ระบำอัปสรสราญ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Описание к видео ระบำอัปสรสราญ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การแสดงชุดที่ 5 ระบำอัปสรสราญ
ผู้ถ่ายทอดท่ารำ อาจารย์ ดร.อัชราพร สุขทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ศราวดี ภูชมศรี
ผู้แสดง น.ส.อิสริยา โชติมีศรี
........................................
‎ ลักษณะรูปแบบการผสมผสานทางวัฒนธรรม ระบำอัปสรสราญ และระบำอัปสรา ได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมอินเดีย เข้าสู่วัฒนธรรมขอม การผสมผสาน ทางวัฒนธรรมในระบำอัปสรสราญของไทย เป็นการผสมผสานแบบแนวราบ คือ ผ่านระบบคิดจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ขยายลงสู่พื้นที่ประยุกต์เข้ากับท้องถิ่น เชื่อมโยงเข้าสู่ระบบการศึกษา ด้านท่ารำ มีการผสมผสาน 3 ส่วน คือ ท่ารำจากราชสำนัก ท่ารำพื้นบ้าน ท่ารำจากภาพจำหลักปราสาทศรีขรภูมิ และปราสาทนครวัด ด้านดนตรีใช้วงกันตรึม ด้านการแต่งกาย เลียนแบบการแต่งกายนางอัปสรในปราสาทศีขรภูมิ และปราสาทนครวัด สอดคล้องกับทฤษฎี ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเฉพาะเรื่อง ของโบแอส(Boas. 1940) ที่เสนอว่า วัฒนธรรมแต่ละสังคมได้รับอิทธิพลจากเอกลักษณ์ของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเฉพาะสังคม ระบำอัปสรากัมพูชา เป็นการผสมผสานแบบแนวตั้ง โดยกรมศิลปากรกำหนดแบบแผนท่ารำ ดนตรี และการแต่งกาย ก่อนเผยแพร่สู่ประชาชน ด้านท่ารำ เป็นท่ารำจากระบำท่วงท่าโบราณที่ใช้รำถวายเทพเจ้า ดนตรีใช้วงปี่พาทย์ การแต่งกายเรียนแบบภาพนางอัปสรปราสาทนครวัด เป็นการสืบย้อนประวัติศาสตร์อารยธรรมอินเดียที่เข้าสู่อารยธรรมขอม เป็นการพลิกฟื้นวัฒนธรรมให้มีชีวิตเชื่อมโยงอดีต ที่มีคุณค่าและสร้างความจรรโลงใจ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม ปัจจัยภายในด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ พบว่า ในอดีตกลุ่มชนต่างๆที่เข้ามาในภูมิภาคนี้มาพร้อมกับอารยธรรมอินเดีย เชื่อมโยงเข้าสู่วัฒนธรรมพื้นบ้าน และวัฒนธรรมขอม ชาวกัมพูชาใช้นางอัปสราคุ้มครองให้กษัตริย์มีบารมีสูงขึ้น ในไทยนางอัปสราคือ พระแม่ธรณี สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ สอดคล้องกับวิถีชาวบ้าน ปรับตัวโดยใช้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเชื่อมความเชื่อ ควบคุมคนและสังคม ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ ค่านิยมหรืออุดมการณ์ พบว่า มนุษย์ใช้ผี หรือเทวดามาทำให้เกิดดนตรี ท่าทาง การแต่งกาย นำภาพสลักปราสาทขอมมาสร้างความดีความงามให้คนอยู่ร่วมกันได้ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีสัญลักษณ์และการตีความของเทิร์นเนอร์(Turner. 1969) จากระบบปัจจัยด้านเทคโนโลยี พบว่ามี 3 ช่วงคือ 1 เทคโนโลยีพื้นบ้านก่อนศาสนาเข้ามาใช้รูปแบบธรรมชาติเชื่อมโยงวิถีชีวิต สร้างดนตรี การแต่งกาย 2 ศาสนาเข้ามาเกิดระบบคิดนำเทคโนโลยีสร้างรูปเคารพ เชื่อมโยงความเชื่อกับศาสนา 3 ช่วงเทคโนโลยีสมัยใหม่องค์ประกอบแสงสี เสียงมีบทบาทเชิงจิตวิทยา ปัจจัยด้านเศรษฐกิจพบว่ามนุษย์ใช้ธรรมชาติสร้างเขตเศรษฐกิจสังคม เกิดระบบคิดสร้างปราสาทขอม นำนางอัปสรามาสร้างให้เป็นวัฒนธรรมมีชีวิต สร้างความสุนทรีย์ ความจรรโลงใจให้เกิดคุณค่าต่อท้องถิ่น ต่อสังคมโลก
‎ ลักษณะรูปแบบการผสมผสานทางวัฒนธรรม ในระบำอัปสรสราญ และระบำอัปสรา ได้รับอิทธิพล อารยธรรมอินเดียเข้าสู่อารยธรรมขอม การผสมผสานวัฒนธรรมด้านท่ารำ ในระบำอัปสรสราญผสมผสานท่ารำจากภาพศิลาจำหลักศิลปะขอม ท่ารำพื้นบ้าน และท่ารำที่เป็นแบบแผนจากนาฏยศิลป์ส่วนกลาง ระบำอัปสรา ของกัมพูชา ผสมผสานท่ารำจากระบำท่วงท่าโบราณของเขมร ด้านดนตรี ระบำอัปสรสราญใช้วงกันตรึม ระบำอัปสราใช้วงปี่พาทย์ ด้านการแต่งกาย ระบำอัปสรสราญของไทยและระบำอัปสรากัมพูชาเลียนแบบการแต่งกายนางเทพอัปสรในภาพศิลาจำหลักปราสาทนครวัด ปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมในระบำอัปสรสราญ และระบำอัปสราของกัมพูชาด้านสภาพแวดล้อม การเคลื่อนไหวร่างกายจึงค่อนข้างช้า ด้านวัฒนธรรมคนเอเชีย ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในการแสดงที่เน้นความนุ่มนวล สง่างามปัจจัยด้านวัฒนธรรม เกิดระบบคิดโดยใช้ผีหรือเทวดามาทำให้เกิดดนตรี ท่ารำ สอดคล้องกับอินเดียที่นับถือเทพ มีการเอาภาพสลักนางอัปสรามาสร้างความดีความงามให้อยู่ร่วมกันได้ ปัจจัยภายนอก ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านมาเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตเพื่อความอยู่รอด เมื่อศาสนาเข้ามามีการนำเทคโนโลยีมาประดิษฐ์สร้างสัญลักษณ์ให้ศาสนาสะท้อนเรื่องราวในศิลปะต่างๆ และช่วงเทคโนโลยีใหม่นำองค์ประกอบแสงสีเสียง เข้ามามีบทบาทในระหว่างผี พราหมณ์ และพุทธ เป็นการพัฒนาระบบคิดขนานกับเทคโนโลยีเชื่อมโยงพิธีกรรมความเชื่อที่มีความสำคัญกับสังคม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке