ชีวิตที่เหลือ ธรรมผู้สูงอายุ *จิตสุดท้าย* ฟังจบสะสมบุญ เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

Описание к видео ชีวิตที่เหลือ ธรรมผู้สูงอายุ *จิตสุดท้าย* ฟังจบสะสมบุญ เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

ชีวิต คือ หน้าที่ ทำให้มีสติและเกิดปัญญาแล้ว ยังมีจุดประสงค์ในด้านการวิปัสสนา เช่น อานาปานสติ ที่สอนให้พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก และตระหนักรู้ปัจจุบันขณะอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเมื่อฝึกนั่งสมาธิไปเรื่อยๆ ก็จะมีการแบ่งขั้นกรรมฐานต่างๆ อีกมากมาย

จิตภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น พัฒนาขึ้น

“ถ้าจิตเราชินกับการภาวนา มันก็จะภาวนา มันเรื่องแค่นี้เอง เรื่องง่ายๆ
ความเคยชินมันสร้างได้ เราเคยชินจะหลงโลก ก็ฝึกตัวเองให้หลงโลกไป
ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ตามโลกไปทุกวันๆ”

ภาวนา หมายถึงการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกด้าน ในทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ

1.กายภาวนา การพัฒนาร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง

2.ศีลภาวนา การพัฒนาความประพฤติและการกระทำทางกายวาจา

3.จิตตภาวนา การพัฒนาจิตใจ

4.ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญา

อีกอย่างหนึ่ง วิธีพัฒนาสติก็คือ การเจริญสติปัฏฐาน

ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ

สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้

วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า ปัญญาภาวนา ก็ได้

เริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงครั้งละ 5-10 นาที เพื่อให้จิตใจสงบ จดจ่อกับสมาธิในการเรียน และทำงาน หลังจากนั้นค่อยเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นก็ได้

สมถภาวนา เป็นอุบายฝึกจิตให้สงบมีสมาธิ
จิตสงบนิ่ง บุญมหาศาล ขณะจิตเดียว

อุบายฝึกจิตให้สงบ ฝึกสมาธิ จิตใจสงบ มีประโยชน์มากมาย จิตที่ผ่องใส ลดความคิดฟุ้งซ่าน และทำให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน

นั่งสมาธิ ในมุมมองของตะวันตก มักใช้คำว่า "Concentration" และ "Meditation" ที่สื่อความหมายถึงการทำสมาธิให้จิตใจสงบ เพื่อเคลียร์หัวให้โล่ง จะได้มีสติจดจ่อมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียน หรือการทำงาน

ซึ่งการกำหนดลมหายใจให้ร่างกายสัมพันธ์กับจิตใจ

ทำให้มีสติและเกิดปัญญาแล้ว ยังมีจุดประสงค์ในด้านการวิปัสสนา เช่น อานาปานสติ ที่สอนให้พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก และตระหนักรู้ปัจจุบันขณะอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเมื่อฝึกนั่งสมาธิไปเรื่อยๆ ก็จะมีการแบ่งขั้นกรรมฐานต่างๆ อีกมากมาย

นั่งสมาธิแบบพื้นฐาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
1. ขณิกสมาธิ : การทำสมาธิแบบชั่วครู่ เป็นขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการสมาธิในการเรียน และทำงาน มีสติรู้ตัวตนว่ากำลังทำอะไรอยู่
2. อุปจารสมาธิ : การทำสมาธิในระยะเวลาที่นานขึ้น สำหรับผู้ที่กำลังจะได้ฌาน และนิมิตต่างๆ ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา
3. อัปปนาสมาธิ : การทำสมาธิขั้นแน่วแน่ เข้าถึงฌาน สามารถข่มกิเลสได้ ถือว่าเป็นสมาธิขั้นสูงสุด

ฤทธิ์เดชจากสมาธิ ฝึกอภิญญา เปิดตาทิพย์

Комментарии

Информация по комментариям в разработке