เลี่ยมพระแบบลายธงชาติไทย/โดยร้านช่างเติ้ง.

Описание к видео เลี่ยมพระแบบลายธงชาติไทย/โดยร้านช่างเติ้ง.

สอนเลี่ยมพระแบบลายธงชาติไทย
โดยร้านช่างเติ้งสำโรง(ช่างเติ้งสำโรง)

ภิกษุทั้ง ! หลายบัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลาย จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.

บาลี มหา.ที.๑๐/๑๘๐/๑๔๓
พุทธวจน-ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์

อานนท์ ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดีใครก็ตาม
จักต้องมีตนเป็ประทีป มีตนเป็นสรณะไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่ อานนท์ ภิกษุพวกใดเป็นผู้ใคร่ในสิกขา
ภิกษุพวกนั้น
จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล

บาลี มหา.ที.๑๐/๑๑๙/๙๓
พุทธวจน:ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์


พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้อริยสัจสี่

ภิกษุทั้งหลาย !
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใด ๆ
ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงไปแล้ว
ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต

ท่านทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงซึ่ง
ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย !
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใด ๆ
จักได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงต่อ
ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต

ท่านทั้งหลายเหล่านั้น
ก็จักได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงซึ่ง
ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย !
แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ผู้ตรัสรู้ตามเป็นจริงอยู่
ในกาลเป็นปัจจุบันนี้

ก็ได้ตรัสรู้อยู่ซึ่ง
ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง

ความจริงอันประเสริฐสี่อย่างนั้น
เหล่าไหนเล่า ?

สี่อย่าง คือ
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์



ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้

พวกเธอพึงทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์

นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์

นี้เป็นทางดำเนิน
ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด

( บาลี – มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๓-๕๔๔/๑๗๐๔ )


[๕๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิด
กรรม๓ อย่างเป็นไฉน
คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
#กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความโลภ
เกิดแต่ความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ
มีความโลภเป็นแดนเกิด #กรรมนั้นเป็นอกุศล
กรรมนั้นมีโทษ ,#กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล
กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป
#กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
#กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความโกรธ
เกิดแต่ความโกรธ มีความโกรธเป็นเหตุ
มีความโกรธเป็นแดนเกิด #กรรมนั้นเป็นอกุศล
กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล
กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป
#กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
#กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความหลง
เกิดแต่ความหลง มีความหลงเป็นเหตุ
มีความหลงเป็นแดนเกิด #กรรมนั้นเป็นอกุศล
กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล
กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป
#กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม

-------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ๓ อย่างนี้
เป็นเหตุเพื่อให้เกิดกรรม ๓ อย่าง
เป็นไฉน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
#กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความไม่โลภ
เกิดแต่ความไม่โลภ มีความไม่โลภเป็นเหตุ
มีความไม่โลภเป็นแดนเกิด #กรรมนั้นเป็นกุศล
กรรมนั้นไม่มีโทษ #กรรมนั้นมีสุขเป็นผล
#กรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม
#กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
#กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความไม่โกรธ
เกิดแต่ความไม่โกรธ มีความไม่โกรธเป็นเหตุ
มีความไม่โกรธเป็นแดนเกิด #กรรมนั้นเป็นกุศล
กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุข
#เป็นผลกรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม
#กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
#กรรมใดที่บุคคลทำด้วยความไม่หลง
เกิดแต่ความไม่หลงมีความไม่หลงเป็นเหตุ
มีความไม่หลงเป็นแดนเกิด #กรรมนั้นเป็นกุศล
กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล
#กรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม
#กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุ
ให้เกิดกรรม ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๙๐๑ - ๖๙๒๖. หน้าที่ ๒๙๕ - ๒๙๖.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке