คำนวนภาษีเงินได้เมื่อขายที่ดิน,บ้าน,คอนโด ณ กรมที่ดิน คิดคำนวนยังไง | Guru Living

Описание к видео คำนวนภาษีเงินได้เมื่อขายที่ดิน,บ้าน,คอนโด ณ กรมที่ดิน คิดคำนวนยังไง | Guru Living

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาคุยกันในอีกหนึ่งหัวข้อที่ได้รับความสนใจกันเป็นอย่างมากนะครับว่าการที่เราไปโอนบ้าน คอนโด หรือที่ดิน ณ กรมที่ดินเนี่ยเราจะมีค่าใช้จ่ายอะไรที่เราต้องเสียบ้างในฐานะทั้งเราเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายก็ตาม วันนี้ผมจะมาอธิบายค่าใช้จ่ายทุกๆอย่างโดยละเอียดเลยครับ

ก่อนอื่นเลยค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดินหากว่าเรามีการซื้อขาย บ้าน คอนโด หรือที่ดินกันจะมี 5 ตัวหลักๆครับคือ
1. ค่าธรรมเนียมการโอน
2. ค่าจดจำนอง
3. ค่าอากรแสตมป์
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


5. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย
สำหรับผู้ขาย เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์แล้วจะมีค่าใช้จ่ายอีกตัวนึงที่ตามมาครับ แต่ถ้าหากเราเป็นผู้ซื้อค่าใช้จ่ายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรานะครับ ค่าใช้จ่ายตัวนี้คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเกณในการเรียกเก็บจะคิดจากราคาประเมินที่ดิน หักค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กำหนด หารปีที่ถือครอง คูณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ในส่วนแรกที่ต้องดูคือเราต้องดูว่าเราถือครองทรัพย์นั้นมานานกี่ปีครับ

ถือครอง 1 ปี คิดรายได้เป็นร้อยละ 92 ของเงินได้(ราคาประเมิน)
ถือครอง 2 ปี คิดรายได้เป็นร้อยละ 84 ของเงินได้(ราคาประเมิน)
ถือครอง 3 ปี คิดรายได้เป็นร้อยละ 77 ของเงินได้(ราคาประเมิน)
ถือครอง 4 ปี คิดรายได้เป็นร้อยละ 71 ของเงินได้(ราคาประเมิน)
ถือครอง 5 ปี คิดรายได้เป็นร้อยละ 65 ของเงินได้(ราคาประเมิน)
ถือครอง 6 ปี คิดรายได้เป็นร้อยละ 60 ของเงินได้(ราคาประเมิน)
ถือครอง 7 ปี คิดรายได้เป็นร้อยละ 55 ของเงินได้(ราคาประเมิน)
ถือครอง 8 ปี ขึ้นไป คิดรายได้เป็นร้อยละ 50ของเงินได้(ราคาประเมิน)

ในกรณีเป็นทรัพย์มรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 50 % จากราคาประเมิณครับ

หารจำนวนปีที่เราถือครองทรัพย์นั้นครับ ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราถือครองมา 4 ปี ก็เอา 4 ไปหารกับตัวเลขที่หักค่าลดหย่อนไปแล้ว

ขั้นตอนสุดท้าย เราต้องนำรายได้ที่เราคิดมาคำนวณอัตราภาษีเงินได้เป็นแบบขั้นบันได ตามที่กรมสรรพากรกำหนดตามนี้ครับ

เงินได้สุทธิ อัตราภาษีร้อยละ
1 - 300,000 บาท 5%
300,001 - 500,000 บาท 10%
500,001 - 750,000 บาท 15%
750,001 - 1,000,000 บาท 20%
1,000,001 - 2,000,000 บาท 25%
2,000,001 - 4,000,000 บาท 30%
4,000,001 บาท ขึ้นไป 40%

หลังจากคำนวนภาษีที่เงินได้ที่คิดมาในแต่ละปีแล้ว ให้คูณกลับจำนวนปีที่ถือครองทั้งหมดกลับไปครับเท่านี้เราก็จะรู้ภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมดครับ



ถ้าจนถึงตอนนี้ใครยังงงอยู่ไม่เป็นไรนะครับ เพราะสุดท้ายตัวเลขพวกนี้กรมที่ดินเขาจะคิดคำนวนออกมาให้เราครับ เพียงแต่ว่าถ้าเราสามารถคำนวนตัวเลขเหล่านี้ได้ก่อน จะทำให้เราสามารถรู้รายจ่ายที่กำลังจะเกิดขึ้น พร้อมเตรียมรับมือ วางแผนหารายได้มารองรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ครับ

#ภาษีขายบ้าน #ภาษีขายที่ดิน #ภาษีขายคอนโด #ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา #ภาษีขายบ้านคํานวณ #ภาษีซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน #ภาษีขายบ้าน2563 #ภาษีขายบ้านใครจ่าย

Комментарии

Информация по комментариям в разработке