การเข้าจำพรรษาและสัตตาหกรณียะ (อธิบายประเด็นสำคัญ) โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

Описание к видео การเข้าจำพรรษาและสัตตาหกรณียะ (อธิบายประเด็นสำคัญ) โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

#การเข้าจำพรรษาและสัตตาหกรณียะ (อธิบายประเด็นสำคัญ)
โดย พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
ณ วัดป่าเทพจักรพันธ์ ต.ตะกุดไร อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗

เมื่อถึงฤดูฝน ก็เป็นช่วงที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้เหล่าภิกษุเข้าจำพรรษาเพื่ออยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่ง หากภิกษุ #จงใจไม่เข้าจำพรรษา #ต้องอาบัติทุกกฏ โดยเดินทางผ่านเข้าออกกี่วัด ก็จะต้องอาบัติทุกกฏตามจำนวนวัด
(วิ.มหา.๔/๑๘๕-๖/๒๖๑, วิ.อฏฺ.๓/๑๔๕)

*#วันเข้าพรรษา มี ๒ วัน
#การเข้าจำพรรษาต้น ทำได้เฉพาะวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (หลังอาสาฬหบูชา ๑ วัน)
#การเข้าจำพรรษาหลัง ทำได้เฉพาะวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙

*#วิธีเข้าจำพรรษา
ทำได้โดยการผูกใจไว้ว่า "จะอยู่ที่นั้นตลอด ๓ เดือน"
#กรณีเข้าจำพรรษาในวัด พึงกล่าวว่า
"อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ"
(เราจะเข้าจำพรรษาตลอด ๓ เดือนนี้ในวัดนี้)
(ดู วิ.อฏฺ.๓/๑๔๕)
#กรณีเข้าจำพรรษาในสถานที่ที่มิใช่วัด พึงกล่าวว่า
"อิธ วสฺสํ อุเปมิ" (เราจะเข้าจำพรรษาในที่นี้)
(ดู วิ.อฏฺ.๓/๑๕๐)

หมายเหตุ :
จะกล่าวเพียงครั้งเดียว ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้งก็ได้ หรือแม้ไม่กล่าวอะไร เพียงมีอาลัย (ผูกใจ) ว่าจะอยู่ประจำในที่นั้น ก็ใช้ได้
กรณีจำพรรษาในเสนาสนะที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เช่น ในเกวียนหรือในเรือ ไม่ต้องกล่าวอธิษฐานจำพรรษาแบบน้้น ควรทำเพียงอาลัยว่า "อิธ วสฺสํ วสิสฺสามิ" (เราจะอยู่ที่นี้) (คือเปลี่ยน อุเปมิ เป็น วสิสฺสามิ)

หมายเหตุ :
จะอธิษฐานเข้าจำพรรษาที่ไหนในเขตที่ตนจะจำพรรษาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำในโรงอุโบสถหรือในสีมา เพราะไม่ใช่สังฆกรรม และจะทำพร้อมกับพระในวัดหรือทำรูปเดียวก็ได้
สามเณรก็ต้องเข้าจำพรรษาเช่นเดียวกับภิกษุ
*ถ้าสามเณรศีลขาด (คือผิดศีล ๕ ข้อแรก) ในระหว่างเข้าจำพรรษา ก็เท่ากับพรรษาขาด

#สถานที่ที่จำพรรษาได้
#ต้องเป็นสถานที่ที่มีเครื่องมุงบังและมีประตูเปิดปิดได้ จะอธิษฐานจำพรรษาในที่กลางแจ้ง ในกลด หรือในเต้นท์เป็นต้นไม่ได้
(ดู วิ.มหา.๔/๒๐๔/๒๘๕-๗, วิ.อฏฺ.๓/๑๕๑-๒)

#การขาดพรรษา
ในช่วง ๓ เดือนที่เข้าพรรษาอยู่ หากออกจากเขตจำพรรษาจาริกไปในที่ต่างๆ #ให้อรุณขึ้นนอกเขตที่ตนจำพรรษา พรรษาขาดและต้องอาบัติทุกกฏ ยกเว้นไปด้วยเหตุสัตตาหกรณียะ และกลับมาทันภายใน ๗ วัน หรือกรณีมีอันตราย (ถ้าจากไปเพราะมีอันตราย พรรษาขาด แต่ไม่ต้องอาบัติ)
(ดู วิ.มหา.๔/๑๘๕-๖/๒๖๑, วิ.อฏฺ.๓/๑๔๕)

หมายเหตุ : เมื่อขาดพรรษา ถ้าจงใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ยกเว้นกรณีมีอันตรายต่อชีวิตหรือพรหมจรรย์ ถ้าไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ เมื่อพรรษาขาด จะไม่ได้ปวารณา ไม่ได้อานิสงส์พรรษา และไม่มีสิทธิ์กรานกฐิน

#สัตตาหกรณียะ มี ๒ กรณี คือ
๑. ต้องมีผู้นิมนต์จึงจะไปได้
เช่น มีโยมนิมนต์ไปเพื่อจะถวายทาน ฟังธรรม หรือต้องการเห็นภิกษุ
๒. ไม่ต้องมีผู้นิมนต์ก็ไปได้
เช่น มีเพื่อนสหธรรมิกอาพาธหรือกระสันจะสึก, ไปเยี่ยมอาจารย์ หรือมีอันตรายบางอย่าง
ถ้าพ่อแม่ป่วย ถึงไม่ถูกนิมนต์ก็สัตตาหกรณียะไปได้เลย แต่สำหรับญาติที่เหลือ ต้องให้เขานิมนต์ก่อนจึงไปได้

*#วิธีสัตตาหกรณียะ ทำได้โดยก่อนจะออกจากเขตที่จำพรรษา มีการใส่ใจเหตุที่จะไปและผูกใจว่าจะกลับมาภายใน ๗ วัน (วันที่ออกไปนับเป็นอรุณที่ ๑ ต้องกลับมาให้ทันก่อนอรุณที่ ๘ จะขึ้น)

#วันออกพรรษา (วันสุดท้ายของการเข้าจำพรรษา) ของภิกษุผู้จำพรรษาแรกคือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ส่วนของผู้จำพรรษาหลังคือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะมีการปวารณากันแทนการลงอุโบสถในวันนี้
ข้อควรระวัง : วันออกพรรษานี้ ภิกษุยังเที่ยวจาริกไม่ได้ ต้องรอให้อรุณวันใหม่ขึ้นก่อนจึงจะหมดฤดูกาลจำพรรษา

ติดตามในช่องทางอื่นๆ:
Facebook : เพจนานาวินิจฉัย   / mahasilananda  
Facebook : พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท   / mahaparkpoom  
TikTok : นานาวินิจฉัย   / mahasilananda  
Instagram : นานาวินิจฉัย   / mahasilananda  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке