กว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร

Описание к видео กว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร

#กว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร
กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต
สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์
ราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีประวัติศาสตร์สืบย้อนขึ้นไปได้กว่า 800 ปี ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของราชธานี อันเป็นศูนย์รวมของการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินมา 4 ครั้งราชธานีแรกคือกรุงสุโขทัย ต่อมาคือกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะกรุงศรีอยุธยาอันมีนามเต็มว่า “กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บุรีรมย์” นั้น มีนามสามัญอันปรากฏทั่วไปในพงศาวดาร จดหมายเหตุ หมายรับสั่ง ใบบอก สารตรา และเอกสาร สำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ว่า กรุงเทพมหานครบ้าง พระนครบ้าง ตลอดระยะเวลากว่า 400 ปี ฉะนั้น ต่อมาแม้ราชธานีจะย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรีก็ดี กรุงรัตนโกสินทร์ก็ดี คำเรียกราชธานีว่ากรุงเทพมหานคร หรือ พระนครนั้นก็ยังใช้สืบกันมาโดยตลอด เมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรง สถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำ เจ้าพระยา เสร็จการฉลองพระนครแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ เปลี่ยนแปลงจากครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า“กรุงรัตนโกสินทร์อินท์ อโยธยา” ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ ชื่อ กรุงรัตนโกสินทร์จึงมีนามเต็มว่า “กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” อันแปลได้ความว่ามูลเหตุที่ราชธานีใหม่จะได้นามว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องพระราชกรัณยานุสรณ์ว่า “การถือน้ำในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสมาก จึงได้ทรงสถาปนาพระอารามในพระบรมมหาราชวัง แล้วพระราชทานนามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เชิญพระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำในพระอุโบสถ แล้วจึงพระราชทานนาม พระนครใหม่ให้ต้องกับการซึ่งมีพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตพระองค์นี้เป็นศิริสำหรับ พระนคร… นามซึ่งว่า รัตนโกสินทร์ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านรับสั่งว่า เพราะท่านประสงค์ความว่า เป็นที่เก็บรักษาไว้ขององค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้มาก จึงยกไว้เป็นหลักพระนคร พระราชทานนามพระนคร ก็ให้ต้องกับพระนามพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อถึงการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาอันใหญ่นี้ จึงได้โปรดให้ข้าราชการมากระทำสัตย์สาบาน แล้วรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากร
คำว่า “กรุง” ตามสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 หมายถึง “เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ซึ่งเป็นที่ประทับอยู่ประจำของพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเมืองที่ตั้งสถานที่ทำการของรัฐบาล แต่ก่อนใช้ในความหมายว่า ประเทศ ก็มีเช่นคำว่า “กรุงสยาม” อนึ่ง ตามพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีว่า “คำว่า “กรุง” นี้ เดิมหมายความว่า “แม่น้ำ” โดยอรรถาธิบายว่า ผู้ใดมีอำนาจเหนือพื้นน้ำหรือเป็นเจ้าแห่งแม่น้ำตั้งแต่ปากน้ำไปจนถึงที่สุดของ แม่น้ำ ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเจ้ากรุง แลเมืองที่ เจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ก็เลยเรียกว่า “กรุง” อย่างเมืองหลวงปัจจุบันนี้ เรียกว่า กรุงเทพฯ หรือกรุงเทพพระมหานคร ฉะนั้น”ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน สาส์นสมเด็จว่า กรุงมิได้แปลว่า “เมือง” แต่แปลว่า จักรวรรดิ (Empire) มีประเทศราชน้อยใหญ่เป็นเมืองขึ้น มีใช้ในหนังสือเก่าเวลาออกพระนาม พระเจ้าจักรพรรดิ ออกต่อท้ายนามกรุงก็มี เช่น พระเจ้ากรุงสีพี เป็นต้น
กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่อยู่ตรงกลางของประเทศ ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งสูงขึ้นไปประมาณ 300 กิโลเมตร โดยมีทุ่งตะนาวศรีล้อมอยู่ทางด้านตะวันตก ที่สูงและภูเขาทางด้านเหนือ และที่ราบสูงโคราชทางตะวันออก กำเนิดของพื้นที่บริเวณแอ่งเจ้าพระยา เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวโลก โดยมีร่องรอยฝั่งทะเลของอ่าวไทย ปรากฏไกลถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลทำให้เกิดการตกตะกอนทับถม ฝั่งทะเลเริ่มถอยลงไปทางใต้ จนในปัจจุบันฝั่งทะเลของอ่าวไทย ปรากฏที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ห่างจากกรุงรัตนโกสินทร์ไปทางใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร การศึกษาสภาพดินบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ได้มีผู้ศึกษาไว้หลายด้าน ที่สมควรนำมาบันทึกไวัในจดหมายเหตุนี้ คือการศึกษาทางด้านวิศวกรรม เพราะจะมีความสัมพันธ์ต่องานอนุรักษ์ กรุงรัตนโกสินทร์ต่อไปข้างหน้าในการศึกษาสภาพดินทางด้านวิศวกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกกระทำโดยนายชัย มุกตพันธ์ นายไพโรจน์ ถีระวงศ์ และนายวิเชียร เต็งอำนวย แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาเฉพาะสภาพดินในเขตตัวเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยได้รับความสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ และได้พิมพ์เผยแพร่ ผลการศึกษาในหนังสือ Engineering Properties of Bangkok Subsoil เมื่อปีพุทธศักราช 2509 ต่อมาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับกองวิเคราะห์และวิจัย กรมทางหลวง

เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке