมีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ ส่วนการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์หรือกาแฟ และการใช้ฮอร์โมนเอสโตเจนในวัยหมดระดูไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่

Комментарии

Информация по комментариям в разработке