หัตถศิลป์ลายซิ่นสารคาม (ลิขสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)

Описание к видео หัตถศิลป์ลายซิ่นสารคาม (ลิขสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)

ชื่อการแสดง : หัตถศิลป์ลายซิ่นสารคาม
ผู้สรางสรรค์ผลงาน : นางสาวอัษราภรณ์ จันทคาม
นางสาวสุพิณญา ศรัทธาคลัง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : อาจารย์ ดร.พิษณุ เข็มพิลา
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม : อาจารย์พิมพ์วลัญช์ พลหงษ์

กรอบแนวคิดด้านการแสดง :
การแสดงชุด หัตถศิลป์ลายซิ่นสารคาม เป็นผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4
ปีการศึกษา 2563 ลายผ้าซิ่นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากบรรพบุรุษของชาวมหาสารคาม ที่ได้นำลายผ้าซิ่นมาเป็นเอกลักษณ์ประจำอำเภอทั้ง 13 อำเภอ ของจังหวัดมหาสารคาม ลายผ้าซิ่นแต่ละลายเกิดจากภูมิปัญญา ความเชื่อ ธรรมชาติ วิถีชีวิต และทัศนคติ ของผู้ทอผสมผสานกับค่านิยมที่สืบทอดกันมา แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของชาวมหาสารคาม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าควรค่าต่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน
ผู้วิจัยได้ศึกษา ลวดลายผ้าซิ่นของ 13 อำเภอในจังหวัดมหาสารคาม จึงได้นำมาสร้างสรรค์เป็น สื่อนวัตกรรมการแสดงพื้นบ้านอีสาน ชุด หัตถศิลป์ลายซิ่นสารคาม

รูปแบบการแสดง :
เป็นการแสดงแบบหมู่ ใช้นักแสดงจำนวน 14 คน แบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 รำตามบท มีคำร้องที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของลายผ้าซิ่นมหาสารคาม
ช่วงที่ 2 รำตามบท ในช่วงนี้เป็นการรำประกอบคำร้อง ที่สื่อถึงลายผ้าซิ่นทั้ง 13 อำเภอ
ช่วงที่ 3 เป็นการรำประกอบจังหวะดนตรีพื้นบ้านอีสาน

การแต่งกาย :
การแต่งกายแบบอีสานประยุกต์ ประกอบด้วย
เสื้อในนางสีครีม
ผ้าถุงหรือผ้าซิ่น เป็นลวดลายเอกลักษณ์ของแต่ละอำเภอ 13 ลาย
สไบรองสีขาว และสไบแต่งตามสีของลายผ้าซิ่น
เครื่องประดับทอง ประกอบด้วย สร้อย ต่างหู เข็มขัด สังวาล กำไลข้อมือ
ผมเกล้ามวยติดดอกลีลาวดีสีขาว ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

-----------------------------------------------------------------
โครงการการสร้างสื่อการแสดงพื้นบ้าน ประจำปีการศึกษา 2563
โดย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
วันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2564 ณ บริเวณหน้าสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке