กว่าจะมาเป็นMOD 2020ปืนกลาโหมไทย ผลิตเองทุกชิ้นส่วน ยกเว้น2ชิ้นแถมทำอะไหล่Sniper เตรียมปั้ม700กระบอก

Описание к видео กว่าจะมาเป็นMOD 2020ปืนกลาโหมไทย ผลิตเองทุกชิ้นส่วน ยกเว้น2ชิ้นแถมทำอะไหล่Sniper เตรียมปั้ม700กระบอก

ปืนกลาโหม ไทย!!
กลาโหม ทำสำเร็จ
ผลิต ปืน เอง
“MOD 2020”
ผ่าน กมย. แล้ว
สั่ง เหล่าทัพ พิจารณา จัดหา
ยุทโธปกรณ์ ที่ผลิตเอง
ถูกกว่า ต่างประเทศ



.
ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. (MOD 2020) ได้ดำเนินการวิจัยปรับปรุง เข้าทำการทดสอบตามขั้นตอนมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม และได้รับการรับรอง เมื่อ ต.ค.65 ที่ผ่านมา

ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผลิตนั้น มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ กว่า60%

โดยผลิต ชิ้นส่วนเอง 128 ชิ้น เกือบทั้งหมด มีแค่ 2 ชิ้นที่ต้อง นำเข้า

ที่สำคัญ โรงงาน ของกลาโหม ที่ลพบุรียังสามารถผลิตชิ้นส่วน เพื่อสำรองไว้ได้อย่างเพียงพอ และเป็นการเตรียมความพร้อมความมั่นคง ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ก่อนการประชุมสภากลาโหม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมได้เดินดูการจัดแสดง ยุทโธปกรณ์ ที่กลาโหม ผลิตเอง

โดยมี “ผอ.บอล” พันเอก พิสิษฐ์ ตันกำเนิด ผู้อำนวยการโรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ เป็นผู้บรรยาย โดยมี ปลัดกลาโหม ผบ.เหล่าทัพ สมาขิกสภากลาโหม ร่วมชม ด้วย

เช่น ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. (MOD 2020) ได้ดำเนินการวิจัยปรับปรุง เข้าทำการทดสอบตามขั้นตอนมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม และได้รับการรับรอง เมื่อ ต.ค.65 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผลิตนั้น มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ กว่า60% โดยผลิต ชิ้นส่วนเอง 128 ชิ้น เกือบทั้งหมด มีแค่ 2 ชิ้นที่ต้อง นำเข้า

ที่สำคัญ โรงงาน ของกลาโหม ที่ลพบุรียังสามารถผลิตชิ้นส่วน เพื่อสำรองไว้ได้อย่างเพียงพอ และเป็นการเตรียมความพร้อมความมั่นคง ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ กลาโหม และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม บูรณาการขีดความสามารถของหน่วย โดยได้ทำการวิจัย พัฒนา และผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สามารถนำมาทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และนำไปใช้งานจริงในกองทัพด้วยราคาที่ต่ำกว่าการจัดซื้อจากต่างประเทศ

โดยในส่วนของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ได้ พัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นการต่อยอดจากงานวิจัยของ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ในปี2563 ให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี2564 จนถึงปัจจุบัน และมีแผนนำเข้าประจำการในปี 2567-2568

ทั้งนี้ หน่วยได้ทำการวิเคราะห์ทางวัสดุศาสตร์และทางวิศวกรรม โดยวัสดุที่ต้องการมีแพร่หลายภายในประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถทำการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืนได้ และผ่านกระบวนการวิจัยร่วมกันทั้ง สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จนได้ปืนต้นแบบที่มีความยาวลำกล้อง
14.5 นิ้ว และ 20 นิ้ว เข้ารับการทดสอบจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม (กมย.) จำนวน 15 สถานี

ทดสอบการยิงในด้านความทนทาน การยิงในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองพลทหารราบที่9 จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ19-30กรกฎาคม 2565 จนได้รับการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม (กมย.) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลเดียวกับต่างประเทศกำหนด

โดยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมาก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบสายการผลิต เพื่อเตรียมความพร้อมของเครื่องจักร รวมทั้งทดสอบการจัดหาวัสดุชิ้นส่วนและดำเนินการผลิต Pilot Lot จำนวน 25กระบอก เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จและความเป็นมาตรฐานระดับสากลในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าการจัดซื้อจากต่างประเทศ

สำหรับในขั้นตอนต่อไป ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ จะนำไปประจำการเพื่อใช้ในการรักษาการณ์และการฝึกของหน่วย จำนวน 400 กระบอก โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2567-2568
เพื่อให้สามารถรับทราบ FEED BACK จากการใช้งานจริงในระยะยาวและนำมาปรับปรุงต่อไป

การผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ที่ขาดแคลน เช่น หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ขาดแคลนชิ้นส่วนปืนซุ่มยิง Ballet 0.50 นิ้ว และ Stoner SR - 25 สป. ได้ร่วมกันแก้ปัญหาโดยผลิตชิ้นส่วนที่ขาดแคลนที่มีมาตรฐาน สามารถทำงานได้อย่างปกติและมีความทนทานสูง และยังคงมีโครงการร่วมกันในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาชิ้นส่วนอาวุธอื่น ๆ ที่มีอยู่ต่อไป

ปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ทั้งปืนยาวและปืนสั้น โดยเกิดจากการขยายผลจากองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร ขยายสายการผลิตเพื่อสนองตอบต่อความต้องการใช้งานของหน่วยงานอื่น ๆ เช่น ตำรวจตระเวนชายแดน กรมป่าไม้ หรือกระทรวงมหาดไทย

Комментарии

Информация по комментариям в разработке