เครื่องบิน B-29 ถล่มกรุงเทพ สงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2487 - 2488 (Allied bombing of Bangkok WWII)

Описание к видео เครื่องบิน B-29 ถล่มกรุงเทพ สงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2487 - 2488 (Allied bombing of Bangkok WWII)

การทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตรในประเทศไทย
มกราคม พ.ศ. 2487 - สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยถูกโจมตีทางอากาศรวม 245 ครั้ง 2,943 เที่ยวบิน ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,871 คน อาคารพัง 9,616 หลัง เสียหาย 1,195 หลัง
.
.
การทิ้งระเบิดกรุงเทพ
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487
.
"เครื่องบิน B-29 จำนวน 60 เครื่องจากสนามบินในอินเดียเข้าถล่มกรุงเทพ ประเทศไทยเป็นครั้งที่สองในปีนี้ (พ.ศ. 2487) กรุงเทพถือเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์เพราะเป็นจุดส่งกำลังบำรุงของทหารญี่ปุ่น เป้าหมายหลักคือสถานีบางซื่อ 4.5 ไมล์จากใจกลางกรุงเทพ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนขบวนของรถไฟจากทางทิศใต้และทิศตะวันตกสู่มาลายาและพม่า เพื่อไปยังแนวรบด้านเหนือของประเทศไทย ทางรถไฟ 22 สายรวมกันเหลือ 5 บริเวณคอขวดของสถานีทางทิศเหนือ
.
เป้าหมายการทิ้งระเบิดคือสถานีซ่อมบำรุง ซึ่งทั้ง 4 สถานีถูกทำลายลง เป้าหมายระดับกลางก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน คือรถไฟ 15 ขบวน เป้าหมายรองคือ โกดัง 39 หลังซึ่งอยู่ติดกับทางรถไฟในทิศใต้
สภาพอากาศปรอดโปร่ง ทำให้สามารถการทิ้งระเบิดในระดับสายตา จากระยะ 18,000-21,000 ฟุตได้ผลเป็นอย่างดี
.
ฝ่ายเราเสียหายเพียงเล็กน้อย ทหารบาดเจ็บ 4 นาย พบการยิงต่อต้านจากภาคพื้นเพียงเล็กน้อยและขาดความแม่นยำ การต่อต้านอย่างแข็งขันจากอากาศยานข้าศึกทำให้ฝ่ายญี่ปุ่น (ที่จริงแล้วคือเครื่องบินไทย) สูญเสียเครื่องบิน 7 เครื่อง ร่วมกับอาจถูกทำลายอีก 3 เครื่อง และ 6 เครื่องได้รับความเสียหาย เครื่อง B-29 ทุกเครื่องกลับฐานอย่างปลอดภัย"
.
.
.
ความเสียหายจากข้อมูลฝ่ายไทย : ข้าศึกทิ้งระเบิดจำนวน 280 ลูก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 114 คน บาดเจ็บ 150 คน อาคาร 149 หลัง รถจักร 15 คัน รถพ่วง 120 คัน สถานีรถไฟบางซื่อเสียหายอย่างหนัก
.
........................................................
.
.
การทิ้งระเบิดกรุงเทพ
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
.
"ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เครื่องบิน B-29 จากฐานบินในประเทศอินเดีย เข้าโจมตีสะพานพระราม 6 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กรุงเทพคือสถานที่ส่งกำลังบำรุงหลักของกองทัพญี่ปุ่นซึ่งปฏิบัติการในพม่า และเป็นทางเชื่อมหนึ่งเดียวระหว่างแนวรบพม่ากับทะเลจีนใต้ ระเบิดขนาด 1,000 ปอนด์ตกลงที่กลางสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งยาว 1,400 ฟุตและในเวลาเดียวกันเครื่องบิน B-29 อีกส่วนหนึ่งได้เข้าโจมตีไซง่อน อินโดจีนฝรั่งเศส"
.
.
.
วิดิโอจัดทำขึ้นโดย Department of Defense. Department of the Army. Office of the Chief Signal Officer. (9/18/1947 - 3/1/1964) จาก NATIONAL ARCHIVES CATALOG NATIONAL ARCHIVES CATALOG
.
.
ขอขอบคุณ
ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
.
อ้างอิง
ประวัติการรบ สงครามมหาเอเชียบูรพา

Комментарии

Информация по комментариям в разработке