ตรวจวัดอุปกรณ์ในวงจรตัดละลายจาก Timer เปรียบเทียบกับแบบที่ใช้บอร์ดควบคุม

Описание к видео ตรวจวัดอุปกรณ์ในวงจรตัดละลายจาก Timer เปรียบเทียบกับแบบที่ใช้บอร์ดควบคุม

เราจะมาตรวจเช็คและวัดอุปกรณ์ของ...ตู้เย็นแบบโนฟรอสแบบที่ใช้ Timer ในการควบคุมการทำงาน..ส่วนของวงจรตัดละลาย เทียบกับแบบที่ใช้บอร์ดอิเลคโทรนิคส์ ว่ามีอะไรที่แตกต่างกันไปบ้าง
- ตู้แบบใช้ Timer ในวงจรตัดละลาย นอกจากการสั่งงานจากตัวนาฬิกา หรือ Timer แล้วภายในช่องฟรีซจะประกอบไปด้วย
.....ไบเมนทอน ทำหน้าที่ตัดต่อไฟให้ผ่านไปครววงจรกับ ฮีทเตอร์ ในบางยี่ห้อ/รุ่น หรือในตู้ขนาดใหญ่ๆ อาจจะมีการใช้ไบเมนทอนถึง 2 ตัวด้วยกัน และอาจจะเป็นชนิดหรือแบบที่ไม่เหมือนกัน
.....เทอร์โม-ฟิวส์ ทำหน้าที่กำหนดขนาดของความร้อนไม่ให้เกินตามอุณหภูมิที่กำหนด เช่น 73 องศา C หรือ 76 องศา C เป็นต้น
.....ฮีทเตอร์ ทำหน้าที่ละลายน้ำแข็งที่เกาะอยู่บนคอยล์เย็น หรืออีแวปเปอร์เรเตอร์

- ตู้แบบที่ใช้แผงคอนโทรล หรือบอร์ดอิเลคโทรนิคส์ ภายในช่องฟรีซจะประกอบอุปกรณ์ที่แตกต่างไป โดยการใช้เซนเซอร์ หรือที่เราเรียกว่า เทอร์มิสเตอร์ เซนเซอร์(Thermistor Senser) และจะเรียกเจ้าเซนเซอร์เหล่านี้ ตามตำแหน่งที่ทำหน้าที่อยู่ เช่น
..... D-Senser หรือ D-Thermistor ทำหน้าที่กำหนดการละลายน้ำแข็งบนอีแวปเปอร์เรเตอร์
..... F-Senser หรือ F-Thermistor ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในช่องฟรีซ แทนตัวเทอร์โมสตัสที่เราปรับเย็นมาก-น้อยในช่องฟรีซ..นั่นเอง
..... R-Senser หรือ Room-Senser,R-Thermistor ทำหน้าที่ควบคุมความเย็นหรืออุณหภูมิ ภายในช่องแช่ธรรมดา บางครั้งอาจจะทำงานร่วมและสัมพันธ์กันกับตัวจ่ายลมอัตโนมัติ หรือ”แดมเปอร์”
และสำหรับความแตกต่างของตู้แบบใช้ Timer กับแบบที่ใช้บอร์ด อีกอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ พัดลมในการกระจายความเย็น ของ Timer จะเป็นแบบที่ใช้ไฟ AC ส่วนของบอร์ดนั้นส่วนใหญ่จะเป็นไฟ DC
ในวีดีโอได้จำลองสถานการณ์ของอุณหภูมิ ในการตรวจเช็ค ซึ่งจะได้ผลและเป็นอย่างไรนั้น...เชิญเข้าชมได้ตามอัธยาศัยเลยนะครับ
สงสัยประการใด สอบถาม,ปรึกษาข้อข้องใจได้ที่ 084-6663328 นะครับ
ทางร้านสุขประเสริฐเซอร์วิสขอกราบ...ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามและรับชม ขออวยพรให้ทุกๆท่านสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ ไม่เจ็บ ไม่จน นะครับ
“ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน”
นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์ 14/6/2563 เวลา 14.35 น.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке