สารคดีที่ราบสูง เรื่องพิณ

Описание к видео สารคดีที่ราบสูง เรื่องพิณ

ขออนุญาตแชร์เพื่อการศึกษาครับ
--------------------------------------
การทำพิณแบบดั่งเดิม

ปัจจุบันวิธีการทำพิณแบบนี้ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง
เครื่องไม้เครื่องมือก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ถ้าอยากลองทำพิณโปร่งไว้เล่นเอง ลองศึกษาจากคลิปนี้ได้ครับ

ลำดับการทำพิณที่ได้จากการศึกษาจากคลิปนี้
1.หาไม้ขนุน ตัดเก็บไว้ทิ้งให้แห้งประมาณ 1 ปี
เพื่อบ่มเนื้อไม้และยางในเนื้อไม้ ให้แห้งสนิท
2.วาดรูปพิณด้วยดินสอ ลงบนแผ่นไม้ขนุน
ต่อจากนั้นถากไม้ให้เป็นรูปทรงพิณตามที่วาดไว้ อย่างหยาบๆ ด้วยมีด
3.ขัดถูด้วยเหล็กบุ้ง ให้ได้รูปทรงที่ละเอียดขึ้น
4.เลื่อยแผ่นไม้หน้าพิณ ขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลานาน(เลื่อยลันดา)
ลักษณะพิเศษของไม้ขนุนเมื่อถูกเลื่อยใหม่ๆ เนื้อไม้จะเป็นสีเหลืองอ่อน
แล้วจะค่อยๆสีเข้มขึ้นตามกาลเวลา (เพจเดี่ยวพิณ : ที่สำคัญคือปลวกไม่นิยมกินไม้ขนุน)
5.ร่างเส้นด้วยดินสอเพื่อกำหนดขอบเขตในการขุดหรือเจาะกล่องเสียง
6.ใช้สิ่วเจาะกล่องเสียง ลึกประมาณ 2 นิ้ว ขูดกล่องเสียงให้เรียบ
7.ใช้สิ่วเจาะช่องสายในส่วนของหัวพิณ
8.ถากไม้ทำลูกบิดขึ้นสายพิณ
9.ใช้เหล็กซี (เหล็กปลายแหลมเผาไฟให้ร้อน) เจาะรูใส่ลูกบิดและรูแพ (ช่องเสียงบนแผ่นไม้หน้าพิณ)
10.นำแผ่นไม้หน้าพิณมาประกบกับตัวพิณ ยึดตอกด้วยตะปู
11.ยาแนวอุดรอยต่อด้วยขี้สูด (ชันโรง) เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงรอดออกมา
12.ทำหย่องพิณหรือแผ่นรองสายพิณนิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง
13.ใช้ขี้สูดติดสะพานรองสายพิณ
14.สายพิณ งานนี้เป็นวิวัฒนาการที่เปลียนแปลงจากต้นแบบพิณเดิม คือ สมัยก่อนช่างจะนิยมใช้หางม้า
หรือไหมทำสาย ต่อมาก็ใช้ลวดเหล็กเส้นเล็กๆ หรือลวดจากสายเบรคจักยาน แต่ในปัจุบันก็เริ่มมีการทดลองใช้สายกีต้าร์กันมากขึ้น
15.สอดสายพิณร้อยในลูกบิดขันให้กระชับพอดี
16.ติดขั้นบนคอพิณด้วยขี้สูด ขั้นเสียงนิยมทำจากไม้ไผ่ เพราะแข็งแรงทนทาน ติดขั้นพิณ 12 ขั้นจนจนครบบันไดเสียง
---- หนทางพิสูจน์ม้า เสียงย่อมพิสูจน์ช่าง เสร็จขั้นตอนการทำตัวพิณ--
17.งานประดิษฐ์ส่วนหัวพิณ ช่างนิยมแกะสลักหัวพญานาคและพญาหงส์

Комментарии

Информация по комментариям в разработке